Skip to main content

ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ...


เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’


เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่ทะเล เราต้องรู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราจะไป


ในการออกทะเลเพื่อหาปลา อย่างน้อยๆ คนหาปลาต้องรู้ว่าปลาน่าจะมีอยู่ตรงจุดไหน ฤดูไหน ปลาอะไรที่สามารถจับได้ ฟ้าเป็นสีดำคล้ายจะมีพายุมา สมควรที่จะเอาเรือออกจากฝั่งหรือไม่ นอกจากที่กล่าวมายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ในรายละเอียดเหล่านี้ คนหาปลาอาศัยจดจำมา รวมทั้งเรียนรู้ ทดลองทำ ลองผิดลองดูจนมันถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็นภูมิปัญญา ภูมิความรู้ที่มีอยู่เฉพาะกลุ่มคนหาปลาเท่านั้น


เมื่อพูดถึงภูมิปัญญาเหล่านี้ ในแต่ละพื้นที่ แต่ละแม่น้ำ และท้องทะเลที่แตกต่างกัน ภูมิปัญญาอันเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่น คนหาปลาที่อำเภอจะนะ บางคนยังคงดำรงวิถีของคนหาปลาแบบโบราณคือการดำดิ่งลงสู่ท้องทะเล เพื่อฟังเสียงปลา เมื่อรู้ว่าเสียงมาจากทางไหนก็จะบอกคนที่อยู่บนเรือเหนือผืนน้ำให้นำเรือไปตรงจุดนั้น เพื่อจับเอาปลา


คนหาปลาบึกที่อำเภอเชียงของในอดีตเมื่อราว ๓๐ กว่าปีก่อนยังใช้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมคือการทำห้างเสือตาไฟไว้ริมฝั่งน้ำ เพื่อขึ้นไปนั่งดูว่าปลาบึกอพยพขึ้นมาแล้วหรือยัง การขึ้นไปนั่งสังเกตการอพยพของปลาบึกบนห้างเสือไฟนั้นต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์มิใช่น้อย เพราะคนที่จะขึ้นไปนั่งบนห้างเสือตาไฟต้องแยกแยะให้ได้ว่า ริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่มองเห็นนั้นคือสัญญาณบอกเหตุว่า ปลาบึกกำลังว่ายทวนน้ำขึ้นเหนืออยู่บริเวณริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า


นอกจากจะเอาเรือออกหาปลา หรือแม้แต่ไปวางเครื่องมือหาปลา คนหาปลาก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกตธรรมชาติรอบตัวที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็น


ปลาบึกกับนกนางนวล

คนหาปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ นอกจากจะทำห้างเสือตาไฟ เพื่อคอยดูการอพยพขึ้นมาของปลาบึกแล้ว หลายคนยังเฝ้าสังเกตการอพยพของปลาบึกโดยการเฝ้าดูนกนางนวล หากว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน นกนางนวลโผบินจากทิศใต้สู่ทิศเหนือหรือบินโฉบเฉี่ยวไปมาเหนือดอนแวง นั่นแหละคือนิมิตหมายที่บอกว่า อีกไม่เกิน ๑-๒ วันปลาบึกก็จะขึ้นมา คนจับปลาบึกก็จะเตรียมเรือเตรียมเครื่องมือเพื่อออกจับปลาบึก


ปลากับดอกไม้ ต้นไม้

คนหาปลาในแม่น้ำโขงเคยเล่าให้ฟังว่ามีดอกไม้และต้นไม้อย่างน้อย ๒ ชนิดที่บ่งบอกให้คนหาปลาได้รู้ว่าฤดูกาลอพยพของปลาบางชนิดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ดอกไม้ ๒ ชนิดที่ว่าคือ ดอกซอมพอ (ดอกหางนกยูง) และดอกงิ้ว


คนหาปลาบ้านหาดไคร้เล่าให้ฟังว่า หากวันใดที่ต้นซอมพอออกดอกดางสะพรั่งเต็มริมฝั่งน้ำ นั้นแหละฤดูกาลจับปลาบึกได้เดินทางมาถึงแล้ว


นอกจากจะดูดอกซอมพอแล้วยามใดที่ดอกงิ้วบานอยู่ตามสองฝากฟั่งแม่น้ำโขงแล้ว ก็หมายถึงว่าฤดูหนาวกำลังเดินทางมา และเมื่อวันใดที่ดอกงิ้วโรยราร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นั่นก็หมายความว่า ฝูงปลาสร้อย ปลาบอกได้ว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นมาแล้ว


ปลากับปลา

คนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาด้วยหมายเอาช่วงระยะเวลาของแต่ละเดือนเป็นสำคัญ เช่น ในช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่ปลาแกงอพยพ หลังจากปลาแกงอพยพขึ้นมาได้ระยะหนึ่งก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าต่อจากนี้ไป ปลาเพี้ย ปลาโมงจะตามขึ้นมา ในช่วงที่คนหาปลาจับปลาเพี้ยได้เยอะ นั่นก็หมายความว่าฤดูกาลอพยพของปลาแกงได้สิ้นสุดลงแล้ว


คนหาปลากับคนหาปลา

นอกจากคนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาจากธรรมชาติรอบตัวแล้ว คนหาปลายังได้อาศัยความเป็นคนทำมาหากินในอาชีพเดียวกันสืบข่าวคราวการอพยพของปลาด้วย เช่น เช้านี้คนหาปลาที่เชียงของจับปลาหมูได้เยอะ คนหาปลาบ้านอื่นๆ ที่อยู่เหนือเขตเชียงของขึ้นไปก็จะเริ่มคำนวณแล้วว่าฝูงปลาหมูจะเดินทางมาถึงบ้านตัวเองต้องใช้ระยะเวลากี่วัน เมื่อทราบข้อมูลที่แน่ชัดแล้ว คนหาปลาก็เริ่มเตรียมเครื่องมือ เพื่อรอเวลาในการหาปลา


คนหาปลากับเรด้าที่แม่นพอๆ อย่างตาเห็น

เคยมีเพื่อนในแถบภาคใต้เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เรด้าที่ใช้หาพิกัดของปลา และตำแหน่งแห่งที่ที่ปลาอยู่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนหาปลาในแถบอ่าวไทย และอันดามันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรด้าช่วยชี้เป้าหมายในการลงอวนได้ดีเยี่ยม และไม่เคยพลาดเป้าหมาย


ในวิถีทางของคนหาปลาที่เป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ เราผู้อยู่นอกเหนือภูมิปัญญาความรู้ของคนหาปลาได้แต่ชื่นชมภูมิปัญญาความรู้เหล่านั้น และได้แต่แอบหวังว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาแบบใดขอให้มันอยู่คู่กับคนหาปลาไปนานๆ พอๆ กับขอให้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลได้มีปลาให้คนหาปลาจับไปนานๆ เช่นกัน


ใครละจะกล้าปฏิเสธว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ใช่ภูมิปัญญาที่กินได้....


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…