Skip to main content

ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูฐานในระยะหลัง คงทราบแล้วว่า รัฐบาลใหม่ของภูฐานเองก็หันไปหาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากกขึ้นเช่นกัน และลดความสำคัญของ “ความสุข” แบบที่คนไทยเคยเข้าใจกัน

ถ้าจะวัดกันให้เห็นเป็นหลักเป็นฐานว่า “ความสุข” คืออะไร ก็อาจต้องดูว่ารัฐนั้นทำให้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยดี กินครบมื้อไม่อดอยาก ได้การศึกษาราคาถูกหรือฟรี มีขนส่งมวลชนทั่วถึง บริการสาธารณสุขมีคุณภาพ มีสวัสดิการในยามตกยาก ทุพพลภาพ ชราภาพ สนับสนุนเด็กให้พัฒนาตนเองได้ ฯลฯ

หากจะวิเคราะห์จริงๆว่า ประเทศใดที่ใช้ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง คงต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอนไหม นั่นก็ได้แก่ การกำหนดว่ารับรอง “ความสุขของประชาชน” ไว้ให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย ประชาชนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และรัฐก็จะต้องให้หลักประกันว่าจะสร้างนโยบายและโครงการต่างๆ ออกมารองรับ   นั่นคือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีเพราะรัฐประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นั่นเอง

พบว่า รัฐที่คำนึงถึงความสุขโดยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือประชาชนต่อสู้ว่า “ความสุข” เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คงไม่พ้น คนยุโรปใต้ และคนลาตินอเมริกา ที่มีวิถีชีวิตแบบ กิน 5 มื้อ มีเวลาพักผ่อนนอนหลับ ทำกิจกรรมนันทนาการ และสามารถมีวันลาหยุดพักผ่อนดูแลครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม และสวัสดิการประกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ นั่นเอง

หลักฐานที่สนับสนุนก็คือ ประเทศเหล่านั้นได้ประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานเป็น "สิทธิตามกฎหมาย" แล้วนั่นเอง   กล่าวคือ รัฐบาลมีหน้าที่เปลี่ยนนโยบายเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธิจากรัฐได้ หากรัฐไม่ทำจะต้องรับผิดทางกฎหมายหรือรับผิดชอบทางการเมือง

ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คือ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และยุโรปใต้ นั่นเอง ทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติได้ทันที หากรัฐบาลของตกบกพร่องในการอำนวยสิทธิเหล่านี้   ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้จะเป็นก็แค่ภาคีกติกาสากลฯ ตัวหลักเฉยๆ

ความจริงจังของประชาชนที่ผลักดันให้รัฐบาลต้องให้สัตยาบันพิธีสารกติกาฯ สะท้อนว่า รัฐและประชาชนในประเทศเหล่านี้ เอาจริงเอาจังกับการ  "สร้างหลักประกันความสุข" อย่างมั่นคงแท้จริง

เนื่องจากหากรัฐยกเลิกเพิกถอนโครงการทั้งหลาย ประชาชนร้องเรียนไปถึงสหประชาชาติได้ทันที รัฐเสี่ยงจะหน้าแหกแบบไม่ทันตั้งตัว  ต่างจากรัฐไทยที่เป็นสมาชิกกติกาฯหลักแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ที่ประชาชนชาวไทยทำอะไรโดยตรงมิได้

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับคนยุโรปใต้และลาตินอเมริกาที่ผ่านสงครามเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน  พวกเขารู้ว่า "เงิน" และ "มูลค่าแลกเปลี่ยน" ของเงิน มันเล่นแร่แปรธาตุได้   อาจจะรวยเงินแต่ไม่มีเวลาใช้ รวยเงินสะสมแต่อาหารไม่สะอาดปลอดภัย  มีตัวเลขในบัญชี แต่ราคาสาธารณูปโภคพุ่งสูงปรี้ด หรือเจอปัญหาเงินเฟ้อสินค้าราคาแพงจนรายได้ไล่ไม่ทัน เพราะปัญหาจากกลไกตลาดและการเก็งราคาทั้งหลาย ไปจนถึงการครอบงำของบรรษัท

ดังนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้จริงๆ คือ ความสุขที่อยู่ใน "อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลเอาใจใส่กัน มีเวลาพักผ่อน นันนาการ และการศึกษาพัฒนาตัวเอง"

ชีวิตคนและความรู้สึกของมนุษย์ จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี มีการลงเงินไปโดยไม่เดือดร้อนแม้จะขาดดุลบัญชีในเชิงตัวเลข แต่คุณภาพชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็ง

คนสเปนตกงานก็จริง แต่ก็มีทักษะวิชาชีพ ออกไปหากินได้ทั่วทวีปอเมริกา และสหภาพยุโรป พูดง่ายๆ คือ สร้างบ้านให้น่าอยู่ ถ้าอยู่ไม่ไหวก็สามารถออกไปผจญภัยได้   คนอิตาลีก็พร้อมพกวิชาและความเชี่ยวชาญทางศิลปะวิทยาการไปหาโอกาสใหม่ๆ ในยามวิกฤตภายใน   หรือแม้แต่เรื่องอุปนิสัยใจคอสดใสร่าเริง มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนในประเทศร่ำรวยเข้ามาใช้ชีวิตและใช้เงินหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในยามวิกฤต

ลองมองย้อนกับมีที่บ้านเรา ที่เน้นการสะสมตัวเลขสูง ลงทุนกับคนน้อย อาชญากรรมและปัญหาสังคมมันเลยเยอะ เพราะประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีวัฒนธรรมแบบสังคมอารยะ   ไหนจะความเปราะบางของสังคมที่พร้อมจะระเบิดเป็นความขัดแย้ง กระทบคนทั้งสังคมได้ตลอดเวลา

เมื่อมองไปถึงต้นทุนของแต่ละคนก็มีทักษะในการหากินนอกประเทศที่น้อยเต็มที   ดังนั้นหากรักษาบ้านและฐานทรัพยากรไว้ไม่ได้ เห็นจะกลายเป็น "ขี้โรคแห่งอาเซียน" ของจริง

การปรับทิศทางการลงทุนกับคนด้วยการศึกษาจึงอาจจะต้องลดการทุ่มไปที่ภาษาอังกฤษ แล้วเพิ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศใกล้กันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่เรายังพอแข่งขันได้

โดยเฉพาะการนำงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในกิจกรรมของฝ่ายความมั่นคงที่เกิด “ข้อมูล/ความรู้” ก็ควรลดงานข่าวภายในประเทศแล้วออกไปผจญภัยในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยจะได้ไปตะลุยอาเซียนได้สักที ไม่ใช่เอาแต่บี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆของประเทศไทยอยู่อย่างนี้

ความสุขจึงจะกลับคืนมาเป็นของประชาชน เสียที!

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา