Skip to main content

รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 

1.
 
สำหรับวันแรกในนิวยอร์ก เรามากันที่ Foreign Press Center New York ตั้งอยู่ที่ชั้น 10 ของตึก U.N. Plaza
 
 
วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับโรเบิร์ต ฟาร์ลีย์ เป็นรองบรรณาธิการบริหารของเว็บไซต์ factcheck.org ที่มาของเว็บไซต์นี้ก็คือว่า ก่อนหน้านี้มีสิ่งที่เรียกว่า he said she said journalism ในช่วงเลือกตั้ง การรายงานข่าวก็จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าอีกฝ่ายนึงพูดอย่างนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งก็โต้ตอบกลับอะไรกันไป ซึ่งตอนนั้นนักข่าวก็คิดว่านี่เป็นหน้าที่ของตน (คล้ายๆ กับนักข่าวปิงปอง) 
 
แต่ไอเดียของเว็บไซต์นี้ก็คือว่า เป็นการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร มี truth meter ที่จะบ่งชี้ความถูกต้องรัดกุม (accuracy) มีการตรวจสอบข้อมูลจากการใช้่เอกสารชั้นต้น สถิติ โดยตรวจสอบอย่างเป็นกลาง และก็จะมีการให้คะแนนแต่ละ statement ว่านี่มีความจริงแค่ไหน 
 
ในขณะที่สต๊าฟของหนังสือพิมพ์ลดลง และพูลนักข่าวประจำที่ต่างๆ ในวอชิงตันลดลง ก็ไม่มีเวลามานั่งตรวจสอบคำพูดหรือข้อเท็จจริงของนักการเมืองอย่างละเอียดในช่วงการหาเสียงการเลือกตั้งได้ เพราะแค่นี้งานก็ล้นตัวแล้วต้องรายงานครอบคลุมหลายอย่าง เว็บไซต์นี้จึงถูกอ้างอิงโดยนสพ. ใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น นิวยอร์กไทมส์ เนื่องจากมีข้อมูลและเอกสารที่เชื่อถือได้ จึงถือว่าทำหน้าที่อุดส่วนที่ขาดไปของหนังสือพิมพ์
 
พูดง่ายๆ คือทำหน้าที่ fact check หลักๆ อย่างเดียวเลย
 
อยู่ไ้ด้ด้วยเงินบริจาค โฆษณานิดหน่อย และการบริจาคจากสาธารณะ จึงมีความอิสระอยู่พอสมควร และก็ลิสต์รายชื่อผู้บริจาคขึ้นเว็บไซต์เพื่อสร้างความโปร่งใส เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการอ้างอิงที่มา ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร บุคคล กฎหมาย หรือสปีชต่างๆ ที่ถูกอ้าง 
 
"คนที่นี่มีความเชื่อใจต่อสื่อมวลชนน้อยลง ฉะนั้นสิ่งที้่เราทำที่นี่ได้ก็คือการสร้างความโปร่งใสเแบบเอ็กซ์ตรีมเพราะนั่นคือสิ่งที่เราทำได้" 
 
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือเรื่องความเป็นอิสระ จากพรรคหรืออุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆ ไม่ว่ากลุ่มไหนฝั่งไหนก็จะโดนตรวจสอบเหมือนกันหมด ทุกวันนี้ จะเจอแหล่งข่าวหรือข้อมูลที่ค่อนข้างเอียงข้าง (partisan) เยอะมาก แต่เว็บนี้ คือความพยายามที่จะสร้างความเป็นกลางและน่าเชื่อถือสำหรับข้อมูล 
 
 
เพื่อนจากคูเวตถามว่า You watch the media, who watches you? เขาก็ตอบว่า ก็น่าจะเป็นคนอ่าน เพราะคนอ่านเองก็จะตรวจสอบและช่วยดูได้ว่าอันไหนจริงหรือไม่จริง หากว่าคนอ่านไม่เห็นด้วยยังไง ก็สามารถกลับไปดูที่แหล่งที่มาของข้อมูลและก็ตรวจสอบได้ 
 
ในแง่ของการเข้าถึงข้อมูล ก็ต้องพยายามเข้าถึงข้อมูลของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองหรือองค์กรให้มากที่สุด มิเช่นนั้นนักข่าวก็จะได้ข้อมูลที่จำกัด แบบที่นักการเมืองต้องการให้เขียนเท่านั้น 
 
แต่ล่ะชิ้นก็ใช้เวลาตรวจสอบก็แล้วแต่ บางอย่างก็ใช้ 2-3 ชั่วโมง บางอย่างก็ใช้เป็นเวลาสองสามวัน ซึ่งอันนี้ก็เป็นข้อท้าท้าย เพราะข่าวในทีวีและวิทยุนั้นไหลเร็วมาก แต่ในความเป็นจริงก็ต้องยึดความถูกต้องให้มากที่สุด คงจะเช็คด่วนเดี๋ยวนั้นเลยคงไม่ได้ 
 
สำหรับขั้นตอน ก็จะเขียนโดย reporter ส่งให้ editor ดูเรื่องเนื้อหาและแกรมม่าร์ จากนั้นก็ส่งให้ส่วนของ fact check ตรวจสอบแหล่งที่มาอะไรพวกนี้อีกขั้น
 
อย่างบางเรื่องในช่วงการเลือกตั้งปธน. การตรวจสอบรายได้ของมิตต์ รอมนีย์ ซึ่งมีความซับซ้อนมาก ก็ใช้เวลาราวสองสามวัน ซึ่งที่อื่นไม่มีเวลารายงานเพราะมีความซับซ้อน แต่สำหรับเว็บนี้ก็ถือว่ามีความเฉพาะและมีทรัพยากรที่จะทำได้ 
 
เว็บนี้ไม่เปิดให้มีส่วนของการคอมเมนท์ ดังนั้นจะไม่ค่อยมีการดีเบตเกิดขึ้นมาก แต่ในหน้าเฟซบุ๊กจะมีการดีเบตจากผู้อ่านค่อนข้างคึกคัก 
 
ส่วนที่มาของรายได้เว็บ มีมาจากการบริจาคจากผู้อ่านและองค์กรต่างๆ ฟาร์ลีย์บอกว่า ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีรายได้จากการบริจาคจากผู้อ่านเยอะมาก (จำตัวเลยไม่ได้เป๊ะว่าเท่าไหร่ แต่ตัวเลข 5-6 หลักอยู่)  เพราะคนอ่านข่าวมีความกระหายอยากได้ข้อมูลดีๆ มีคุณภาพและน่าเชื่อถือได้ 
 
 
2. 
 
สถานที่ถัดไป เป็นองค์กรที่ได้ยินชื่อมานานและบ่อยพอสมควร นั่นคือ Committee to Protect Journalist (CPJ) ผลิตรายงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของนักข่าว ในเมืองไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีตัวแทนที่เขียนรายงานให้คือ Shawn Crispin ที่เขียนและบรรณาธิการอยู่ที่ Asia Times Online ด้วย 
 
 
เรามาพบกับ Robert Mahoney รองผู้อำนวยการ CPJ อดีตนักข่าวรอยเตอร์ที่ทำงานในมาแล้วหลายสิบปีในหลายทวีป องค์กร CPJ ก่อตั้งเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว โดยนักข่าวเพื่อนักข่าว เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและอิสระ ไม่รับเงินจากรัฐบาล เพื่อปกป้องสิทธิของนักข่าว โดยทำการเขียนรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์สื่อและกรณีละเมิดสิทธินักข่าวต่างๆ เช่น ถูกอุ้ม ฆ่า ข่มขู่ ฯลฯ และทำงานรณรงค์ในประเด็นต่างๆ คู่กันไปด้วย 
 
 
องค์กรอีกแห่งในระดับเดียวกันและคล้ายกัน แต่ทำงานรณรงค์ดรามาติกกว่า คือ Reporters without borders เบสที่ปารีส มีกลินอายแอคทิวิสต์มากกว่า และโฟกัสในยุโรปและประเทศอาณานิคมเก่าของยุโรปมากกว่า 
 
เมื่อเร็วๆ นี้ก็ทำการรณรงค์การยุติ impunity ต่อนักข่าวในฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ฯลฯ และมีข้อมูลที่นักรณรงค์ระดับท้องถิ่นสามารถเอาข้อมูลไปใช้ต่อได้ด้วย 
 
มีโปรแกรมช่วยเหลือนักข่าวที่อยู่ในอันตรายโดยเฉพาะในแอฟริกา และก็ยังรณรงค์เรื่อง press freedom ด้วย
 
3. 
 
สำหรับที่สุดท้าย มาที่ศูนย์เพื่อสื่อชุมชนและสื่อชาติพันธุ์ (Center for Community and Ethnic Media) ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ได้ราว 5 เดือน ซึ่งอยู่ภายใต้ Graduate School of Journalism ของ City University of New York (CUNY) เป็นศูนย์ที่ทำการวิจัย ฝึกอบรม และสนับสนุนสื่อชุมชนและสื่อชาติพันธ์ุ อย่างเช่น สื่อจีนพลัดถิ่น สื่อแอฟริกันที่อพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา สื่อชาวปากีสถาน ปัจจุบันมีสื่อแบบนี้ราว 350 หัวในนิวยอร์ก 
 
ผู้อำนวยการศูนย์ เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการก่อตั้งศูนย์นี้ รวมถึงโครงการ เว็บไซต์ Voices of New York ว่า มีประชากรในนิวยอร์ก คิดเป็นกว่าร้อยละ 30 ที่เป็นประชากรพลัดถิ่น อพยพมาตั้งรกราก แต่สื่อกระแสหลักรวมถึงผู้มีอำนาจในการออกนโยบาย ก็มิได้คำนึงถึงความสำคัญของกลุ่มนี้มากเท่าไหร่ จึงต้องการทำหน้าที่สนับสนุนสื่อกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในด้านการวิจัยและการฝึกอบรม
 
เว็บไซต์ Voices of New York เป็นเว็บไซต์ที่ดำเนินการโดยศูนย์ที่ว่า โดยเลือกบทความจากหนังสือพิมพ์ราว 80 ฉบับที่เป็นตัวแทนของชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อพยพ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเอดิตลงในเว็บไซต์ เพราะมีความเชื่อที่ว่า ผู้นำทางการเมืองหรือธุรกิจ-ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ชอบอ้างว่าพวกเขาไม่รู้ความต้องการของชุมชนเหล่านี้ แต่การทำเช่นนี้จะเป็นการนำเสนอเสียงของคนกลุ่มดังกล่าวออกสู่สาธารณะ 
 
อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจที่สุดสำหรับวันนี้ คือ วงเสวนาหัวข้อ สื่อพลัดถิ่น (Diaspora media) ในอเมริกา โดยมีตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ มาร่วมสนทนาด้วย ในแง่ความท้าทายและการทำงานของการเป็นสื่อพลัดถิ่นในนิวยอร์ก/สหรัฐ 
 
 
คนแรกเป็นผู้พูดจาก Nowy dziennik นสพ.ของผู้อพยพชาวโปแลนด์ เขากล่าวว่า หลังปี 1990 หลังคอมมิวนิสต์ล่มสลาย มีผู้อพยพจากโปแลนด์มาอเมริกาเยอะมาก ธุรกิจหนังสือพิมพ์ชุมชนที่เกิดขึ้นที่นี่จึงเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนผู้อพยพโปแลนด์ ซึ่งก็ประสบปัญหาเรื่องเสรีภาพสื่อเหมือนกัน 
 
ตอนแรกเป็นหนังสือพิมพ์ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเสียงของฝั่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ แต่พอคอมมิวนิสต์ล่มก็มาทำเพื่อรองรับชุมชนผู้อพยพโปแลนด์ในนิวยอร์ค/อเมริกาแทน ก็ค่อยๆ เปลี่ยนเนื้อหาจากการรายงานสถานการณ์ในโปแลนด์ มาเป็นการรายงานเกี่ยวกับสิทธิ-ผลประโยชน์ หรือข้อน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายสำหรับผู้อพยพโปแลนด์ในนิวยอร์คแทน
 
คนที่สอง เป็นตัวแทนจากหนังสือพิมพ์ซิงเต๋า (Sing Tao) นสพ. ผู้พลัดถิ่นจีน ก่อตั้งสำนักงานในนิวยอร์คสมัย 1960 แต่ก่อนหน้านี้มีสำนักงานที่อื่นแล้ว มีสำนักงานหลายที่รวมถึงนิวยอร์คและฮ่องกง หลักๆ คือรายงานเพื่อผู้อพยพจีนใน New York น่าสนใจตรงที่เป็นการรายงานเรื่องจีนผ่านมุมมองจากข้างนอก 
 
อีกคนเป็นผู้ก่อตั้ง African Spot เมื่อปี 2008 อพยพมาจากเซเนกัล เธอบอกถึงที่มาการก่อตั้งว่า สื่ออเมริกายังมีการรายงานภาพที่ผิดๆ เกี่ยวกับแอฟริกา อย่างมีแต่ความยากจนข้นแค้น จึงก่อตั้งสื่อนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้าใจในแบบอื่นๆ ด้วย ตอนแรกทำเว็บไซต์ก่อน แต่สมัยนั้นยังไม่ฮิต จึงทำเป็นหนังสือพิมพ์แทน โฟกัสส่วนใหญ่เรื่องภาพลักษณ์และการรับรู้เกี่ยวกับแอฟริกา เธอบอกว่าคนที่พูดถึงเรื่องแอฟริกา อาจมีวาระที่ซ่อนเร้นหรือจุดประสงค์บางอย่างเกี่ยวกับแอฟริกา  จึงต้องการนำเสนอภาพที่ถูกต้องและหลากหลายเกี่ยวกับ African diaspora 
 
อีกคนเป็นผู้ก่อตั้งนสพ. Queens Latino รายงานเพื่อรองรับชุมชนลาติโน่ที่อพยพเข้ามาอยู่ในอเมริกา คลุมเรื่องการเมืองในสหรัฐ นโยบายการอพยพ และเรื่องนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเสมือนกับสะพานที่เชื่อมผู้อพยพที่เข้ามาใหม่ๆ กับชุมชนในนิวยอร์ค
 
คนสุดท้ายมาจาก Pakistan News ก่อตั้งในช่วง 1980 รายงานสำหรับชุมชนปากีสถานที่อพยพเข้ามาในนิวยอร์ค แต่ก็มีสำนักงานที่อื่นด้วย เช่น ชิคาโก้ บอสตัน โอไฮโอ อินเดียนา เข้าใจว่ามีเกือบแทบทุกรัฐด้วยซ้ำ คนอ่านก็มีกลุ่มปากีสถานและก็มีอินเดียด้วย พิมพ์ในภาษาอูรดู          
 
ข้อท้าทายของสื่อพวกนี้ก็เป็นพวกรายได้ที่เข้ามา เพราะอย่างซิงเต๋าในลอนดอนเองก็ขายฉบับละปอนด์ ซึ่งถือว่าแพงสำหรับคนจีนที่อพยพไปที่นู่นซึ่งก็ทำงานเป็นคนงานในร้านอาหารหรือพี่เลี้ยง ก็จะซื้อฉบับเดียวและแบ่งกันอ่านหลายๆ คน ก็มีเอาเนื้อหาขึ้นออนไลน์บ้าง แต่จะขึ้นที่หลังในตอนเย็นๆ ของวัน
 
อย่างนสพ. ของโปแลนด์ก็ถือว่าขยายไปไกลเหมือนกัน ล่าสุดมีรายการในทีวีสาธารณะในเวลาไพรม์ไทม์แล้ว 
 
สิ่งที่มีร่วมกันก็คือด้านเนื้อหา ซึ่งนอกจากจะมีข่าวในประเทศและต่างประเทศแล้ว ก็ยังมีคำแนะนำเรื่องสิทธิ์หรือคำแนะนำในการปรับตัวเข้าสู่สังคมในอเมริกาด้วย 
 
เพื่อนนักข่าวจากคูเวตถามว่า การทำหนังสือพิมพ์เช่นนี้ จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างชุมชนผู้อพยพและชุมชนอเมริกันหรือไม่ เพราะอาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ integrate กันในสังคม
 
พวกเขาก็ตอบว่า ก็เป็นความพยายามที่จะสร้างสะพานที่เชื่อมโยงของสองชุมชนด้วยกัน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาและประเทศที่บ้านด้วย
 

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี