Skip to main content

สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and Labor  

1.
 
 ไมเคิล เก็ตเลอร์ เป็น Ombudsman ของ PBS ซึ่งเป็นทีวีสาธารณะไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่รับคำร้องเรียนจากสาธารณชนเรื่องเกี่ยวกับงานข่าว แต่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องอุดมการณ์ในสื่อว่าเอียงข้างไหน แต่จะเป็นในแง่ความเป็นมืออาชีพในการทำงานเชิงวารสารศาสตร์มากกว่า หน้าที่ของ Ombudsman คือ พอรับคำร้องจากผู้ร้องเรียนปุ๊บ (ซึี่งจะเป็นใครก็ได้) ก็ส่งคำร้องดังกล่าวไปที่ mission (ไม่ค่อยแน่ใจว่าหมายถึงอะไร อาจจะหมายถึงองค์กรของ ombudsman เอง) จากนั้น ก็จะส่งต่อไปบรรณาธิการและนักข่าวของสำนักข่าวนั้นๆ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า มีคนร้องเรียนมานะว่าไม่เป็นกลางหรือไรงี้ จากนั้นก็จะเอาคอมเมนท์จากฝั่งผู้ผลิตข่าวมา ทาง ombudsmen ก็จะเอาข้อคิดเห็นจากทั้งสองข้างมาชั่งน้ำหนัก ประเมิน วิเคราะห์และเขียนรายงานออกมาสู่สาธารณะ เพื่อสร้างความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ของวงการวารสารศาสตร์ของอเมริกา 
 
 
อย่างพีบีเอสนั้นก็มี editorial guideline ของตัวเอง จริงๆ ที่อเมริกาไม่มี national guideline ในแง่การทำข่าว แต่ละสำนักจะมีของตัวเอง ซึ่งหน้าที่ของ Ombudsman ก็คือให้สื่อพวกนี้ยึดถือและเคารพ guideline ของตัวเอง ฉะนั้นหน้าที่ของเขาก็คือตรวจสอบว่ามีการรายงานที่ถูกต้อง เป็นกลาง หรือไม่ ซึ่งเขาก็จะเขียนรายงานออกมา และตำแหน่งนี้ก็ค่อนข้างเป็นอิสระด้วย ไม่มีใครเอดิตหรือแก้ไขรายงานอะไรทั้งสิ้นนอกจากผู้ช่วย ฉะนั้นก็ค่อนข้างอิสระพอสมควร ไม่มีการแทรกแทรงจากฝ่ายการจัดการ ฯลฯ จากนั้นก็โพสต์ข้อเขียนที่ว่าลงในหนังสือพิมพ์ เช่นใน Sunday editorial page ใน Washington Post เป็นประจำ ซึ่งก็มีคนอ่านเยอะด้วย คนอ่านเองก็ตอบสนองดีเพราะรู้สึกว่ามีคนมาช่วยตรวจสอบสื่อมวลชนเหล่านี้แทนพวกเขา  
 
"สำหรับผมคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่เยี่ยมที่สุดในการสร้างความตรวจสอบได้ต่อสื่อมวลชน" โดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง fair and objective reporting แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็ดีเฟนด์พีบีเอสหรือวอชิตันโพสต์ด้วย ถ้าหากว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวไม่แฟร์ต่อองค์กร 
 
วิธีนี้ก็เป็นวิธีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสื่อเองด้วย
 
เขาบอกว่าตำแหน่ง ombudsman อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ตอนนี้มี ombudsmen ในสหรัฐราว 40 คน มีสมาคมที่รวมกันจากหลายๆ ประเทศที่ดูในเรื่องนี้  มีในต่างประเทศก็ค่อนข้างเยอะ แต่ว่าตั้งแต่ปี 2008 ที่สหรัฐประสบปัญหาเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์หลายที่มีรายได้น้อยลงจึงตัดตำแหน่งนี้ออก จำนวน ombudsmen ก็ลดลงด้วย 
 
วอชิงตันมี ombudsmen เป็นที่แรก ใน 1970 ก่อหน้านี้ก็มีตำแหน่งค้ลายๆ กันแต่เรียกว่า Readers' Representative วอชิงตันโพสต์ตัดตำแหน่งนั้นออกสามปีก่อน หลังจากที่มีมากว่า 40 ปี ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากๆ 
 
ตำแหน่งนี้เรียกอีกอย่างว่า public editor ที่เหมือนกับเอดิตและตรวจสอบแต่จากสาธารณะ 
 
ที่จริงในขณะนี้ก็มี media watchdog group ที่มีความสนใจของตัวเองเช่นกลุ่มต้านการทำแท้ง ต้านการแต่งงานเพศเดียวกัน ซึ่งเมื่อนิวยอร์คไทมส์หรือวอชิงตันโพสต์พิมพ์อะไรที่สนับสนุน พวกนี้ก็จะรวมตัวส่งคำร้องมาที่ ombudsmen แต่หลายๆ ครั้งก็เป็นไปเพื่อ self interests มากกว่าเพื่อที่จะปรับปรุงหรือวิจารณ์แง่วารสารศาสตร์ของ นสพ.
 
ส่วนใหญ่คนที่มาเป็น ombudsmen ก็จะต้องมีประสบการณ์การทำงานข่าวมาแล้วนานๆ ได้รับความเคารพในแง่การรายงานที่เป็นกลาง อย่างคุณไมเคิลนี่ก็ทำงานเป็นนักข่าวที่วอชิงตันโพต์และนิวยอร์กไทมส์มาหลายสิบปี 
 
นอกจากนี้ คำร้องเรียนและบทวิเคราะห์ต่างๆ จะถูกรวบรวมเป็น archive ซึ่งสามารถช่วยในการปรับปรุงองค์กรได้ในแทบจะทุกด้าน 
 
มีกรณีนึงที่เขาเล่าให้ฟัง มีคนอ่านร้องเรียนมาว่าเสียงนกที่เปิดในทีวีมันไม่ใช่เสียงเสียงนกฟลอริด้านะ! แต่เป็นเสียงนกท้องถิ่นต่างหาก ไม่ตรงกับคำบรรยายที่ทีวีบอก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ชมพร้อมจะจับผิดและเฝ้ามองสื่อในทุกเรื่องอยู่แล้ว 
 
มีอีกรณีนึงคือรายการซาซามีสตรีทเอาเพลงที่รณรงค์การฉีดวัคซีนแก้หวัดมาออก แต่ก็ได้รับการร้องเรียนจากคุณแม่หลายๆ พันคนที่ต่อต้านการฉีดวัคซีนให้ลูกตัวเอง บอกว่าเซซามีสตรีทกำลังทำ "พร็อพพาแกนด้า"  เรื่องแบบนี้เขาก็รับคำร้องเรียนเหมือนกัน 
 
สรุปแล้ว นิยามของตำแหน่งนี้ก็คือ Internal critique role representing readers' views of journalism นั่นเอง (in his own word)
 
2. 
 
ที่ที่สอง มาที่ Center for Democracy and Technology เป็นเหมือนเอ็นจีโอที่ทำงานด้านเสรีภาพอินเทอร์เน็ต มีภารกิจหลักๆ คือ รักษาธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตที่ open, decentralized และ user-controlled เพราะเชื่อว่าเป็นวิถีทางการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตย และสนับสนุนเสรีภาพการแสดงออกในโลกอินเทอร์เน็ต พิทักษ์ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จากนโยบายหรือเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ส่วนเรื่องการควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล เขาก็สนับสนุนให้มีมาตรฐานทางกฎหมายที่เป็นมาตรฐานและชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
 
 
 
 
คนที่เราได้พูดคุยด้วยคือคุณเอมม่า แลนโซ่ ซึ่งทำวิจัยเรื่องเสรีภาพการแสดงออกในอินเทอร์เน็ต โดยดูเรื่องนโยบายและข้อกำหนดของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะปัญหาการเอาผิดตัวกลางในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ หลายที่ในโลก คุณเอมม่าบอกว่า ในสหรัฐอเมริกาจริงๆ แล้วมีกฎหมาย section 230 ที่กำหนด third party liability protection (ความคุ้มครองการเอาผิดตัวกลาง) อย่างทวิตเตอร์ก็ไม่ควรเป็นตัวกลางในการรับผิดชอบข้อความหรือเนื้อหาต่างๆ ของผู้ใช้ เพราะทวิตเตอร์ถูกมองว่าเป็นแพลตฟอร์มและ backbone (กระดูกสันหลัง) ของอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญ และต้องเป็นพื้นที่ให้กับผู้้ใช้ 
 
เพื่อนจากบัลแกเรียซึ่งทำงานในเว็บสื่อออนไลน์ซึ่งเน้นการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ทางการเมืองและการสัมภาษณ์ต่างๆ ถามว่า ตนเองประสบปัญหาด้าน copyright จากเว็บไซต์อย่างยูทิวบ์และยูสตรีม เนื่องจากว่าได้ไปถ่ายทอดสดการเดินขบวนทางการเมือง และการเดินขบวนนั้นก็มีการเปิดคอนเสิร์ตและเปิดเพลงมีลิขสิทธิ์ของอเมริกา จึงได้รับคำเตือนจากทางเว็บนั้นบอกว่ากำลังทำการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ และถูกปรับให้ลดเวลาถ่ายทอดสดเหลือเพียง 15 นาทีเท่านั้น จากแต่ก่อนเป็นหลายชั่วโมง จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักข่าวเป็นอย่างมาก ก็เลยถาม CDT ว่ามองเรื่องนี้อย่างไร
 
คุณเอมม่าก็อธิบายถึงเรื่องระบบ notice and takedown (ระบบการแจ้งเตือนและให้ผู้บริการเอาเนื้อหาลง) ว่าจริงๆ แล้วควรจะให้มีมาตรฐานทางกฎหมายที่ชัดเจน และตัวกลางหรือผู้ให้บริการ ก็ไม่ควรเป็นผู้ตัดสินว่าอะไรผิดกฎหมายไม่ผิดกฎหมาย ควรกำหนดหน้านี่ให้ชัดเจนไปเลยว่าให้ศาลตัดสินหรืออกคำสั่งมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าต้องชัดเจนและตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ควรต้องเปิดให้ผู้ใช้สามารถ appeal หรืออุทธรณ์ได้ด้วยว่า notice ดังกล่าวสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น การถ่ายทอดสดการชุมนุมที่ดันติดเพลงลิขสิทธิ์ ก็ควรสามารถแย้งได้ว่า ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อขายเพลงหรือแย่งผู้ฟังจากผู้ผลิต แต่ควรจะสามารถอ้าง First Amendment ได้ว่า นี่เป็นการแสดงออกที่ผลิตขึ้นมาใหม่ซึ่งกระทำผ่านการถ่ายทอดสดการชุมนุม ไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ใคร  
 
3.
 
ที่สุดท้าย มาพบกับ Tara D. Sonenshein เป็น Under Secretary of State for Public Diplomacy and Public Affairs และ Michael G. Kozak จาก State Department's Bureau of Democracy, Human Rights and Labor ก็ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรมาก ส่วนใหญ่เป็นการตอบคำถามจากเพื่อนนักข่าวหลายๆ ประเทศในประเด็นเฉพาะมากกว่า
 
 
ข้าพเจ้าถามคุณไมเคิลว่า คิดยังไงต่อการดำเนินคดีของแบรดลีย์ แมนนิ่ง เนื่องจากสื่อต่างๆ มองว่าเป็นการดำเนินคดีต่อ whistleblower คุณไมเคิลก็ดูเหวอๆ แล้วก็ตอบว่า จริงๆ ต้องเข้าใจนะว่าแมนนิงไม่ได้ถูกดำเนินคดีจากการเป็นวิสเซิลโบลเอ้อ แต่เป็นเพราะเขาเอาเอกสารลับของรัฐบาลออกมาปล่อยซึ่งอาจไปตกในมือของศัตรูได้ และทางรัฐบาลก็มองว่าเป็นการทำอาชญากรรมที่ร้ายแรงด้วย 
 
สำหรับทริปที่ดีซี ก็มีเพียงเท่านี้ โปรดติดตามตอนต่อไป จะย้ายทริปไปที่นิวยอร์กซิตี้กั

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี