Skip to main content

คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?
ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ป

แถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ
 

วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน

งานที่แกใช้อธิบายหลักๆ คือ จะสื่อว่าที่สังคมไทยวิปลาศ เพราะมวลชนชั้นกลางในเมืองเพี้ยน(สลิ่ม) เพราะไม่เห็นถึงความเป็นชนชั้นแรงงานของตน ต่างจากคนเสื้อแดงที่รู้ว่าตนโดนกดขี่ แล้วออกมาสู้กับ ทหารและวัง (กรัมชี่)

แกถึงบอกว่าให้ประเมินสถานการณ์ว่าเลวร้ายที่สุด คือ ทหารยื้ออีกนานนน แต่ให้เก็บรักษาความหวังไว้ให้มั่น เพราะ กษัตริย์ในฐานะบุคคลใกล้ไม่อยู่ให้อ้างละ

เมื่อเชื่อมกับงานเรื่อง Salaried Masses (กรอสเซอร์) ที่แกอ้าง นี่ต่อยอดจาก นิธิที่วิเคราะห์เรื่อง มวลมหาอณู (ของ อาเรนด์) ชัดๆ งานนี้ก็วิเคราะห์คนเยอรมันยุคที่หนุนให้นาซี ว่าไม่ต่างจาก กปปส. หนุน ทหาร และ วัง นั่นเอง (ยุคหลังอุตสาหกรรมหนัก)

เนื่องจากคนในเมืองใหญ่มักทำงานจนขาดสังคม รู้สึก เหงา "ไร้ตัวตน" และรู้สึกไม่มั่นคง(ทำงานกินเงินเดือนเป็นลูกน้อง หรือทำธรกิจต้องเกาะกับชนชั้นนำ เช่น ดารา บริษัทสื่อทั้งหลาย) พวกนี้แหละต้องยึด สถาบันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ก่อนสังคมจะกลายเป็น ประชาธิปไตยของไพร่ ไร้เส้นสายให้เกาะ ให้โหนอีกต่อไป

ซึ่งจะเห็นว่า ขบวนการของฝั่งนี้คนน้อยแต่ได้ผล เพราะมีแรงของสื่อและคนวงการสร้างสรรค์ช่วยเยอะ

สวนทางกับแดง ที่ดูเป็นมวลชนเถื่อนๆ บ้านๆ ส่วนปัญญาชนแดง ก็ทำได้แค่เสพข้อมูลแต่ไม่ลุกมาทำอะไร เพราะชีวิตผูกติดกับ เงินเดือน เอาง่ายๆ นักวิชาการ และคนทำงานประจำทั้งนั้น เงียบกริบ แอบมาคุย งุงิๆ กันในกลุ่มลับ

ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตอน เรื่องเล่า Hi's ที่ทำให้ปัญญาชนตาสว่าง แต่ไม่ลุกมาเปลี่ยนอะไร

สรุป ถ้าเอาอย่าง สศจ. ว่า ก็ต้องรอออออ......... ให้.... ไม่อยู่ให้โหนอีกต่อไป ทีนี้ก็ลุกขึ้นมาเปิดหน้าอัดกันตรงไปตรงมา แกเลยขยักไว้ว่า ทำไมทหารต้องกวาดล้าง "กองกำลัง" ด้วย เราเดาว่ากองกำลังนี่แหละที่ทหารคิดว่าจะมาอัดกับทหารในลักษณะไพร่ราบติดอาวุธ ส่วนพวกพูดนี่จัดการได้ด้วย 112

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พูดๆ กันอยู่แล้วนั่นเอง

 

พบว่า ชิเชค ก็พูดประเด็นนี้ หลักๆ คือ ชนชั้นกลางในเมือง ที่เริ่มโดนบี้ด้วยระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รู้สึกตัวเองชีวิตเหี้ยมากลงทุกที เหมือนเป็น เศษธุลีหนึ่ง ที่ไร้ตัวตนในสังคมทุนนิยม กลวง โบ๋ว จึงหาอะไรเกาะ เพื่อ ชะลอการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Nostaglia) เพื่อหวังจะให้วันคืนดีๆในอดีตกลับคืนมา เพราะว่า ไอ้พวกไพร่มันไล่ขึ้นมา จนกรูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับมันไปแล้ว

ดีไม่ดี ด้วยกว่าไปแล้ว เช่น คนหาบเร่แผงลอย รับจ้าง ดันมีรายได้ดี กว่าพนักงานออฟฟิศ การศึกษาสูงอย่างพวกตน

ทางออกแบบไม่นองเลือดจริงๆ คือ ต้องมีพรรคที่ขายนโยบายเจาะกลุ่ม คนทำงานประจำรับเงินเดือน (Salaried Class) กับ พวก SMEs(ลูกจีนทั้งหลาย) คนทำงานฟรีแลนซ์ (Creative Class) แทนที่จะเทไปอยู่ในถนนเป็นมวลชนให้ทหารกับวัง
 

โจทย์ คือ จะทำให้ มวลชนคนชั้นกลางในเมือง ตาสว่าง หรือ เลิกกลัว เลิก จิตวิญญาณทาส และสำนึกที่ล้มเหลว ไม่เห็นตัวเอง เป็น แรงงาน ได้อย่างไร
 

พรรคคอมฯ เคยแพ้ เพราะ สหาย น.ศ. เข้ากับ สหายชาวนา และแกนนำพรรค ไม่ได้นี่ล่ะนะ

 

คงกะเอามาใช้บ้าง ไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องให้หลักประกันความมั่นใจบางอย่างกับชนชั้นกลางในเมือง คือ ศักดิ์ศรี มีโอกาสขยับเลื่อนตำแหน่ง และความมั่นคง

 

ควรสีให้แสบด้วยตัวอย่าง คนเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่าง เปิดร้านห้องแถวจากแผงลอยด้วยเงินนักศึกษา และพนักงานออฟฟิส

หรือ แรงงานต่างด้าว เริ่มเข้ามาซื้อสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยมีคนขายเป็นคนจบมหาลัยแต่เงินไม่พอที่จะซื้อสินค้าที่ตัวเองขาย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา