Skip to main content

หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟัง

เรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ และคิดเอาเองเป็นวรรคเป็นเวรเสียด้วยอย่างเช่นเรื่องที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

ลุงรัญเล่าให้ฟังว่า “หลังจากประเทศเราได้รัฐบาลใหม่ คนที่ถูกขนานนามว่า รากหญ้ามีความยินดีปรีดาเป็นอย่างมาก เพราะนโยบายเก่าๆ ที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เคยทำไว้จะถูกนำมาสานต่ออีกครั้ง อย่างโครงการเงินล้านก็จะกลับมาอีกครั้ง และนโยบายหลายส่วนคนทั้งประเทศก็จะได้รับผลประโยชน์ อย่างโครงการผันน้ำโขงให้คนในภาคอีสานที่รัฐบาลโดยท่านผู้นำที่หน้าตาไม่ค่อยหล่อแถมพูดไม่เพราะในบางครั้งกำลังตัดสินใจที่จะทำ คนอีสานก็ได้ประโยชน์ เพราะจะได้ทำนากันตลอดปี ที่สำคัญแผ่นดินอีสานที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นดินแดนแห่งความแห้งแล้งก็จะได้ไม่แล้งอีกต่อไป”

นอกจากลุงรัญจะพูดถึงโครงการนี้แล้ว แกยังพูดถึงอีกหลายโครงการของรัฐบาลจนผมนึกว่า แกเป็นโฆษกรัฐบาลที่มีหน้าที่แถลงนโยบายของรัฐบาล หลังนิ่งฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลโดยคนรากหญ้าเสร็จสิ้นลง กับข้าว ๓-๔ อย่างก็ถูกส่งใส่มือ ก่อนออกจากร้านค้ารถเข็ญขวัญใจคนรากหญ้า ผมกลับรู้สึกอิ่มใจจาการฟังครั้งนี้อย่างประหลาด และรู้สึกว่าตัวเองไม่เคยนิ่งฟังอะไรได้นานอย่างนี้มาก่อน

เมื่อกลับมาถึงบ้านกับข้าวก็ถูกนำไปวางไว้บนขันโตกในห้องครัว แล้วผมก็มานั่งครุ่นคิดอะไรบางอย่างตรงม้านั่งนอกบ้าน ผมจะไม่คิดมากเลยหากว่า เรื่องที่ผมได้ยินเป็นเรื่องไกลตัวผม แต่เรื่องที่ผมได้ยินเป็นเรื่องใกล้ตัวผมจนยากที่จะสลัดมันหลุดทิ้งไปได้ อย่างที่ ๑ ในฐานะลูกอีสาน ผมไม่เคยปฏิเสธว่าอีสานไม่แห้งแล้ง และที่สำคัญน้ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคนอีสานมากเช่นกัน แต่ในขณะที่รัฐบาลหลังการรัฐประหาร และดูเหมือนว่า หลังการเลือกตั้งแล้วเสร็จ และได้เป็นแกนนำรัฐบาลสมใจ ท่านผู้นำก็เริ่มเสนอนโยบายใหม่ๆ หลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่ท่านผู้นำย้ำเป็นนักหนาว่า จะต้องทำให้ได้คือ โครงการผันแม่น้ำโขง เพื่อคนอีสาน

หากว่ารัฐบาลใหม่อยู่ครบเทอม (๔ ปี) โครงการนี้อาจดำเนินไปข้างหน้า สิ่งที่เป็นคำถามของผมคือว่า รัฐบาลใหม่จริงใจกับพี่น้องคนอีสานมากน้อยแค่ไหน? ในฐานะคนอีสานคนหนึ่ง ผมกลับคิดว่า รัฐบาลใหม่ไม่ได้มีความจริงใจต่อคนอีสานเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าท่านจะนำเสนอโครงการผันน้ำ เพื่อแผ่นดินอีสานจะได้มีน้ำใช้ และอีสานก็จะไม่แล้งอีกต่อไป คนอีสานจะได้ทำนาทั้งปี ที่สำคัญคนอีสานจะต้องไม่พลัดถิ่นอีกต่อไป อะไรเป็นสาเหตุที่รัฐบาลนี้ไม่มีความจริงใจให้กับคนอีสานในทัศนะของผม

หากมองไปที่นโยบายเรื่องการผันน้ำโขงเพื่อแผ่นดินอีสาน เราจะได้พบว่า มันเป็นเพียงนโยบายที่จงใจหลอกคนอีสานโดยตรง เพราะน้ำโขงที่จะผันมาให้คนอีสานใช้ ซึ่งในทางวิชาการเรียกว่า การผันน้ำระบบท่อ การผันน้ำจากแม่น้ำโขงนั้น รัฐบาลยังคงไม่ได้ศึกษาอย่างแท้จริงว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นกับแม่น้ำโขง และน้ำที่ผันมานั้นคนอีสานผู้เป็นเจ้าของพื้นที่จะได้ใช้ประโยชน์ช่วงไหน อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องทบทวนโครงการนี้ให้ดีคือ วันนี้เรารู้อย่างแท้จริงแล้วหรือยังว่า น้ำโขงที่จะผันมานั้น คุณภาพของน้ำเหมาะสมกับการทำเกษตรในหน้าแล้งแล้วหรือยัง?

การผันน้ำโขงผ่านท่อแล้วนำมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ หากน้ำที่ผันมาเป็นช่วงหน้าฝน สารเคมีในภาคเกษตรที่โดนฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำ เราก็จะได้อ่างเก็บน้ำที่เต็มไปด้วยสารเคมี และน้ำที่นำมาเก็บไว้บนอ่างเก็บน้ำ เพื่อรอการปล่อยน้ำในช่วงหน้าแล้ง น้ำในอ่างเก็บน้ำก็เสี่ยงที่จะมีความเน่าเสีย และนี่คือคำถามอีกข้อหนึ่งว่ารัฐบาลใหม่จริงใจกับคนอีสานมากมายแค่ไหน ท่านถึงกล้าปล่อยน้ำเสียจากการกักเก็บในอ่างมาสู่ไร่นาของคนอีสาน

เราในฐานะคนอีสานเห็นดีเห็นงามกับโครงการนี้แล้วหรือยัง และเราพร้อมที่จะเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงแล้วหรือยัง หากว่าเราพร้อมแล้ว สิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อไปคือ เมื่อเขาปล่อยน้ำไปแล้ว การจัดการน้ำที่ไหลไปตามท่อจะอยู่ในมือของใคร ชาวบ้านคนท้องถิ่นหรือว่าเจ้าหน้าที่รัฐ และงบบริหารจัดการจะมาจากไหน แน่ละสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เมื่อน้ำถูกปล่อยไปสู่ไร่นาของผู้ใด ผู้ใช้น้ำก็จะต้องจ่ายค่าน้ำในจำนวนที่เราใช้ไป และเมื่อเวลานั้นมาถึง พี่น้องชาวอีสานดินแดนที่ราบสูงอันอุดมไปด้วยความแห้งแล้ง เราก็จะได้พบความจริงที่ว่า ‘ในน้ำมีปลา ในนามีมิเตอร์’

คำว่า ‘ของฟรีไม่มีในโลก’ คงเป็นคำพูดที่ใช้ได้จริงเมื่อเวลานั้นมาถึง ในฐานะคนอีสานคนหนึ่งจึงได้แต่เพียงอยากบอกพี่น้องคนอีสานด้วยกันว่า เราจะยอมเป็นเหยื่อของนอมินีกระนั้นหรือ หรือว่าเราจะต้องร้องเพลงถึงเขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก ผมในฐานะลูกอีสานไม่อยากให้พี่น้องคนอีสานต้องเป็นอย่างนั้น และยอมรับชะตากรรมอย่างนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะลุกขึ้นมาบอกท่านผู้นำของเราว่า ‘พอกันทีกับการหลอกลวง และโกหกของท่าน’ และท่านผู้นำเสนอโครงการนี้เสร็จอย่าลืมจับจมูกของตัวเองนะครับว่า มันยาวขึ้นมาเพิ่มเหมือนพิน๊อคคิโอหรือเปล่า...

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’