1.
เช้านี้ เรามากันที่ Foreign Press Center เจอกับ Tom Rosentiel ผู้อำนวยการ American Press Institute และผู้เขียนหนังสือ Elements of Journalism.
หลักๆ พูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการบริโภคสื่อจากสื่อดั้งเดิมเช่นวิทยุ หนังสือพิมพ์ ทีวี มาสู่สื่ออนไลน์มากขึ้น มีสถิติว่าคนอเมริกันเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนและแทบเบล็ตมากขึ้น ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้บริโภคข่าวจาก mobile devices อยู่ที่ราว 34 ปี เมื่อเทียบกับผู้บริโภคสื่อเก่าที่มีอายุราว 56 ปี ฉะนั้นถือเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับสื่อออนไลน์ในการเข้าถึงผู้บริโภคข่าวในกลุ่มที่เด็กกว่าและมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกว่า
ความท้าทายสำหรับก็ยังเป็นเรื่องรายได้ที่เข้าเว็บไซต์ มีสถิติว่าร้อยละ 90% ของคนใช้เน็ตไม่เคยคลิกเข้าโฆษณาป๊อบอัพหรือโฆษณาออนไลน์เลย และทำอย่างไรให้ข่าวออนไลน์มีความสอดคล้อง หรือเข้าไปอยู่ในบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้น เพราะผู้บริโภคมีอำนาจในการกำหนดความคิดเห็น (opinion shapers) และเป็นผู้ที่แชร์ข่าวสารในสังคมตนเอง
สำหรับหนังสือพิมพ์ที่มีจุดแข็งสุดตอนนี้ในอเมริกาคือนิวยอร์คไทมส์ เพราะสามารถคลุมการรายงานในประเทศและต่างประเทศได้ อีกทั้งมีตลาดระหว่างประเทศมีคนอเมริกันแค่ร้อยละหนึ่งเท่านั้นที่อ่านนิวยอร์คไทสม์ ส่วนใหญ่เป็นพวกเอลีทที่สุดและมีการศึกษาสูงที่สุด แต่ก็ส่งอิทธิพลมากสุด
วอชิงตันโพสต์ ชิคาโก้ทรีบูน หรือหนังสือพิมพ์เมือง อยู่ในจุดที่อ่อนแอที่สุดเพราะอยู่ในระหว่างกลาง ไม่สามารถรายงานเมืองอื่นได้ และก็รายงานข่าวต่างประเทศสู้อย่างนิวยอร์คไทมส์ไม่ได้
สำหรับการลงโฆษณา ก็นิยมลงในสิ่งพิมพ์หรือโทรทัศน์ที่เป็นกลางมากกว่า เพราะอย่างฟอกซ์เป็นช่องเคเบิลที่ป๊อบที่สุด แต่โฆษณาเลือกจะไปลงกับซีเอ็นเอ็นมากกว่าซึ่งดูเป็นกลางกว่า ซึ่งจะส่งผลเรื่องความน่าเชื่อถือของผู้ลงโฆษณา
2.
ถัดมา นั่งรถมาต่อไม่ไกลนัก มาเยี่ยมออฟฟิศของ Reporters Committee for Freedom of the Press ก่อตั้งเมื่อปี 1971 เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของนักข่าวตาม First Amendment จากรัฐบาล เพราะรู้สึกว่าบรรณาธิการและ publisher ทำไม่เพียงพอในการพิทักษ์สิทธิของพวกเขา นักข่าวอเมริกันจึงรวมตัวกันก่อตั้งขึ้นมา ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำด้านกฎหมาย ตอนนี้มีทนายประจำศูนย์อยู่ราวสามคนที่เข้ามาทำงาน นอกจากนี้ก็ยังตีพืมพ์สิ่งพิมพ์ในแง่การส้รางความเข้าใจเรื่องสิทธิของนักข่าว นอกจากนี้ก็ยัังช่วยเหลือเรื่องการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลและเอกสารของศาล พูดง่ายๆ คือการใช้สิทธิตามบทบัญญัติที่ 1
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องสิทธิในการรักษาความลับกับแหล่งข่าว มีการดีเบตมาหลายสิบปีเรื่องนี้ เพรานักข่าวต้องมีสิทธิ์ในการรักษาความลับแหล่งข่าว แม้จะมีหมายศาลเรียกไปให้การก็ตาม ในขณะเดียวกันศาลก็บอกว่านี่ไม่ใช่สิทธิ์ตาม First Amendment ของรัฐธรรมนูญ
ไม่เพียงแต่นักข่าวเท่านั้น แต่บล็อกเกอร์หรือนักข่าวพลเมืองเขาก็ให้ความช่วยเหลือด้วย
Student Press Law Center ก็แชร์ออฟฟิศอยู่ด้วยกัน ก่อตั้งเมื่อปี 1974 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพในการรายงานข่าวของนักเรียนและนักศึกษาในการรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์โรงเรียน เพราะก็มีหลายครั้งที่โรงเรียนเซ็นเซอร์การเขียนบทความหรือข่าวเรื่องยาเสพติดหรือร็อคแอนด์โรล บางที่ก็มีเรื่อง sexual assault ในมหาวิทยาลัย ที่นักข่าวจำเป็นต้องเข้าถึงเอกสารที่จำเป็นแต่ก็ยังมีอุปสรรค ที่นี่ก็รณรงค์และให้ความช่วยเหลือเรื่องการเข้าถึงข้อมูลด้วย
ตัวแทนจาก SPC เล่าให้ฟังว่า หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยตอนนี้มีการเซ็นเซอร์อยู่ทุกวี่ทุกวันเป็นเรื่องปรกติ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการของโรงเรียน/มหาวิทยาลัย หรือผู้บริหาร "แล้วเขาเซ็นเซอร์ยังไงล่ะ?" ฉันถาม "พวกอาจารย์หรือผู้บริหารก็เอาหนังสือพิมพ์ไปเก็บ แบบไม่พูดพร่ำทำเพลง" เขาตอบ
นอกจากนี้ก็มีเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยจุดยืนพวกเขาคือสนับสนุนเรื่องการใ้ช้สิ่งลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม เช่นสามารถยืมได้ ไม่หวังผลกำไร ซึ่งเรื่องนี้บรรจุอยู่ใน First Amendment ด้วย เรื่องการหมิ่นประมาท การให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
มีนักข่าวฟีจิที่ถูกฟ้องหมิ่นประมาท ถูกจำคุกและปรับประมาณ 30,000 ดอลลาร์ จากการตีพิมพ์บทความวิจารณ์ศาลของนสพ. นิวซีแลนด์ในหนังสือพิมพ์ตัวเอง ถามว่าทางนี้มองกรณีนี้หรือช่วยเหลือได้อย่างไร เขาก็อธิบายว่า นักข่าวที่นี่ไม่ถูกฟ้องอาญาเรื่องหมิ่นประมาท และไม่มีกรณีแบบนี้มาหลายสิบปีมากแล้ว เพราะเหมือกับมี protection ตามกฎหมายอยู่
คนจาก RCPJ เล่าต่อว่า สำหรับเรื่องของฟรีสปีชที่นี่ ก็เป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญและยึดถือค่อนข้างมาก ถึงแม้จะมีข้อจำกัดบ้างในกรณีที่เคยได้ยิน แต่โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแม้ฟรีสปีชจะทำให้มีราคาค่าเสียหายหรือสร้างปัญหา หรือทำให้เกิดความเจ็บช้ำใจระหว่างกัน แต่ you just have to live with that และเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่สูงสุดตามรัฐธรรมนูญ
"หลายประเทศก็บอกว่าตัวเองเชื่อในฟรีสปีชทั้งนั้นแหละจนกระทั่งมันสร้างปัญหา แต่สำหรับอเมริกาเราภูมิใจที่พูดว่าแม้ฟรีสปีชจะสร้างปัญหา แต่เราก็ยึดถือมัน"
อย่างในแคนาดา ก็น่าสนใจมากเพราะในระยะสามสิบปีที่ผ่านมา มีการตีความฟรีสปีชตามกฎหมายที่แคบขึ้น (เข้าใจว่าหมายถึงทำให้ขอบเขตการพูดกว้างขึ้น) เพราะก็มีดีเบตเรื่องความสมดุลระหว่างฟรีสปีชกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เขาอธิบายว่าแม้ฟรีสปีชจะทำให้สองสามคน injured แต่ในทางหลักการแล้วมันก็ยังยึดชูเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนในสังคมโดยรวม
3.
ที่ที่สามเข้าเขตมหาวิทยาลัย มีหนุ่มๆ สาวๆ นักศึกษานัั่งปิคนิครับแดดอยู่บนสนามหญ้า เรามาที่ journalism lab ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์ที่ดูเรื่อง media startup/entrepreneur โดยเฉพาะ ก่อตั้งเมื่อปี 2002 เป็นส่วนหนึ่งของคณะนิเทศศาสตร์ของ American University มีอาจารย์มาบรรยายเรื่องแนวโน้มของสื่อใหม่ในอเมริกา สรุปได้ประมาณนี้
- มีวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ มากขึ้น เช่น Storify, twitter รวมถึงมี startups ใหม่ๆ เยอะขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้
- เว็บไซต์อย่าง linkedin หรือ google มาผลิตคอนเทนท์ด้วยตัวเองเยอะขึ้น
- มีเพย์วอลล์สำหรับเว็บข่าวมากขึ้น
- คนที่เป็นเจ้าของมือถือสมาร์ทโฟนมีราวร้อยละ 44 ในขณะที่เจ้าของแท็บเล็ตสูงขึ้นจากปี 2011 ถึงร้อยละ 50 การผลิตข่าวสำหรับการอ่านในแท็บเล็ต เช่นแอพพลิเคชั่นจึงมีมากขึ้นและเป็นเรื่องจำเป็น
- มีผู้เล่นใหม่ๆ ในเว็บข่าวมากขึ้น เช่น เว็บ Polygon ที่รายงานเฉพาะเกมส์เท่านั้น แต่มีนักข่าวกว่าร้อยคน (!) และก็มีรายได้จากการโฆษณาค่อนข้างดีด้วย
- ยังมี Sensor Journalism ที่ใช้เซ็นเซอร์ช่วยในการรายงานข่าวไว้แทร็กความเคลื่อนไหว
- นอกจากนี้ยังมี Non-Narrative Journalism ที่ออกมาในรูปแบบของการ์ตูน ดาต้าเบส, visualizations,
- มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกืดขึ้นเช่น Tumblr, Vine
- News Games: "Playing" the News สื่อสารข่าวผ่านเกม
- Watchdog reporting site at the state level like California Watch, The Texas Tribune, ProPublica --> investigative news network, non-profit
- Local Indy Startups
- Expanding with Satellite site davidsonnews.net, corneliusnews.net
- Soft Advocacy siites like the notebook.org covering only public schools to advocate of good schools with journalistic reporting. or advocate for sustainable cities like bikeportland.org
- Rise of Arts and Culture coverage sites because in newspaper it's decreasing
- Also the niche sites on environment and health
- University News sites เพื่อให้เป็นที่ฝึกฝีมือให้นักศึกษาด้วยแต่ก็เห็นเป็นโอกาสในการรายงานในสิ่งที่สำนักข่าวใหญ่ไม่รายงานในชุมชนและก็ถือว่าทำได้ดีด้วย
-MSM/blogs collaboration/ News Partner Network
- Indie/Public Radio Partnership เป็นความร่วมมือระหว่างสถานีวิทยุกับ news start up ที่แลกเปลี่ยนคอนเทนท์ให้กัน
- Events as Journalism ทำให้เป็นทอล์คหรือฟอรั่ม เพื่อให้เป็นข่าวด้วย และก็ขายตั๋วก็สามารถเป็นรายได้ได้อีกทาง
- Repurposing Content, Ebooks, Publications from the news
- Sponsored Content
บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล
สุลักษณ์ หลำอุบล
อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี