Skip to main content

จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้าอยากผลิตก็ให้ทำตามกฎหมาย   ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่า พรบ.สุราฯ นั้นเอื้อต่อผู้ผลิตรายใหญ่

                กรณีนี้มิได้มีอะไรใหม่ในแง่กฎหมาย เพราะเคยมีคดีสุราชุมชนที่ถูกดำเนินคดีจนต่อสู้กันไปจนถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วเช่นกัน  แต่ประเด็นที่ทำให้รัฐยังหวงอำนาจในการกำหนดผู้ผลิตได้อยู่ที่ข้ออ้างว่า “สินค้านี้หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดี” รัฐต้องเข้ามาควบคุม

                ประเด็นอยู่ที่ รัฐไทยควรมีบทบาทอย่างไรต่อการประกอบธุรกิจของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อ “เส้นศีลธรรม” นั่นเอง

                หากวิเคราะห์ตามปรัชญากฎหมายสมัยใหม่นั้นง่าย เพราะเถียงจบไปเกือบสามทศวรรษแล้วว่า “รัฐไม่ควรใช้กฎหมายกำหนดมาตรฐานศีลธรรมของประชาชน”   แต่เป็น “สิทธิและหน้าที่” ต่างหากที่กฎหมายทำหน้าที่กำหนด

สินค้า/บริการ ที่มีความต้องการสูงแต่รัฐทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น Criminalize เหล้า กัญชา และการค้าบริการทางเพศ นำไปสู่ การเกิดผู้ค้าสิ่งของ/บริการผิดกฎหมาย

                ความเสี่ยงในการถูกจับ และกฎหมายไม่คุ้มครองการทำนิติกรรม ถ้าผู้ซื้อ/ผู้ขายเบี้ยวหนี้ หรือเกิดอันตรายความเสียหายจากสินค้า/บริการ ก็ไปเรียกร้องเอาจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรมไม่ได้

เป็นที่มาให้ต้องใช้กำลังในการบังคับหนี้ และรักษาความปลอดภัย หากผู้ผลิตไม่มีความสามารถก็ต้องการใช้นักเลงมาเฟียคุ้มครองความปลอดภัย

                ต่อมานักเลงและมาเฟียกลายเป็นเสือนอนกินเก็บค่าคุ้มครอง หรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แล้วเปลี่ยนผู้ค้ารายย่อยให้กลายเป็น แรงงาน หรือดาวน์ไลน์ภายใต้ตัวเอง มีเงินทองมหาศาล

                เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน ใช้ความรุนแรง จัดหาอาวุธและจัดจ้างมือปืน ไปจนถึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ปราบปรามอาชญากรรม แต่เก็บกินรายได้จากสินค้าและบริการผิดกฎหมาย ทำให้สินค้าและบริการผิดกฎหมายมีอย่างแพร่หลาย เพราะกลายเป็นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเพื่อให้แหล่งรายได้ยังงอกงามเช่นเดิม

                พอมีคนเห็นช่องทางทำกิน พยายามขยายเขตเข้ามาแข่งขัน ก็จะไม่ใช้วิธีพัฒนาสินค้าบริการ แต่อาจใช้วิธีการผิดกฎหมาย เช่น ฆ่า ทำร้าย ข่มขู่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดึงนักฆ่าที่มีใบอนุญาตเข้ามาช่วยสนับสนุน

ฆ่ากันไปฆ่ากันมา หรือว่าดึงทุกกลุ่มเข้ามาเคลียร์อยู่ใต้บารมีคุ้มครอง ของโคตรอภิมหามาเฟียเพียงกลุ่มเดียว แล้วส่งส่วยขึ้นไปเป็นทอดๆ

                ดังนั้น การทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า/บริการผิดกฎหมาย จึงกลายเป็น "สถาบันไม่เป็นทางการ" เพราะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีการปกป้องคุ้มครองและมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และสามารถนำบุคลากรและอาวุธที่มาจากเงินภาษีของประชาชน มาปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

                หากมีใครอยากล้มล้างองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ก็ต้องปะทะกับผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้โดยตรง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ นั่นคือ ประชาชนทำงานสุจริตเสียภาษีเพื่อให้รัฐเอาไปฝึกคนและจัดหาอาวุธให้อาชญากร(มาเฟียมีสี) มาก่ออาชญากรรมกับเรา หรือบีบให้เราลุกขึ้นสู้ แล้วอาจถูกจับเข้าไปอยู่ในเรือนจำ

                ฤาเรือนจำ มีแต่ ผู้พยายามเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ที่ไม่ยอมส่งส่วย หรือสยบยอมโคตรอภิมหามาเฟีย กันแน่

                ถามกลับกันว่า ถ้า Legalize สินค้า/บริการ ผิดกฎหมายที่มี Demand สูง แล้วมีระบบควบคุมความปลอดภัยและจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบ และเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าบริการเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร

                ส่วนอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ก็ต้องถามว่า เขาเหล่านั้นซึมซับ "ความรุนแรง" การใช้อำนาจดิบเถื่อนมาจากไหน "ใครเป็นแบบอย่าง" หรือทำให้เขาคิดว่าทำผิดยังไงก็ลอยนวลได้?

                ไม่ว่าจะลอยนวลเพราะเส้นใหญ่ หรือความสามารถในการหาหลักฐานมาปรักปรำอาชญากรต่ำ หรือมีการอภัยโทษแบบมิได้พิจารณาก่อนปล่อยอย่างถี่ถ้วนและไม่มีระบบบำบัดในขณะจองจำ

                แต่มันก็นำมาสู่คำถามที่ว่า "กล้าพูดความจริง" กันรึเปล่าล่ะ  เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในชีวิตทรัพย์สินจะได้รับการปกป้องหรือไม่

                ในทางกลับกัน การก่ออาชญากรรมเล็กๆน้อยๆ ใช้ความรุนแรงด้วยความคึกคะนอง แบบ "เกรียน" ของเยาวชน ทำไมเขามาทำแบบนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าให้เขาไปทำกันบ้างหรือ แก๊งค์สปาร์ต้าซามูไร ในเขตภาคเหนือหายไปไหน ใครเคยไปหาคำตอบไหมว่าคนเหล่านั้นโดนดูดซับเข้าไปกับการขยายตัวของธุรกิจบริการ/การท่องเที่ยว ที่ขยายตัวมากแค่ไหน

                ใครจะอยากไปก่ออาชญากรรม ถ้า "เสี่ยง" ว่าจะเสียทุกอย่างที่มีไป รวมถึง "อนาคต"
คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่การสร้างสังคมที่ คนมีความหวัง มีเป้าหมาย จะได้เดินไปสู่อนาคต

มิใช่ ไร้อนาคต หมดหวัง ดังที่รู้สึกได้แพร่กระจายไปทั่ว

                ในประเทศพัฒนาแล้ว มีทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรอีกเยอะแยะ และถ้าเขาจะใช้พลังงานไปกับเรื่องอะไร รัฐและองค์กรทั้งหลายก็ช่วยได้โดยการชี้ทาง และเป็นสปริงบอร์ดให้เขากระโดดไป พอหันมาดูเมืองไทย สงสัยต้องฝึกร้องเพลง หรือไปศัลยกรรมถ่ายเดียวละครับ

                คุก กับ ความตาย คือ ปลายทางสังคมหรือ?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา