Skip to main content
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป. 1 โดยนักข่าวของนสพ.เอล วาดี เป็นผู้สัมภาษณ์ในสถานที่ประท้วงแห่งหนึ่งในกรุงไคโร การตอบคำถามของเด็กชายที่ชาญฉลาดและฉะฉานเกินวัยนี้ ทำให้ยอดคลิกชมในยูทูบพุ่งเกิน 1,200,000 วิวแล้ว แต่ต้องบอกก่อนว่า คลิปนี้นักข่าวสัมภาษณ์ไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว สมัยที่มูฮัมหมัด มอร์ซีจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมยังเป็นประธานาธิบดีอยู่ แต่ได้กลายเป็นวีดีโอไวรัลในช่วงหลังๆ เลยไม่ค่อยจะเกี่ยวกับสถานการณ์ช่วงหลังรัฐประหารล่าสุดนี่เท่าไหร่
 
0000

 
 
 
อาลีกล่าวว่าเขามาที่ชุมนุมเพราะต้องการพิทักษ์อียิปต์จากการเป็นสมบัติของคนคนเดียว และประท้วงการยึดรัฐธรรมนูญจากพรรคเดียว 
 
"เราไม่ได้ไล่ระบอบทหารออกไปเพื่อจะเอาระบอบเทวาธิปไตยฟาสซิสต์ (Fascist Theocracy) กลับคืนมา" อาลีบอก
 
พอนักข่าวถามกลับว่า "เทวาธิปไตยฟาสซิสต์? ฉันยังไม่รู้เลยว่าแปลว่าอะไร" เด็กหนุ่มก็ตอบกลับทันทีว่า ระบอบคณาธิปไตยฟาสซิสต์ (รัฐศาสนาฟาสซิสต์) ก็คือเมื่อกลุ่มคนเอาศาสนามาบงการ และบังคับใช้มาตรการสุดขั้วในนามของศาสนา แม้ว่าจริงๆ แล้วศาสนาไม่ได้ระบุไว้อย่างนั้นเสียหน่อย
 
นักข่าวถามว่า อ้าว แล้วรู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไง ใครสอน อาลีตอบว่า "ก็รู้ด้วยตัวเอง ฟังคนนู้นคนนี้เยอะๆ ใช้สมองของตัวเองด้วย แล้วก็ยังอ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต"
 
"แล้วเห็นว่าประเทศกำลังไปไม่ค่อยจะดีและต้องการการเปลี่ยนแปลงใช่ไหม?" นักข่าวถาม
 
"คุณหมายถึงด้านการเมืองหรือสังคมล่ะ ถ้าด้านทางสังคม ก็คงยังไม่บรรลุจุดประสงค์ของการปฏิวัตินะ ทั้งเรื่องการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ เสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม คนก็ยังตกงาน ตำรวจก็ยังคงจับกุมคุมขังผู้คนแบบมั่วๆ และในด้านความยุติะรรมทางสังคม เป็นไปได้ยังไงที่ผู้ประกาศข่าวได้เงิน 30 ล้านปอนด์อียิปต์ ในขณะที่ชาวบ้านยังคุ้ยอาหารกินจากถังขยะ 
 
ในด้านการเมือง ถามว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของพวกเราอยู่ไหน ยกตัวอย่าง ในสังคมนี้มีผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ทำไมในสภาร่างรัฐธรรมนูญมีผู้หญิงแค่ 7 คนเอง ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นกลุ่มอิสลาม 6 คน" 
 
"ถ้าอย่างนั้น คิดว่าพวกเขาจะเข้ามาบงการรัฐธรรมนูญใช่ไหม" นักข่าวถามต่อ
 
"อะไรที่สร้างขึ้นมาจากสิ่งที่ผิด ก็ย่อมผิดด้วยตัวของมันเอง ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาดี แต่ถ้าคณะร่างมันขึ้นมานั้นไม่ดี เราก็จะลงเอยกับสิ่งที่แย่ๆ อยู่ดี" เขาตอบ "อย่าเอา 80 มาตราที่ดูดีมาให้ และอีก 20 มาตราที่จะทำลายประเทศ และมาบอกเราว่านี่คือรัฐธรรมนูญ"
 
อาลีบอกว่า เขาได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้วในอินเทอร์เน็ต 
 
"ยกตัวอย่าง พวกเขาบอกว่า ผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชายในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านที่จะขัดแย้งกับกฎหมายศาสนาอิสลาม แต่ในกฎหมายศาสนาอิสลามนั้นอนุญาตให้ผู้ชาย 'สั่งสอน' ผู้หญิงได้ วิธีแบบนี้มันไม่เวิร์คหรอกในสังคม" เขาอธิบายต่อ นักข่าวก็ตามต่อว่า ทำไมถึงไม่ได้ เป็นปัญหาตรงไหน อาลีตอบทันทีว่า วิธีแบบนี้มันน่ารังเกียจ จะให้เขาซ้อมภรรยาปางตาย และมาบอกว่านี่คือการสั่งสอนน่ะรึ 
 
"นี่มันไม่ใช่การสั่งสอนวินัยแล้ว มันคือการทารุณกรรมและความบ้าระห่ำต่างหาก" เขาตอบ
 
"กระบวนการทางการเมืองทั้งหมดนี้มันเป็นโมฆะไปแล้ว ทั้งด้านความนิยมของประชาชนและในทางกฎหมาย พรรคการเมืองบางพรรคเน้นแคมเปญว่าจะเอาศาสนากับการเมืองมาผสมกัน ให้มัสยิดเป็นฐานคะแนนเสียง มีการแจกน้ำตาล น้ำมันทำอาหารให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แล้วก็อะไรพวกนั้นน่ะ" 
 
 

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี