Skip to main content

โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอกจากโลกเสมือนจริงจะเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุเสมือนจริงระหว่างกันได้ ส่งผลให้เกิดเป็นพื้นที่ทางธุรกิจการค้า (Commerce) ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าของสินค้าเสมือนจริงซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริง 

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีความสามารถในการบังคับ ในการทำเช่นนั้นกฎหมายจะต้องสามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำบนแพลตฟอร์มบล็อกเชน ศักยภาพในนามแฝง และการปกปิดตัวตนบนบล็อกเชน ได้ก่อให้เกิดความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ใช้สามารถใช้ช่องว่างนี้ เพื่อสร้างเขตที่ไร้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของอาชญากร

ปัญหาของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบทางกฎหมาย ไม่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชนส่วนตัว (Privacy Blockchain) เนื่องจากแพลตฟอร์มประเภทนี้มีการอนุญาตให้ระบบสามารถระบุตัวได้หากเกิดความรับผิดของผู้ใช้ ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ละเมิดกฎหมายบนบล็อกเชน ระบบ จึงสามารถระบุตรวจสอบย้อนกลับไปหาบัญชีผู้ใช้จริงได้ นั่นเป็นเพราะรายการในบัญชีแยกประเภทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ให้บันทึกการตรวจสอบและหลักฐานของการกระทําผิด แต่เพียงแค่ไม่สามารถระบุได้ตลอดเวลาในขณะที่ทําธุรกรรม  ทั้งนี้เครื่องมือระบุตัวตนแก่รัฐ (อาจอยู่ภายใต้การควบคุมของศาล หรือผ่านภาคเอกชนตามเกณฑ์การชําระเงิน) ควรเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับความสามารถของรัฐในการบังคับใช้ความรับผิดชอบและทำให้พื้นที่บล็อกเชนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 

หากพูดถึงสิ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนมากที่สุด เห็นจะเป็น ระบบเงินเข้ารหัส หรือ คริปโตเคอร์เรนซี่ Cryptocurrency อันหมายความถึง ระบบที่มีไว้สำหรับการออกโทเค็น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั่วไปหรือแลกเปลี่ยนโดยจํากัดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการใช้บัญชีดิจิทัลที่สามารถดูแลร่วมกันได้ โดยใช้การเข้ารหัสเพื่อเป็นหลักประกันแทนที่ความไว้วางใจในสถาบันผู้ดูแลในระดับที่แตกต่างกัน เช่น ปรากฏธนาคารชาติ หรือกระทรวงทบวงกรมของรัฐที่รับรองสถานะของเงินให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ระบบการเงินที่ทันสมัย จะต้องประกอบด้วยเครดิตทางกายภาพ และเครดิตดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางของรัฐ, คลังของรัฐ, และธนาคารพาณิชย์เอกชน ซึ่งจะหมุนเวียนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายที่มีการรับประกันมูลค่าการไถ่ถอน

คําว่า Cryptocurrency ได้เกิดขึ้น และแพร่หลายต่อสาธารณะ จากการเพิ่มขึ้นของ Bitcoin ในปี 2008 ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มุ่งหมายจะเปิดการใช้งานเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้คน ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารดิจิทัลแบบ Peer-to-Peer เพื่อออกโทเค็นดิจิทัล และถ่ายโอนให้ระหว่างกัน โดยใช้ระบบรักษาความปลอดภัยผ่านการเข้ารหัส  ในช่วงเริ่มแรก ไม่ได้ใช้คําว่า Cryptocurrency แต่ผู้สร้างได้นำเสนอโครงการนี้ด้วยแนวคิดที่จะสร้าง สกุลเงิน ในเครือข่าย Peer-to-Peer  และระบบ Cryptography Mailing List  แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า 'Cryptocurrency' ถูกใช้ในการสนทนาออนไลน์ และได้รับความนิยมในเวลาต่อมา

คำว่า Bitcoin มักจะมาคู่กับ Tokens ซึ่งแตกต่างกับบริบทของ bitcoin (สังเกตการใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก) ที่มักใช้ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมกับเครือข่าย (นักขุด) ผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนมูลค่าของสกุลเงินดิจิตัลนี้ได้จริง ๆ เพื่อหมายความไปถึงระบบ และความหมายที่มีอยู่จริง ๆ (Written Into Existence)

Crypto ในบริบทของ Cryptocurrency อาจมาจากบริบทของการเป็นตัวแทนสำหรับการเข้ารหัส (ในบทความใช้คำว่า Cryptography) แต่ยังมีส่วนมาจากการเคลื่อนไหวของ Cypherpunk ที่ให้ความหมายในเชิงของ “เงินสดที่ไม่ระบุชื่อและระบบการชําระเงินที่ไม่สามารถติดตามได้”  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่าง Crypto-Anarchy  เนื่องด้วยภารกิจหลักของ Bitcoin คือการใช้ประโยชน์จาก ระบบรักษาความปลอดภัยแบบการเข้ารหัสแทนความไว้วางใจ ระบบสถาปัตยกรรมการเข้ารหัสเข้าสู่ในรูปแบบต่างๆ จึงแสดงให้เห็นถึง ความเป็นมาในการสร้างอำนาจ และความชอบธรรมให้กับตัวระบบ อันเป็นสิ่งที่ยืนยันอำนาจในการจัดเก็บ และแลกเปลี่ยน สำหรับการส่งโทเค็น

คริปโตเคอเรนซี่ยุคแรกมีเจตนาในการสร้าง 'เงินสดดิจิทัล' หรือสกุลเงิน แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่มีเสียรภาพ จากการใช้ผิดวัตถุประสงค์แรกเริ่ม เช่น การซื้อเพื่อเก็งกำไร วัตถุประสงค์แรกเริ่มนี้ เรียกว่า ‘Limited Purpose’ การจำกัดจุดประสงค์ดังกล่าว สามารถเป็นจุดแข็งของ Cryptocurrencies ได้ หากสามารถทำให้มองเห็นได้ ระบบนี้คือบริการที่แท้จริง ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการครอบครองโทเค็น ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจจึงสามารถ'ยึด' โทเค็นเป็น 'เศรษฐกิจที่แท้จริง' ได้ แม้ว่าจะอยู่ในปริมณฑลไซเบอร์     โทเค็นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ ‘General Purpose’ จะมีการทําเครื่องหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติจากสถาปัตยกรรมสกุลเงินดิจิทัล ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘Stable Coins’ ซึ่งพยายามใช้เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนสูงในกําลังซื้อของ Bitcoin ที่ถูกผูกติดอยู่กับมูลค่าตามสกุลเงินกายภาพ หรือ 'ได้รับการสนับสนุน' ในทางใดทางหนึ่งกับทรัพย์ที่มีราคาเทียบได้ในสกุลเงินกายภาพดังนั้น Stablecoins จึงไม่ใช่สัญลักษณ์ที่ว่างเปล่าอีกต่อไป และมีจุดอ้างอิงที่ง่ายต่อการประเมินมูลค่า

อย่างไรก็ดี สกุลเงินประจําชาติก็สามารถนำมาแปลงเป็นโทเค็นได้ (Tokenized)  โดยการออกสัญญาดิจิทัล ในระบบ Blockchain และกองทุน ซึ่งจะนำไปสู่รูปแบบใหม่ของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินอิเล็กทรอนิกส์, การต่อต้านการฟอกเงิน, และการต่อต้านผู้ก่อการร้าย ซึ่งจะสร้างความมั่นใจทางกฎหมาย  ได้

อ้างอิง
Schlinsog, M, “Endermen, Creepers, and Copyright: The Bogeymen of User-Generated Content in Minecraft,” Tulane Journal of Technology and Intellectual Property, 16, (2013):185; Lastowka, F. G. “Virtual justice: The New Laws of Online Worlds,” Yale University Press, (2010): 173; Farley, R. M., “Making virtual copyright work,” Golden Gate University Law Review, 41(1) (2010); Marcus, D. T., “Fostering Creativity in Virtual Worlds,” Journal of the Copyright Society of the U.S.A, 55, (2008): 469; Kane, S. and Duranske, B. “Virtual Worlds,” Real World Issues. Landslide, 1, (2008): 9.
Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019): 14-15.
Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no.2 (May 20, 2021): 3.
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin: A peer-to-peer electronic cash system,” [White Paper,. (2008). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin open source implementation of P2P currency,” [Forum post]. P2P Foundation Post. http://p2pfoundation.ning.com/forum/topics/bitcoin-open-source, (2009, February 11). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Primavera De Filippi and Aaron Wright, Blockchain and the Law: The Rule of Code (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2018). https://doi.org/10.2307/j.ctv2867sp,

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า