Skip to main content

หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ

การหาวิธีการอำนวยความยุติธรรมในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนคนสามัญ น่าจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนที่มีทุนสังคมต่ำ(เส้นสายน้อยหรือไม่มี) สามารถต่อรองหรือได้รับการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวกหรือเป็นไปได้มากขึ้นน่ะครับ

จะเป็นเรื่องกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางบังคับบัญชา เพิ่มเครือข่ายหรือองค์กรใหม่ๆให้คนตัวเล็กๆได้เกาะเกี่ยว

หรือจะเป็นแบบเดิมๆที่เสนอแบบลอกฝรั่งมา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐที่รับร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาประชาชน

แต่เท่าที่ดูๆ หลายโมเดล พบว่า การนำระบบตลาดในทางยุติธรรมมาช่วย กลับได้ผลครับ

ยกตัวอย่างนะครับ แต่ก่อนในประเทสอุตสาหกรรม โรงงานปล่อยมลพิษสู่สาธารณะบ่อยมาก แต่พอเริ่มมีสำนักงานทนายมาจับคดีนี้ แล้วฟ้องให้ชาวบ้าน จนสำเร็จ หรือทำให้บรรษัทต้องเข้ามาเจรจาจ่ายค่าเสียหาย พบว่า มีสนง.ทนาย แห่กันไปหาชาวบ้านพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษ เพื่อฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

ไม่ใช่คนดีรักความยุติธรรมอะไรหรอกครับ แต่เม็ดเงินมันใหญ่มาก

รวมไปถึงคดี ฟ้องหมอรักษาห่วย  ฟ้องตำรวจฟ้องผู้ต้องหา หรือคดีสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย

คือพูดง่ายๆ ถ้าเราคาดหวังแค่อุดมการณ์ ความยุติธรรม คงไม่มีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องและอยากมั่นคงมีครอบครัว เข้ามาช่วยแสวงหาความยุติธรรมให้กับชาวบ้านหรอกครับ

อย่างเมืองไทยเนี่ย แค่ ENlaw กับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ก็รับคดีทั่วราชอาณาจักรกันแทบอ้วก เพราะต้องทำกึ่งฟรี

แต่ถ้าเมื่อไหร่คดีเหล่านี้เป็น "เงิน"  การอำนวยความยุติธรรมด้วยมืออาชีพมาแน่ครับ

อันนี้ผมลองเสนอแบบให้เข้ากับโทนบทความอาจารย์ที่ว่าสังคมมีแนวโน้มเป็น "ปัจเจก" มากขึ้นเลยนะครับ

กลับไปก็ว่าจะสร้างเครือข่ายกับลูกศิษย์ที่มีแววปั้นทนายขึ้นมาสักกลุ่มรับทำคดีพวกนี้แล้วให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยครับ

สรุป ถ้าจะประยุกต์เป็นวิจัย ก็น่าจะทำวิจัยว่า โมเดลหรือวิธีการไหนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น เทียบกันเลยก็ได้ครับ ระหว่าง รัฐทำ ภาคประชาสังคมทำ ภาคประชาชนทำ หรือสมาคมวิชาชีพ  หรือสำนักงานทนายเอกชน ทำกันแน่  มีหลายประเทศให้เลือกสรร ครับ

ถ้า เมธีวิจัยอาวุโสสนับสนุน ทศพล ยอมเหนื่อยช่วยหาคนมาทำโครงการวิจัยให้ได้ครับ

แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ก็ต้องทำครบวงจรแบบที่บรรษัททำ คือ นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ยังต้องมีนักสื่อสาร นักยุทธศาสตร์ และนักรบ/รักษาความปลอดภัย และเส้นสายกับภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงงานด้านข่าวกรองและต่อต้านจารกรรม ด้วย

เห็นแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์ด้วยคบไฟแห่งระบบตลาด 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ