Skip to main content

ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ...


เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’


เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่ทะเล เราต้องรู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราจะไป


ในการออกทะเลเพื่อหาปลา อย่างน้อยๆ คนหาปลาต้องรู้ว่าปลาน่าจะมีอยู่ตรงจุดไหน ฤดูไหน ปลาอะไรที่สามารถจับได้ ฟ้าเป็นสีดำคล้ายจะมีพายุมา สมควรที่จะเอาเรือออกจากฝั่งหรือไม่ นอกจากที่กล่าวมายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ในรายละเอียดเหล่านี้ คนหาปลาอาศัยจดจำมา รวมทั้งเรียนรู้ ทดลองทำ ลองผิดลองดูจนมันถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็นภูมิปัญญา ภูมิความรู้ที่มีอยู่เฉพาะกลุ่มคนหาปลาเท่านั้น


เมื่อพูดถึงภูมิปัญญาเหล่านี้ ในแต่ละพื้นที่ แต่ละแม่น้ำ และท้องทะเลที่แตกต่างกัน ภูมิปัญญาอันเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่น คนหาปลาที่อำเภอจะนะ บางคนยังคงดำรงวิถีของคนหาปลาแบบโบราณคือการดำดิ่งลงสู่ท้องทะเล เพื่อฟังเสียงปลา เมื่อรู้ว่าเสียงมาจากทางไหนก็จะบอกคนที่อยู่บนเรือเหนือผืนน้ำให้นำเรือไปตรงจุดนั้น เพื่อจับเอาปลา


คนหาปลาบึกที่อำเภอเชียงของในอดีตเมื่อราว ๓๐ กว่าปีก่อนยังใช้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมคือการทำห้างเสือตาไฟไว้ริมฝั่งน้ำ เพื่อขึ้นไปนั่งดูว่าปลาบึกอพยพขึ้นมาแล้วหรือยัง การขึ้นไปนั่งสังเกตการอพยพของปลาบึกบนห้างเสือไฟนั้นต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์มิใช่น้อย เพราะคนที่จะขึ้นไปนั่งบนห้างเสือตาไฟต้องแยกแยะให้ได้ว่า ริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่มองเห็นนั้นคือสัญญาณบอกเหตุว่า ปลาบึกกำลังว่ายทวนน้ำขึ้นเหนืออยู่บริเวณริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า


นอกจากจะเอาเรือออกหาปลา หรือแม้แต่ไปวางเครื่องมือหาปลา คนหาปลาก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกตธรรมชาติรอบตัวที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็น


ปลาบึกกับนกนางนวล

คนหาปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ นอกจากจะทำห้างเสือตาไฟ เพื่อคอยดูการอพยพขึ้นมาของปลาบึกแล้ว หลายคนยังเฝ้าสังเกตการอพยพของปลาบึกโดยการเฝ้าดูนกนางนวล หากว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน นกนางนวลโผบินจากทิศใต้สู่ทิศเหนือหรือบินโฉบเฉี่ยวไปมาเหนือดอนแวง นั่นแหละคือนิมิตหมายที่บอกว่า อีกไม่เกิน ๑-๒ วันปลาบึกก็จะขึ้นมา คนจับปลาบึกก็จะเตรียมเรือเตรียมเครื่องมือเพื่อออกจับปลาบึก


ปลากับดอกไม้ ต้นไม้

คนหาปลาในแม่น้ำโขงเคยเล่าให้ฟังว่ามีดอกไม้และต้นไม้อย่างน้อย ๒ ชนิดที่บ่งบอกให้คนหาปลาได้รู้ว่าฤดูกาลอพยพของปลาบางชนิดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ดอกไม้ ๒ ชนิดที่ว่าคือ ดอกซอมพอ (ดอกหางนกยูง) และดอกงิ้ว


คนหาปลาบ้านหาดไคร้เล่าให้ฟังว่า หากวันใดที่ต้นซอมพอออกดอกดางสะพรั่งเต็มริมฝั่งน้ำ นั้นแหละฤดูกาลจับปลาบึกได้เดินทางมาถึงแล้ว


นอกจากจะดูดอกซอมพอแล้วยามใดที่ดอกงิ้วบานอยู่ตามสองฝากฟั่งแม่น้ำโขงแล้ว ก็หมายถึงว่าฤดูหนาวกำลังเดินทางมา และเมื่อวันใดที่ดอกงิ้วโรยราร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นั่นก็หมายความว่า ฝูงปลาสร้อย ปลาบอกได้ว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นมาแล้ว


ปลากับปลา

คนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาด้วยหมายเอาช่วงระยะเวลาของแต่ละเดือนเป็นสำคัญ เช่น ในช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่ปลาแกงอพยพ หลังจากปลาแกงอพยพขึ้นมาได้ระยะหนึ่งก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าต่อจากนี้ไป ปลาเพี้ย ปลาโมงจะตามขึ้นมา ในช่วงที่คนหาปลาจับปลาเพี้ยได้เยอะ นั่นก็หมายความว่าฤดูกาลอพยพของปลาแกงได้สิ้นสุดลงแล้ว


คนหาปลากับคนหาปลา

นอกจากคนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาจากธรรมชาติรอบตัวแล้ว คนหาปลายังได้อาศัยความเป็นคนทำมาหากินในอาชีพเดียวกันสืบข่าวคราวการอพยพของปลาด้วย เช่น เช้านี้คนหาปลาที่เชียงของจับปลาหมูได้เยอะ คนหาปลาบ้านอื่นๆ ที่อยู่เหนือเขตเชียงของขึ้นไปก็จะเริ่มคำนวณแล้วว่าฝูงปลาหมูจะเดินทางมาถึงบ้านตัวเองต้องใช้ระยะเวลากี่วัน เมื่อทราบข้อมูลที่แน่ชัดแล้ว คนหาปลาก็เริ่มเตรียมเครื่องมือ เพื่อรอเวลาในการหาปลา


คนหาปลากับเรด้าที่แม่นพอๆ อย่างตาเห็น

เคยมีเพื่อนในแถบภาคใต้เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เรด้าที่ใช้หาพิกัดของปลา และตำแหน่งแห่งที่ที่ปลาอยู่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนหาปลาในแถบอ่าวไทย และอันดามันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรด้าช่วยชี้เป้าหมายในการลงอวนได้ดีเยี่ยม และไม่เคยพลาดเป้าหมาย


ในวิถีทางของคนหาปลาที่เป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ เราผู้อยู่นอกเหนือภูมิปัญญาความรู้ของคนหาปลาได้แต่ชื่นชมภูมิปัญญาความรู้เหล่านั้น และได้แต่แอบหวังว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาแบบใดขอให้มันอยู่คู่กับคนหาปลาไปนานๆ พอๆ กับขอให้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลได้มีปลาให้คนหาปลาจับไปนานๆ เช่นกัน


ใครละจะกล้าปฏิเสธว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ใช่ภูมิปัญญาที่กินได้....


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…