Skip to main content

7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media

            ในหลักการของเสรีภาพของการแสดงออกนั้น “เราทุกคนควรมีเสรีภาพในการแสดงออก ต้องตราบเท่าที่ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น”[1] ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเสรีภาพในการแสดงออก แต่ในการแสดงออกของทรัมป์ผ่านทางสื่อต่าง ๆ George Lakoff  ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์แห่งสหรัฐฯกล่าวว่า ทรัมป์จะมีรูปแบบ (Pattern) ของตนเองในเนื้อหาที่เขาใช้ใน Social media ซึ่งจะจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ 1. ใช้เพื่อโจมตี (pre-emptive framing) โดยเฉพาะโจมตีคู่แข่งทางการเมือง หรืออ้างถึงแหล่งข่าวที่ให้การว่าร้ายตนเองว่า เป็น fake news  2. เบี่ยงเบนความจริง (diversion)   3. การหันเหความสนใจ (deflection)  และ ทดสอบความเห็นของคนทั่วไป (launching a trial balloon)[2] และเนื้อหาในการแสดงออกของทรัมป์ พบว่าเข้าข่ายมีการหมิ่นประมาทและสร้างคำพูดที่เกลียดชัง ดังที่พบได้ใน Twitter

            นับตั้งแต่วันเลือกตั้งใน 2016 ในรอบปีที่ผ่านมาทรัมป์ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว (@realDonaldTrump) (ทรัมป์ไม่สามารถใช้ @DonaldTrump ได้ เนื่องจากมีผู้ใช้ชื่อบัญชีนี้เพื่อล้อเลียน (Parody) จึงต้องใช้ชื่อบัญชีเป็น @realDonaldTrump ) และทวิตเตอร์ทางการ (@POTUS) จำนวน 2,568 ข้อความ โดยเฉลี่ยแล้วเขาโพสต์เฉลี่ย 7 ข้อความต่อวัน ทวีตทุกวัน ด้วยความเห็นอันร้อนแรงและแสบสันต์ไปยังสมาชิกสี่สิบแปดกว่าล้านคน ซึ่งการทวิต 1 ครั้ง ก่อให้เกิดกระแส (viral)  ที่ผู้คนให้ความสนใจ และ ทรัมป์เองมีพฤติกรรมที่ใช้ทวิตเตอร์เพื่ออวดอ้างและโจมตีคู่แข่งทางเมือง และเข้าข่ายหมิ่นประมาทเช่น มีการกล่าวอ้างลอย ๆ ถึงการมีเครื่องดักฟังในตึกของเขา และมีการตรวจสอบในภายหลังพบว่า มิได้การติดเครื่องดักฟังในตึกทรัมป์ ทาวเวอร์แต่อย่างใด และ การ Tweet ถึงคู่แข่งต่างพรรคการเมือง อย่าง Barack Obama

            "just found out" that former president Obama had wiretapped the phones in his offices at Trump Tower during the last months of the 2016 election”

            เพิ่งรู้ว่า ประธานาธิบดีคนเก่า บารัค  โอบาม่าแอบติดเครื่องดักฟังในตึกทรัมป์ ทาวเวอร์ตั้งแต่เดือนสุดท้ายของการเลือกตั้งในปี 2016

            “My Twitter has become so powerful that I can actually make my enemies tell the truth.”

            ทวิตเตอร์ของผมกลายเป็นสิ่งทรงพลังที่ทำให้สามารถทำให้ศัตรูพูดความจริง

                        “My use of social media is not presidential”

                        การใช้โซเชียลมีเดียของผมไม่ได้เกี่ยวกับความเป็นประธานาธิบดี

            “Obama was President up to, and beyond, the 2016 Election. So why didn’t he do something about Russian meddling?”

            โอบาม่าเป็นประธาธิบดีจนถึงตอนนี้ปี 2016 ทำไมเขาไม่ทำอะไรเลยอย่างสอดแนมรัสเซียล่ะ?  

            หรือในการที่ Trump เรียก Hillary Clinton ว่า  " The Most Corrupt Candidate Ever!" (ผู้สมัครสุดขี้โกงเท่าที่เคยมีมา) รวมไปถึงการมีพฤติกรรมที่ Tweet ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเกลียดชัง เช่น ได้มีการวิเคราะห์ถึง คำที่ทรัมป์ใช้ในการ tweet ข้อความ พบว่าการทวีต  234 ครั้งมีคำว่า "loser" (ขี้แพ้) , 222 ครั้งด้วยคำว่า "dumb" or "dummy"  (คนโง่) , 183 ครั้งด้วยคำว่า  "stupid" (คนโง่), 50 ครั้ง Fake news ซึ่งทรัมป์อ้างถึงแหล่งข่าวสาธารณะ ที่กล่าวโจมตีตนเอง และยังมักจะตั้งชื่อเล่นให้ เช่น ทรัมป์เรียกฮิลลารี่ว่า Crooked Hillary (นังขี้โกงฮิลลารี่) , Lyin’ Hillary (ฮิลลารี่ขี้โกหก), Heartless Hillary (ฮิลลารี่ คนไม่มีหัวใจ) หรือ เรียกผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือว่า Rocket man/ little rocket man (ชายจรวดเล็ก) หรือ ประธาธิบดีแห่งซีเรีย Bashar al-Assad ว่า Animal assad (ไอ่สั-ว์อาสซาด)  นายกรัฐมนตรีแคนาดา Justin Trudeau ว่า Justin of Canada (จัสติน แห่งแคนาดา)

            รวมไปถึงการทวีตโดยใช้คำว่า “Racist” (การเหยียดเชื้อชาติ) และการทวีต 64 ครั้งมีการอ้างถึงบุคคลที่เกลียดตนเองและเป็นผู้แพ้ "haters and losers"[3] รวมไปถึงวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญคือ เรื่องโลกร้อน ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตถึงเรื่อง “Global warming” ซึ่งสื่อในเรื่องว่า ประเด็นโลกร้อนไม่ใช่เรื่องจริง หรือ ทวีตในทำนองว่า “It's freezing and snowing in New York - we need global warming” (ที่นิวยอร์กหนาวมากและหิมะกำลังตก พวกเราต้องการโลกร้อน)

            การใช้ทวิตเตอร์ของทรัมป์นั้น ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การอย่างกว้างขวางถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้ทวิตเตอร์ของทรัมป์ และสร้างความเกลียดชังมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์เลือกใช้การสื่อสารของตนผ่าน Twitter เนื่องจาก Twitter ไม่สามารถเปิดให้คอมเม้นได้อย่างสาธารณะ และ จำกัดในการทวีตข้อความได้เพียง 140 คำ ทรัมป์จึงเลือกสื่อสารโดยใช้ประโยคสั้นๆ และสื่อสารในความถี่ที่บ่อยครั้ง จากการเข้าไปสังเกตใน Twitter ของทรัมป์พบว่า ข้อความดังกล่าวก็ยังคงอยู่ และ Twitter มิได้มีการจำกัดการมองเห็นใน Tweet ที่มีความสุ่มเสี่ยงแต่อย่างใด

            จากการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของทรัมป์ พบว่า มีหลายเหตุการณ์สำคัญที่ทรัมป์สามารถหยิบยกเอาประโยชน์จากการใช้งานอินเตอร์เน็ต เช่น โปรเจค อะลาโม หรือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อาจนำไปสู่การก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ในอนาคต ซึ่งพบเจอได้ในถ้อยคำของทวีตของทรัมป์ใน Twitter สิ่งที่เราควรจะพิจารณาคือ ในเรื่องของเสรีภาพของการแสดงออก หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ในโลกไซเบอร์ ควรอยู่บนฐานอะไร หรือ ควรมีอะไรเป็นตัวควบคุมหรือไม่ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน หรือ เพื่อความสงบเรียบร้อยในประชาคมโลกอินเตอร์เน็ต การใช้โซเชียลมีเดียของผู้ทรงอิทธิพลคนใด ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ไม่ว่าจะโดยส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด หรือ พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดรุนแรง ยิ่งบุคคลสำคัญของโลก การใช้งานอินเตอร์เน็ตควรจะต้องมีการระมัดระวังหรือมีมาตรการเท่าวิญญูชนทั่วไปหรือไม่            จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลข้อ 20 ข้อ 2 การสนับสนุนความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนาซึ่งนำไปสู่การยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การจงเกลียดจงชัง หรือ ความโหดเหี้ยมเป็นสิ่งที่พึงห้ามตามกฎหมาย ตลอดเวลาเมื่อพิจารณากับข้อความที่ทรัมป์เผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะในทวีตเตอร์แล้วกับกติการะหว่างประเทศแล้วนั้น ข้อความของทรัมป์นั้น สามารถก่อให้เกิดการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงได้ และบางครั้งเป็นการโจมตีคู่ต่อสู้โดยเป็นการกล่าวหาอย่างไม่เป็นความจริง

8.         ความเป็นกลางของเทคโนโลยี Social media

            จากกรณีของทรัมป์ที่มีการพบเห็นการใช้ Social media ไปในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลประโยชน์จากข้อมูลที่ได้โดยไม่ชอบ ซึ่งหลังจากชัยชนะของทรัมป์ในการเลือกตั้ง ได้มีผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง Facebook ถึงกรณีที่ทรัมป์ใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ facebook ว่าไม่มีการจัดการเนื้อหาในลักษณะนี้เลยหรือ ซึ่งทาง Facebook ก็ได้เพิกเฉยในประเด็นนี้ ซึ่งมีคำพูดที่ติดตลก คือ ปัญหานี้เหมือนช้างที่เดินอยู่ในห้อง ซึ่งให้ความหมายโดยนัยว่า ช้าง (ปัญหา) ตัวใหญ่เดินอยู่ในห้อง (Facebook) จะมองไม่เห็นได้อย่างไร[4] หรือ การใช้คำพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชังของทรัมป์บน twitter ที่ทุกวันนี้ถ้าเปิดย้อนกลับไปดูก็ยังคงจะพบข้อความลักษณะดังกล่าวอยู่ คำถามคือ เหตุใดผู้พัฒนาหรือ เจ้าของ Social media ดังกล่าวจึงไม่ทำการอย่างใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างที่ได้กำหนดไว้เป็นนโยบายในข้อตกลง เรายังคงเห็นคำพูดที่สร้างความเกลียดชังของทรัมป์ใน Social media ทาง Twitter ควรจัดการอย่างไรหรือไม่  แม้จะเป็นการขัดแย้งกับเสรีภาพในการแสดงออก

            แต่กระนั้น การเรียกร้องให้ “จัดการ” กับ Hate speech ไม่ว่าจะด้วยกฎหมายหรือกติกาในสังคมออนไลน์ ก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเซ็นเซอร์จนอาจบั่นทอนบรรยากาศการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้น จึงควรที่จะหาจุด “สมดุล” ระหว่างการรักษาเสรีภาพการแสดงออกและบรรยากาศการถกเถียง กับการคุ้มครองกลุ่มคนเปราะบางด้วย

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Joshua Roberts / Reuters

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6306

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6307


[1] Nigel warburton  แปลโดยจอมพล พิทักษ์สันต์โยธิน. (2560). เสรีภาพในการพูด ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ พับลิชิ่งเฮ้าส์.หน้า 54

[2] https://twitter.com/georgelakoff/status/948424436058791937

[3] http://www.trumptwitterarchive.com/

[4] Joel Winston. (2016). How the Trump Campaign Built an Identity Database and Used Facebook Ads to Win the Election. Online : https://medium.com/startup-grind/how-the-trump-campaign-built-an-identity-database-and-used-facebook-ads-to-win-the-election-4ff7d24269ac

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ