Skip to main content

7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media

            ในหลักการของเสรีภาพของการแสดงออกนั้น “เราทุกคนควรมีเสรีภาพในการแสดงออก ต้องตราบเท่าที่ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น”[1] ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเสรีภาพในการแสดงออก แต่ในการแสดงออกของทรัมป์ผ่านทางสื่อต่าง ๆ George Lakoff  ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์แห่งสหรัฐฯกล่าวว่า ทรัมป์จะมีรูปแบบ (Pattern) ของตนเองในเนื้อหาที่เขาใช้ใน Social media ซึ่งจะจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ 1. ใช้เพื่อโจมตี (pre-emptive framing) โดยเฉพาะโจมตีคู่แข่งทางการเมือง หรืออ้างถึงแหล่งข่าวที่ให้การว่าร้ายตนเองว่า เป็น fake news  2. เบี่ยงเบนความจริง (diversion)   3. การหันเหความสนใจ (deflection)  และ ทดสอบความเห็นของคนทั่วไป (launching a trial balloon)[2] และเนื้อหาในการแสดงออกของทรัมป์ พบว่าเข้าข่ายมีการหมิ่นประมาทและสร้างคำพูดที่เกลียดชัง ดังที่พบได้ใน Twitter

            นับตั้งแต่วันเลือกตั้งใน 2016 ในรอบปีที่ผ่านมาทรัมป์ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว (@realDonaldTrump) (ทรัมป์ไม่สามารถใช้ @DonaldTrump ได้ เนื่องจากมีผู้ใช้ชื่อบัญชีนี้เพื่อล้อเลียน (Parody) จึงต้องใช้ชื่อบัญชีเป็น @realDonaldTrump ) และทวิตเตอร์ทางการ (@POTUS) จำนวน 2,568 ข้อความ โดยเฉลี่ยแล้วเขาโพสต์เฉลี่ย 7 ข้อความต่อวัน ทวีตทุกวัน ด้วยความเห็นอันร้อนแรงและแสบสันต์ไปยังสมาชิกสี่สิบแปดกว่าล้านคน ซึ่งการทวิต 1 ครั้ง ก่อให้เกิดกระแส (viral)  ที่ผู้คนให้ความสนใจ และ ทรัมป์เองมีพฤติกรรมที่ใช้ทวิตเตอร์เพื่ออวดอ้างและโจมตีคู่แข่งทางเมือง และเข้าข่ายหมิ่นประมาทเช่น มีการกล่าวอ้างลอย ๆ ถึงการมีเครื่องดักฟังในตึกของเขา และมีการตรวจสอบในภายหลังพบว่า มิได้การติดเครื่องดักฟังในตึกทรัมป์ ทาวเวอร์แต่อย่างใด และ การ Tweet ถึงคู่แข่งต่างพรรคการเมือง อย่าง Barack Obama

            "just found out" that former president Obama had wiretapped the phones in his offices at Trump Tower during the last months of the 2016 election”

            เพิ่งรู้ว่า ประธานาธิบดีคนเก่า บารัค  โอบาม่าแอบติดเครื่องดักฟังในตึกทรัมป์ ทาวเวอร์ตั้งแต่เดือนสุดท้ายของการเลือกตั้งในปี 2016

            “My Twitter has become so powerful that I can actually make my enemies tell the truth.”

            ทวิตเตอร์ของผมกลายเป็นสิ่งทรงพลังที่ทำให้สามารถทำให้ศัตรูพูดความจริง

                        “My use of social media is not presidential”

                        การใช้โซเชียลมีเดียของผมไม่ได้เกี่ยวกับความเป็นประธานาธิบดี

            “Obama was President up to, and beyond, the 2016 Election. So why didn’t he do something about Russian meddling?”

            โอบาม่าเป็นประธาธิบดีจนถึงตอนนี้ปี 2016 ทำไมเขาไม่ทำอะไรเลยอย่างสอดแนมรัสเซียล่ะ?  

            หรือในการที่ Trump เรียก Hillary Clinton ว่า  " The Most Corrupt Candidate Ever!" (ผู้สมัครสุดขี้โกงเท่าที่เคยมีมา) รวมไปถึงการมีพฤติกรรมที่ Tweet ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเกลียดชัง เช่น ได้มีการวิเคราะห์ถึง คำที่ทรัมป์ใช้ในการ tweet ข้อความ พบว่าการทวีต  234 ครั้งมีคำว่า "loser" (ขี้แพ้) , 222 ครั้งด้วยคำว่า "dumb" or "dummy"  (คนโง่) , 183 ครั้งด้วยคำว่า  "stupid" (คนโง่), 50 ครั้ง Fake news ซึ่งทรัมป์อ้างถึงแหล่งข่าวสาธารณะ ที่กล่าวโจมตีตนเอง และยังมักจะตั้งชื่อเล่นให้ เช่น ทรัมป์เรียกฮิลลารี่ว่า Crooked Hillary (นังขี้โกงฮิลลารี่) , Lyin’ Hillary (ฮิลลารี่ขี้โกหก), Heartless Hillary (ฮิลลารี่ คนไม่มีหัวใจ) หรือ เรียกผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือว่า Rocket man/ little rocket man (ชายจรวดเล็ก) หรือ ประธาธิบดีแห่งซีเรีย Bashar al-Assad ว่า Animal assad (ไอ่สั-ว์อาสซาด)  นายกรัฐมนตรีแคนาดา Justin Trudeau ว่า Justin of Canada (จัสติน แห่งแคนาดา)

            รวมไปถึงการทวีตโดยใช้คำว่า “Racist” (การเหยียดเชื้อชาติ) และการทวีต 64 ครั้งมีการอ้างถึงบุคคลที่เกลียดตนเองและเป็นผู้แพ้ "haters and losers"[3] รวมไปถึงวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญคือ เรื่องโลกร้อน ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตถึงเรื่อง “Global warming” ซึ่งสื่อในเรื่องว่า ประเด็นโลกร้อนไม่ใช่เรื่องจริง หรือ ทวีตในทำนองว่า “It's freezing and snowing in New York - we need global warming” (ที่นิวยอร์กหนาวมากและหิมะกำลังตก พวกเราต้องการโลกร้อน)

            การใช้ทวิตเตอร์ของทรัมป์นั้น ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การอย่างกว้างขวางถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้ทวิตเตอร์ของทรัมป์ และสร้างความเกลียดชังมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์เลือกใช้การสื่อสารของตนผ่าน Twitter เนื่องจาก Twitter ไม่สามารถเปิดให้คอมเม้นได้อย่างสาธารณะ และ จำกัดในการทวีตข้อความได้เพียง 140 คำ ทรัมป์จึงเลือกสื่อสารโดยใช้ประโยคสั้นๆ และสื่อสารในความถี่ที่บ่อยครั้ง จากการเข้าไปสังเกตใน Twitter ของทรัมป์พบว่า ข้อความดังกล่าวก็ยังคงอยู่ และ Twitter มิได้มีการจำกัดการมองเห็นใน Tweet ที่มีความสุ่มเสี่ยงแต่อย่างใด

            จากการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของทรัมป์ พบว่า มีหลายเหตุการณ์สำคัญที่ทรัมป์สามารถหยิบยกเอาประโยชน์จากการใช้งานอินเตอร์เน็ต เช่น โปรเจค อะลาโม หรือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อาจนำไปสู่การก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ในอนาคต ซึ่งพบเจอได้ในถ้อยคำของทวีตของทรัมป์ใน Twitter สิ่งที่เราควรจะพิจารณาคือ ในเรื่องของเสรีภาพของการแสดงออก หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ในโลกไซเบอร์ ควรอยู่บนฐานอะไร หรือ ควรมีอะไรเป็นตัวควบคุมหรือไม่ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน หรือ เพื่อความสงบเรียบร้อยในประชาคมโลกอินเตอร์เน็ต การใช้โซเชียลมีเดียของผู้ทรงอิทธิพลคนใด ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ไม่ว่าจะโดยส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด หรือ พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดรุนแรง ยิ่งบุคคลสำคัญของโลก การใช้งานอินเตอร์เน็ตควรจะต้องมีการระมัดระวังหรือมีมาตรการเท่าวิญญูชนทั่วไปหรือไม่            จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลข้อ 20 ข้อ 2 การสนับสนุนความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนาซึ่งนำไปสู่การยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การจงเกลียดจงชัง หรือ ความโหดเหี้ยมเป็นสิ่งที่พึงห้ามตามกฎหมาย ตลอดเวลาเมื่อพิจารณากับข้อความที่ทรัมป์เผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะในทวีตเตอร์แล้วกับกติการะหว่างประเทศแล้วนั้น ข้อความของทรัมป์นั้น สามารถก่อให้เกิดการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงได้ และบางครั้งเป็นการโจมตีคู่ต่อสู้โดยเป็นการกล่าวหาอย่างไม่เป็นความจริง

8.         ความเป็นกลางของเทคโนโลยี Social media

            จากกรณีของทรัมป์ที่มีการพบเห็นการใช้ Social media ไปในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลประโยชน์จากข้อมูลที่ได้โดยไม่ชอบ ซึ่งหลังจากชัยชนะของทรัมป์ในการเลือกตั้ง ได้มีผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง Facebook ถึงกรณีที่ทรัมป์ใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ facebook ว่าไม่มีการจัดการเนื้อหาในลักษณะนี้เลยหรือ ซึ่งทาง Facebook ก็ได้เพิกเฉยในประเด็นนี้ ซึ่งมีคำพูดที่ติดตลก คือ ปัญหานี้เหมือนช้างที่เดินอยู่ในห้อง ซึ่งให้ความหมายโดยนัยว่า ช้าง (ปัญหา) ตัวใหญ่เดินอยู่ในห้อง (Facebook) จะมองไม่เห็นได้อย่างไร[4] หรือ การใช้คำพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชังของทรัมป์บน twitter ที่ทุกวันนี้ถ้าเปิดย้อนกลับไปดูก็ยังคงจะพบข้อความลักษณะดังกล่าวอยู่ คำถามคือ เหตุใดผู้พัฒนาหรือ เจ้าของ Social media ดังกล่าวจึงไม่ทำการอย่างใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างที่ได้กำหนดไว้เป็นนโยบายในข้อตกลง เรายังคงเห็นคำพูดที่สร้างความเกลียดชังของทรัมป์ใน Social media ทาง Twitter ควรจัดการอย่างไรหรือไม่  แม้จะเป็นการขัดแย้งกับเสรีภาพในการแสดงออก

            แต่กระนั้น การเรียกร้องให้ “จัดการ” กับ Hate speech ไม่ว่าจะด้วยกฎหมายหรือกติกาในสังคมออนไลน์ ก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเซ็นเซอร์จนอาจบั่นทอนบรรยากาศการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้น จึงควรที่จะหาจุด “สมดุล” ระหว่างการรักษาเสรีภาพการแสดงออกและบรรยากาศการถกเถียง กับการคุ้มครองกลุ่มคนเปราะบางด้วย

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Joshua Roberts / Reuters

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6306

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6307


[1] Nigel warburton  แปลโดยจอมพล พิทักษ์สันต์โยธิน. (2560). เสรีภาพในการพูด ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ พับลิชิ่งเฮ้าส์.หน้า 54

[2] https://twitter.com/georgelakoff/status/948424436058791937

[3] http://www.trumptwitterarchive.com/

[4] Joel Winston. (2016). How the Trump Campaign Built an Identity Database and Used Facebook Ads to Win the Election. Online : https://medium.com/startup-grind/how-the-trump-campaign-built-an-identity-database-and-used-facebook-ads-to-win-the-election-4ff7d24269ac

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา