Skip to main content
  1. Internet Communication

            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความท้าทายเหล่านี้

            ในปี1998แลร์รี (Lawrence Larry Page) กับเชอร์เก (Sergey Mikhaylovich Brin) ได้ก่อตั้ง Google โดยบริหารงานด้วยหลักการที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องมุ่งเน้นไปยังผู้ใช้งาน พวกเขาเชื่อว่าถ้าสร้างบริการที่ดีเยี่ยมได้ โดยการสร้างเสิร์ชเอนจิน (Search Engine) ที่ดีที่สุด พวกเขาก็จะประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนการสร้างเสิร์ชเอนจิน และบริการที่หลากหลายนั้น ได้ใช้กลยุทธ์ในการจ้างวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถ ให้มากที่สุด แล้วให้อิสระในการทำงานซึ่งการเป็นผู้นำวิศวกรที่ฉลาดที่สุดเป็นทางเดียวที่จะทำให้กูเกิลเติบโตและบรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นเหตุผลที่แลร์รีและเชอร์เกจ้างเอริก ชมิดท์ (Eric Schmidt ) เข้าทำงานนั้นไม่ใช่เพราะความเฉียบไวทางธุรกิจของเขาเพียงอย่างเดียว แต่เพราะเอริกเคยมีประสบการณ์เป็นนักเทคโนโลยีมาก่อน โดยเอริกเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบปฏิบัติการ Unix เคยช่วยพัฒนา Java ที่หมายถึงภาษาที่ใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์ และเป็นผู้ภูมิเรื่องเทคโลยีคอมพิวเตอร์เพราะเคยทำงานที่ Bell Lab มาก่อน

            ต่อมากูเกิลได้วางแผนการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นไปยังผู้ใช้บริการ โดยการสร้างผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น Gmail และ Docs อีกทั้งยังเสนอบริการที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเข้าถึงและใช้บริการได้ง่าย เช่นเปิดให้ใช้บริการผ่านเว็ป นอกจากนี้ผู้ใช้บริการถือเป็นรากฐานที่สำคัญของกูเกิล ยิ่งมีผู้ใช้บริการมากก็จะยิ่งดึงดูดลูกค้าโฆษณาเข้ามามากขึ้น

            ในปี 2000 กูเกิลได้พัฒนาเสิร์ชเอนจิ้นให้สามารถสืบค้นข้อมูลเร็วยิ่งขึ้น และค้นหาได้หลายภาษา ปรับปรุงส่วนประสานงานผู้ใช้ให้ใช้งานง่ายขึ้น เพิ่มแผนที่ และการสืบค้นข้อมูลในพื้นที่ใกล้เคียงให้ได้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังขยายบริการเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome โดยพัฒนาให้เป็นเบราว์เซอร์ที่เร็วและปลอดภัยที่สุดและทำให้ทุกผลิตภัณฑ์ของกูเกิลสามารถสร้างรายได้ด้วยระบบโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและให้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด

            กูเกิลได้มีหลักการในการดำเนินการของบริษัท คือ ไม่ต้องการทำธุรกิจแบบปีศาจร้าย (Don’t be evil) เป็นภาษิตที่ใช้เป็นจรรยาบรรณของกูเกิลตั้งแต่ปี 2000 หลังจากนั้นบริษัทกูเกิลได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ภายใต้การรวมกลุ่มของอัลฟาเบต ในปี 2015 โดยใช้ภาษิตว่า ทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Do the right thing) อย่างไรก็ตามกูเกิลได้มีรายได้จากการขายเทคโนโลยีการค้นหาและค่าโฆษณา ดังนั้นเป้าหมายในการเป็นบริษัทที่มีอำนาจในการแข่งขันทางธุรกิจของกูเกิลอาจทำให้จรรยาบรรณที่มีอยู่เลือนหายไป

 

  1. อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย

            ประวัติการสืบค้นข้อมูล Google Search อาจเป็นแหล่งข้อมูลของรัฐในการสอดส่องสังคมพลเมืองอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากบุคคลที่ทำกิจกรรมอยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างตัวตนปลอม อำพราง หลอกลวง เพื่อสร้างตัวตนสมมติในโลกไซเบอร์ได้อย่างหลากหลาย จึงเป็นการสร้างภาระหน้าที่ให้แก่รัฐเพื่อสร้างหลักประกันบางอย่างหรือคุ้มครองข้อมูลบางอย่าง เพื่อสืบให้ได้ว่าบุคคลในโลกความจริงคือใครหรือข้อมูลที่ปรากฎในกูเกิลใดเป็นภัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อรัฐได้

            ในปี 2009 Google Trend ถือเป็นโปรเจกต์ของ Google  แต่เดิมถูกปฏิเสธที่จะใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในวงการวิชาการ แต่การสืบส่องค้นข้อมูลในช่องเสิร์จช่วยให้ค้นพบความจริงๆ หลายอย่าง ที่อาจนำไปสร้างข้อสันนิษฐานต่อยอดได้  เครื่องมือนี้จึงช่วยให้เข้าถึงความคิดคนในโลกในปริมาณมหาศาลได้

            ในกรณีที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ขึ้นพูดให้คนไม่ตัดสินและไม่เหยียดชาวมุสลิม การพูดครั้งนั้นสื่อต่างๆ ล้วนชมว่าพูดได้ดีมาก งดงาม น่าประทับใจ แต่เมื่อดูแนวโน้มการเสิร์ชกลับพบว่า คนสืบค้นคำด้านลบเกี่ยวกับ Muslim เป็นผู้ก่อการร้ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แต่สิ่งที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นด้านบวก คือเมื่อ บารัค โอบาม่า ได้ยกตัวอย่างว่ามีคนมุสลิมที่เป็นนักกีฬาระดับชาติ และเป็นทหารรับใช้ชาติมากมาย คำพูดนี้กระตุ้นให้เกิดความสงสัย คนเสิร์ชหาว่าทหารและนักกีฬาที่นับถือศาสนาอิสลามคือใคร คำพูดเพื่อต่อต้านความคิดที่รุนแรงอาจควรพูดถึงข้อมูลใหม่ที่เขาไม่เคยรู้ กระตุ้นให้คนสงสัยและอยากรู้

            การส่องการเสิร์ชข้อมูลของผู้ใช้บริการ อาจทำให้รัฐพบความเห็นสาธารณะจากคนที่มีตัวตนในสังคม ซึ่งมีจำนวนมากที่เสิร์ชด้วยความรู้สึกและความสงสัย ไม่ได้เกิดจากการตอบแบบสอบถามที่อาจโป้ปดกันได้ จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Google Search อาจนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์หรืออาจนำไปสู่อาชญากรรมหรือการก่อการร้ายได้ ดังนั้นจึงต้องออกแบบกฎหมายเพื่อกำกับการใช้บริการของกูเกิลเพื่อควบคุมบรการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต โดยรัฐต้องไม่ปิดกั้นสิทธิในการเข้าถึงบริการดังกล่าว

 

  1. ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์

            กูเกิลถือเป็นผู้ให้บริการที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิธีการค้นหาข้อมูลที่กระจัดกระจายในอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลด้วย Google Search Engine เพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปในรูปแบบที่น่าจะตรงกับความต้องการมากที่สุด

            กรณีศึกษา: คดีกูเกิลสเปน หนังสือพิมพ์ลา บานกวาร์เดียของสเปน ได้เผยแพร่ประกาศการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเกี่ยวข้องกับหนี้ประกันสังคมในค.ศ. 1998 ประกาศดังกล่าวพิมพ์ขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงแรงงานและประกันสังคม เพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ ต่อมาหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่บนเว็ปไซต์ด้วย ในการเผยแพร่ข้อมูลได้ปรากฏทรัพย์สินของ มารีโอ คอสเตฆา กอนซาเลส อยู่ โดยปรากฏชื่อเขาในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี

            ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 มารีโอแจ้งไปยังหนังสือพิมพ์ลา บานกวาร์เดียว่า เมื่อพิมพ์ชื่อของเขาเป็นคำค้นข้อมูลในกูเกิล จะได้ผลการค้นหาเว็ปไซต์ที่มีข้อมูลประกาศดังกล่าว จึงขอให้หนังสือพิมพ์นำข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาออก เนื่องจากกระบวนการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นไปแล้วจึงไม่ควรเผยแพร่อีก ทางฝ่ายหนังสือพิมพ์แจ้งว่าไม่สามารถลบข้อมูลของเขาออกได้ เพราะการพิมพ์ประกาศดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของกระทรวงแรงงานและประกันสังคม ต่อมา มารีโอจึงได้ติดต่อไปยังกูเกิลสเปน เพื่อขอให้ยุติการเชื่อมโยงลิงค์ผลการค้นหาไปยังเว็ปไซต์ที่มีประกาศ

            คดีนี้ประเด็นจำกัดเฉพาะกูเกิลในการนำลิงก์ที่เชื่อมโยงข้อมูลออกจากผลการค้นหาเท่านั้น เพราะกูเกิลไม่ใช่ผู้ให้บริการเว็บเพจที่เก็บเนื้อหาข้อมูลพิพาท เห็นได้ว่าการตีความของศาลกฎหมายคุ้มครองข้อมูลไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น แต่คุ้มครองข้อมูลในลักษณะอื่นด้วย เช่นข้อมูลเก่าที่ไม่สอดคล้องกับเจ้าของข้อมูลปัจจุบัน

            จากกรณีดังกล่าวเมื่อพิจารณานโยบายการลบลิงค์ข้อมูลของกูเกิล พบว่ากูเกิลมีความพยายามวางเกณฑ์พิจารณาคำร้องโดยคำนึงถึงจุดสมดุลระหว่างสิทธิ หากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับมิติชีวิตส่วนตัวของบุคคลเหล่านั้นก็สามารถอ้างสิทธิที่จะลบได้ แต่หากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการหลอกลวงด้านการเงิน การประพฤติมิชอบในวิชาชีพ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะของนักการเมืองหรือข้าราชการกูเกิลอาจปฏิเสธคำขอให้ลบลิงก์เชื่อมโยงนั้นได้

รูปภาพจาก เว็บไซต์ https://twitter.com/google

เขียนโดย นางสาววรินทรา ศรีวิชัย

อ่านตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6322

อ่านตอนที่ 3 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6381

แหล่งอ้างอิง

https://blogs.wsj.com/digits/2015/10/02/as-google-becomes-alphabet-dont-be-evil-vanishes/?ns=prod/accounts-wsj

http://jimmysoftwareblog.com/node/301

https://thematter.co/thinkers/searching-is-your-identity/30581

https://en.wikipedia.org/wiki/Google_Spain_v_AEPD_and_Mario_Costeja_Gonz%C3%A1lez

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ