Skip to main content

การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมีนักข่าวจากประเทศต่างๆ ที่ยังประสบปัญหาเรื่องเสรีภาพสื่อหรือความขัดแย้งเข้าร่วมด้วยทั้งหมดราว 19 จากประเทศเช่น รวันดา ไนจีเรีย ปากีสถาน โครเอเชีย บัลแกเรีย ฮังการี โคตดิวอร์ รวมถึงไทยคือข้าพเจ้านั่นเอง เป็นประเทศเดียวจากเอเชียตะวันออกที่มาร่วมคณะ นอกนั้นจะหนักไปทางทวีปแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ ไม่อยากจะบอกเลยว่า คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานข่าวกัน 5 ปีไปจนถึง 20-30ปีแล้วทั้งนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกง่อยเลยทีเดียว 

 

 

 
ในวันแรก เราเข้าร่วมการแถลงข่าวของ Freedom House ที่ Newseum ซึีงเป็นเหมือนกับพิพิธภัณฑ์ 9 ชั้นในวอชิงตันดีซีที่รวบรวมเหตุการณ์และต่างๆนาๆ เกี่ยวกับข่าวและวารสารศาสตร์โดยเฉพาะ การแถลงข่าวครั้งนี้ต้องบอกว่าน่าแปลกใจมากที่เดียว เนื่องจากไทยถูกลดสถานะจาก "เสรีบางส่วน" มาเป็น "ไม่เสรี" เนื่องจากการใช้กฎหมายหมิ่นที่ยังมีต่อเนื่องและอื่นๆ ที่สำคัญคือ เราเป็นประเทศเดียวในเอเชียแปซิฟิกที่ถูกเปลี่ยนสถานะ 
 
หลังจากการแถลงข่าว มี Panel discussion ประกอบด้วยรีน่า ผู้สื่อข่าวจากเอบีซี แจ็คกี้ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของ NPR คาริน ผู้อำนวยการโครงการฟรีดอมเฮาส์ และอเดล นักวิชาการด้านสื่อและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พูดคุยเรื่องสถานการณ์ในทวีปต่างๆ อย่างวิเคราะห์เจาะลึก ที่น่าสนใจคือว่า เมื่อมาถึงเอเชียแปซิฟิก ก็พูดถึงประเทศไทยในฐานะที่มีความเปลี่ยนแปลง (ในทางแย่) ที่ชัดเจนที่สุด แจ็คกี้ ผู้เคยมาทำข่าวในเมืองไทยสิบยี่สิบปีที่แล้ว ก็คอมเมนท์เรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่า เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพสื่อ และก็เล่าจากประสบการณ์ว่า เรื่องสถาบันฯ ในเมืองไทยนั้นเหมือนจะดูซีเรียสและอ่อนไหวสุดๆ สำหรับคนไทย อย่างถ้าคนไทยเดินผ่านรูปในหลวง ก็จะยกมือไหว้ เธอยกมือทำท่าประกอบ "ฉันก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันแต่ดูเหมือนว่าคนที่นั่น take เรื่องนี้ seriously สุดๆ ฉันคิดว่ามันคงจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมอะไรอย่างนี้" แจ็คกี้กล่าว
 
อย่างไรก็ตาม เธอเห็นว่าการที่ศาลเห็นว่ากม.หมิ่นฯ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็เหมือนกับเป็นการสนับสนุนให้ใช้กฎหมายนี้ต่อไป และก็เป็นวิธีที่รัฐบาลใช้ควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ได้เหมือนปิดฝากาน้ำร้อนเอาไว้นั่นแหละ ซึ่งก็น่าแปลกใจสำหรับประเทศที่ในแง่มุมอื่นๆ นั้นดูเหมือนจะเปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตย 
 
อยากจะยกมือคอมเมนท์บ้าง แต่เขาก็พูดกันไปหมดแล้ว หึหึ
 
 
ต่อมาเราได้ไปพบกับ Mike Hammer, เป็น Assistant Secretary ฝ่าย Public Affairs ของกระทรวงต่างประเทศ ก็เล่าถึงว่าโครงการนี้มีที่มาอะไรยังไง โดยสรุปทัวร์สำหรับสื่อต่างประเทศแบบนี้ จัดขึ้นปีละ 4-6 ครั้ง โดยจะมีธีมแต่ล่ะปีที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐในขณะนั้น ที่ผ่านมาก็มีเช่น Women's Empowerment, LGBT, intellectual properties เป็นต้น พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการสื่อสารนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐโดยตรงกับสื่อมวลชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสหรัฐนั่นเอง
 
มีเพื่อนนักข่าวจากโบลิเวียที่ถามเรื่องว่า ถ้าชั้นกลับประเทศไปแล้วโดนตราหน้าว่ามารับเงินรัฐบาลสหรัฐหรือว่าถูกรัฐบาลสหรัฐ "ซื้อตัว" นี่จะทำไงดี เพราะที่บ้านเขาเป็นปรปักษ์กับอเมริกามาก เขาก็บอกว่า มีอย่างนี้หลายกรณีแล้วเหมือนกันที่นักข่าวบอกว่า นี่ๆ ยูอย่าไปบอกใครนะว่าชั้นมา เพราะเดี๋ยวคนที่บ้านหาว่าชั้นมาหาซีไอเออะไรงี้ แต่ก็ไม่รู้จะบอกว่าให้ทำอะไร เรื่องแบบนี้น่าจะใช้วิจารณญาณตัวเองได้ ฮา 
 
 
และสิ่งที่น่าตื่นเต้นของวันนี้ก็เกิดขึ้น ใช่แล้ว มันคือวันเมย์เดย์ ที่ตอนแรกมีคนบอกว่าในดีซีไม่มีเดินขบวนหรอก แต่โดยบังเอิ๊ญบังเอิญ มีสายข่าวส่งมา ข้าพเจ้าเลยหาจนเจอ นอกจากที่นี่จะมีเดินขบวนแล้ว ยังบุกเข้าร้าน GAP, ปะทะกับตำรวจ, ปะทะกับกลุ่ม white supremacist และประท้วงเรื่องคุกกวนตานาโมด้วย มันส์สุดๆ แต่ขอต่อในโพสต์หน้านะ อิอิ 
 

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี