Skip to main content

แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก

สาเหตุที่ต้องพูดถึงคนกลุ่มนี้ก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในยุคดิจิทัล รวมไปถึงความสำเร็จของศาสตร์การบริหารธุรกิจและจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดค้นระบบการจ้างงานชั่วคราว จ้างเหมาชิ้น รายบริการ รายงาน ไม่จ้างงานระยะยาวเป็นพนักงานประจำอีกต่อไป

บางท่านอาจจะแย้งว่าอาชีพศิลปิน ดารา นักแสดงเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วก็จริง และยิ่งต้องพิเคราะห์ให้เห็นโศกนาฏกรรมของอดีตศิลปินผู้โด่งดังที่ในท้ายที่สุดมีข่าวว่าอดอยาก ตกอับ อาภัพ ไม่มีช่องทางในการประทังชีวิต   หากเราเหมารวมว่าเป็นความล้มเหลวจากความชั่ว หรือพฤติกรรมย่ำแย่ส่วนบุคคล เราจะไม่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย

ก่อนที่มนุษย์จะสูญเสียงานโดยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มนุษย์โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์งานที่ได้กล่าวไปข้างต้น เริ่มสูญเสียความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปมากแล้ว ด้วยเหตุของความเปลี่ยนแปลงในระบบการจ้างงานยืดหยุ่น จ้างรายชิ้น หรือแม้กระทั่งจ้างเหมาช่วง สับแบ่งเป็นทอดๆ แบบที่เราเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน

สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้วในประเทศที่ระดับการศึกษาของประชากรสูงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรม ภาคบริการและพาณิชย์ เข้าสู่ภาคสร้างสรรค์ คนจำนวนมากผลิตความรู้ งานศิลปะ การแสดง และข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้  ซึ่งมีตัวกลางเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัทสื่อ โปรดักชั่นรายใหญ่ เป็นนายจ้าง

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตเนื้อหารายย่อยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน บรรษัทก็เริ่มเห็นช่องทางในการปรับรูปแบบบริหารจัดการให้เข้ากับเป้าหมายในการแสวงหาผลกำไรสูงสุด และลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเช่นกัน นั่นคือ ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายแรงงานทั้งหลาย

Greig de Peuter ได้นำเสนอวิธีการมองกลุ่มคนทำงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านบทความเรื่อง Beyond the Model Worker: Surveying a Creative Precariat โดยชี้ให้เห็นว่าภาวะ การพึ่งพิงตนเอง การแบกรับความเสี่ยงไว้ลำพัง ปราศจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ และต้องขูดรีดตัวเอง มักปรากฏกอยู่ในสภาพการจ้างงานและดำรงชีพของแรงงานอิสระที่ถูกจ้างในระบบการจ้างงานยืดหยุ่นของภาคอุตสาหกรรมเสมอ และเขายังได้ย้ำว่าสภาวะเช่นว่าถือเป็นตัวแบบที่ชัดเจนของการจ้างงานในระบบทุนนิยมร่วมสมัย    

แม้จะมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองจำนวนมากเสนอว่ารูปแบบการจ้างงานยืดหยุ่น หรือการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์ของวิธีบริหารจัดการตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการในยุคหลังระบบการผลิตและจ้างงานในโรงงานแบบสายพานการผลิต (Post-Fordism)   แต่เขาโต้แย้งว่าแนวคิดดังกล่าวให้มุมมองที่ไม่เพียงพอในการวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นเหตุขัดขวางศักยภาพของแรงงานรับจ้างอิสระในภาคสร้างสรรค์ที่จะประชันบทบาทและแสดงออกตนให้สังคมรับรู้สภาพปัญหา   

เขาได้ทบทวนงานวิจัยและกรณีศึกษาที่แรงงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะ สื่อ และวัฒนธรรม ได้ต่อสู้เรียกร้องร่วมกันอันเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่เกิดจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment)  โดยบทความได้เน้นไปที่งานวิจัยหลัก 3 ประเด็น คือ

  1. ลักษณะสัญญาจ้างงาน และสถานะในการรับจ้างแต่ละแบบนำไปสู่ การริเริมและรูปแบบขบวนการการรวมกลุ่มและเรียกร้องสิทธิหรือไม่อย่างไร
  2. การต่อสู้เรื่องค่าตอบแทน โดยชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดระบบให้แสดงหรือทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จนกลายเป็นประเด็นเรียกร้องร้องร่วมกัน
  3. การยึดครองพื้นที่เพื่อแสดงออก แสดงตัวอย่างการรวมกลุ่มกันของเหล่าแรงงานรับจ้างอิสระในพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสียงให้สังคมรับทราบถึงสภาพปัญหาความทุกข์ยากของชีวิต ในลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

โดยผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงการถูกดูเบาความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการชี้ให้เห็นว่ามิใช่เพียงการจ้างงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้นที่เกิดปัญหานี้ แต่การจ้างงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้สร้างปัญหาอันเนื่องมาจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน

                ในท้ายที่สุดเขาได้เสนอให้เห็นว่าการต่อสู้ด้วยวิธีการรวมกลุ่มของแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกรณีต่างๆ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ 3 ทิศทางหลัก คือ

  1. การค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถดำรงชีพอยู่กับความสัมพันธ์ในการจ้างงานแบบนี้ได้
  2. การพยายามเข้าไปปรับปรุงระบบความสัมพันธ์แรงงานให้ดีขึ้น
  3. การปฏิรูประบอบเศรษฐกิจและการผลิตอย่างถึงรากถึงโคน

คงถึงเวลาแล้วที่ทั้งนายจ้าง ผู้รับจ้างอิสระ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ รวมไปถึงผู้ผลิตนโยบายการเมืองเพื่อแข่งขันแย่งคะแนนเสียงในสนามเลือกตั้ง ต้องมองให้เห็นปัญหานี้ คนกลุ่มเสี่ยงนี้ ไม่ว่าจะในแง่การสร้างนโยบายเพื่อชัยชนะทางการเมือง หรือวางมาตรการพัฒนาสังคมลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา