Skip to main content

สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา


เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’ เป็นคำที่คนลาวใช้เรียกเกาะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง

คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรมอีสาน ไทย อังกฤษโดย ดร. ปรีชา พิณทองตีพิมพ์เมื่อปี พ.. ๒๕๓๒ มีความหมายว่า “น.ร่องน้ำลึกที่น้ำตก แม่น้ำที่มีสันดอนสูง น้ำไหลไปเป็นร่องลึกเรียกว่า คอน ถ้าน้ำไหลไปสองร่องน้ำมีสันดอนอยู่ตรงกลางเรียก ‘สองคอน’ เช่น สองคอนในแม่น้ำโขง ดอนโขงเป็นที่ตั้งของเมืองโขง นอกจากจะเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ยังมีดอนต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญด้วย เช่น ดอนเดช ดอนคอน ดอนสะดำ ดอนสะโฮง

ในแต่ละดอนที่เกิดขึ้น บางดอนก็มีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของเปลือกโลกที่ต่างระดับกัน น้ำตกบางแห่งมีความสูงถึง ๑๕ เมตร น้ำตกที่ขึ้นชื่อที่สุด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือน้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นไนแองการ่าแห่งเอเชีย และน้ำตกสมพะมิด

นอกจากสถานที่ทั้งสองแห่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘หลี่ผี’ ‘หลี่’ หมายถึงเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคใต้ของลาวบริเวณสี่พันดอน ผีหมายถึงคำที่ชาวบ้านทั่วไปใช้เรียก คนตายหรื่อสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ‘หลี่ผี’ ในความหายของคนท้องถิ่นจึงหมายถึงบริเวณหลี่ที่พบศพของคนตาย โดยจะพบมากในช่วงที่ลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วงก่อนปี ๒๕๑๘ หลี่ผีประกอบไปด้วยฮูน้ำฮูเล็กฮูน้อยที่เกิดขึ้นในแต่ละดอน ฮูน้ำ ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญกับคนท้องถิ่นในการใช้เป็นพื้นที่ใส่หลี่หาปลา และนอกจากนั้นฮูน้ำเหล่านี้ยังเป็นเส้นทางผ่านของปลาที่จะว่ายขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ในแม่น้ำโขง

การหาปลาด้วยวิธีการใส่หลี่ของคนท้องถิ่นจึงสัมพันธ์กับการอพยพของปลา โดยในอาณาบริเวณที่เรียกว่าหลี่ผีนั้นมีฮูน้ำทั้งหมด ๒๙ ฮู แต่บางฮูปลาก็ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน้ำที่ไหลเชียว และเป็นน้ำตกที่สูงชันขึ้นไปยังพื้นที่อื่นของสีพันดอนได้ เช่น ฮูน้ำคอนพะเพ็ง ฮูน้ำสมพะมิด แต่บางฮูก็จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น เช่น ฮูสะดำ ส่วนในบางฮูจะมีน้ำตลอดปี และไม่สูงชันปลาก็จะว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นไปได้ เช่นที่ ฮูสะฮอง เป็นต้น

ด้วยความหลากหลายทางพันธุ์ปลาที่จับได้จากหลี่ รายได้ที่เกิดขึ้นจากปลาจึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดพันธุ์ปลา และความต้องการของตลาด กล่าวได้ว่าราคาปลาคนหาปลาสามารถกำหนดความพอใจในราคาขายได้เอง นอกจากคนหาปลาจะเอาปลาไปขายเองแล้ว พ่อค้า แม่ค้าปลายังลงไปรับซื้อถึงหลี่ การรับซื้อก็เป็นการเหมาซื้อตลอดระยะเวลาของการทำหลี่

จากการเดินเตร็ดเตร่ในตลาดเมืองปากเซ และช่องเม็กพบว่า ปลาจำนวนมากที่เดินทางมาจากบ้านนากะสังถูกส่งไปขายตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งภายในในประเทศลาว และปลาบางชนิดมีปลายทางกระจัดกระจายไปสู่ที่อื่นๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และมีปลาบางชนิด เช่น ปลานาง ปลาเพี้ย ปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ ปลายทางของมันอยู่ไกลถึงกรุงเทพมหานคร

ในการขายปลาจะมีทั้งการขายปลาสด ราคาก็จะแตกต่างกันออกไปไม่ได้มีราคาตายตัวแน่นอน นอกจากจะขายปลาสดแล้วยังมีการแปรรูปปลาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ออกมาขายด้วย เช่น ปลาแดก
-ปล้าร้าอัตราการขายจะอยู่ที่เทละประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๑๕๐,๐๐๐ กีบ ราคาปลาร้าก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นปลาร้าปลาพอนเทละ ๑๕๐,๐๐๐ กีบ ขึ้นไป ราคาปลากะเตา (ปลาหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบขึ้นไป ปลาย่างรมควันแยกขายแล้วแต่ละชนิดของปลา ปลาเกล็ดอยู่ที่กิโลกัรมละ ๒๐,๐๐๐ กีบ ปลาหนังอยู่ที่กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบปลาส้มราคากิโลกรัมละ ๑๐,๐๐๐ กีบ ราคาขายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของตลาด เช่นที่บ้านนากระสังขายปลาพรกิโลกรัมละ ๑๕,๐๐๐กีบ ที่ตลาดปากเซจะขายอยู่ที่ ๒๕,๐๐๐ กีบต่อกิโลกรัมหรือมากกว่านั้น ราคาปลาจึงไม่สามารถกำหนดตายตัวได้

คนทำหลี่ผู้มีชีวิตอยู่บนนาน้ำ


เรือหาปลาลำเล็ก ๒ ลำพาเราออกเดินทางจากบ้านนากะสังในตอนบ่าย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คอนซวง ที่นั่นเราจะตามไปดูหลี่ที่เคยไปมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน และที่น่าตื่นเต้นคือวิถีชีวิตของคนทำหลี่ที่คอนซวงถูกถ่ายทอดออกมาผ่านโทนทัศน์ของไทยในรายการคนค้นคน เราจะได้พบคนต้นเรื่องที่คุ้นเคยกันอีกครั้ง

เรือค่อยๆ วิ่งลัดเลาะไปตามแม่น้ำ คนขับเรือกุมหางเสือเรือราวกับคนขับรถผู้ชำนาญทางกุมพวงมาลัยมั่นในมือ หลายคนเมื่อรู้ว่าเส้นทางที่จะไปนั้นน่าหวาดกลัวเพียงใด บางคนก็เริ่มนั่งนิ่งๆ อยู่บนเรือ คงเป็นโชคดีอยู่บ้างที่น้ำเริ่มขึ้นมาบ้าง การบังคับเรือจึงไม่ลำบากนัก ราว ๑ ชั่วโมงเรือก็พาเรามาถึงจุดที่ถือได้ว่าน่ากลัวที่สุด เพราะหากเกิดพลาดแม้แต่นิดเดียว เรือทั้งลำก็จะพุ่งลงเหวที่มีความสูงเท่าตึก ๒ ชั้น

เมื่อความหวาดกลัวเดินทางมาเคาะประตูหัวใจ การยึดกุมเอาแคมเรือด้วยมือทั้งสองข้างไว้มั่นจึงเกิดขึ้น ชั่วยามเช่นนี้แรงเต้นของหัวใจใครบางคนอาจเร็ว และถี่ขึ้น แต่พอเรือเงียบเสียงและจอดสงบนิ่งลง รอยยิ้มจึงปรากฏบนใบหน้าของคนขับเรือ และผู้โดยสาร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเดินทางมายังคอนซวงแห่งนี้ถูกจำกัดโดยความยากในการขับเรือ คอนซวงจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง นอกจากคนที่รู้ใจกันจริงๆ เท่านั้น คนหาปลาที่ทำหลี่อยู่บนคอนซวงจึงจะยอมให้ขึ้นเรือมาด้วย

คอนซวงแห่งนี้เป็นหนึ่งในจำนวนคอนที่มีอยู่มากมายในเขตสี่พันดอน ในแต่ละคอนก็จะมีฮูที่ไม่สูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่วางเครื่องมือหาปลาอันสำคัญของคนท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘ลวงหลี่’ ‘ลวง’ เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกพื้นที่หาปลา มีความสัมพันธ์กับเครื่องมือหาปลาแต่ละชนิด เช่น ลวงมอง ก็ใช้มองอย่างเดียว ลวงเบ็ดก็ใช้เบ็ดอย่างเดียว ลวงปลามีทั้งแบบกรรมสิทธิ์คนเดียว และกรรมสิทธิ์หน้าหมู่
(ส่วนรวม)’

เมื่อเราไปถึงคอนซวง อ้ายใหญ่ผู้เป็นเจ้าของหลี่ได้ชื่อว่าได้ปลาเยอะที่สุดก็ยิ้มต้อนรับ ก่อนจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหลี่ให้นักข่าวจากกรุงเทพฟัง อ้ายใหญ่เริ่มเล่าด้วยสำเนียงคนไทใต้ว่า ฮูน้ำในเขตนี้มีมาก หลี่ก็มีมาก บางฮูน้ำมีหลี่มากกว่า ๑๐ ลวงขึ้นไป ลวงหลี่นี่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่มาบุกเบิก ก็เหมือนคนทำนาบุกเบิกป่าโคกมาเป็นนา คนสมัยก่อนจะมาแสวงหาพื้นที่ในการทำหลี่โดยเลือกเอาฮูน้ำที่มีสภาพไม่สูงชันเป็นที่ทำหลี่ พอคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เสียชีวิต ลวงหลี่ก็จะตกมาเป็นมรดกของลูกหลานต่อไป บางคนที่ไม่ได้ทำก็ให้คนอื่นเช่าทำ ในการเช่าก็จะตกลงกันว่าจะจ่ายเป็นเงินหรือแบ่งปลา แต่ละคนเอาไปจัดการขายเอาเอง ลวงหลี่จะเป็นของใครของมัน คนอื่นไม่สามารถเข้ามาทำแทนได้ นอกจากเจ้าของจะขายสัมปทานให้เท่านั้น ในกรณีที่มีการขายสัมปทานจะเป็นการขายขาดไปเลย เช่น ตกลงกันว่าจะขาย ๓๐
,๐๐๐ บาท ถ้ามีคนมาซื้อ คนทำหลี่คนเก่าก็จะไม่ได้ทำอีกต่อไป แต่ก่อนทำหลี่ไม่ได้เสียภาษีให้รัฐ แต่จะมีการเก็บภาษีเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา อัตราภาษีก็เก็บอยู่ที่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐กีบต่อลวงหลี่หนึ่งที่

อ้ายใหญ่ยังเล่าเพิ่มเติมถึงการทำหลี่ให้ฟังว่า การทำหลี่จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือน ๓
(มีนาคม)ไปจนถึงหลังช่วงปีใหม่ลาวที่ทำในช่วงนี้ เพราะน้ำน้อยสามารถทำหลี่ได้สะดวก การทำหลี่ก็จะเริ่มขึ้นโดยการไปตัดไม้เนื้อแข็งจากป่ามาทำขาหลี่ จากนั้นก็จะใช้วิธีการตอกไม้ลงไปในน้ำให้ลึกที่สุดเพื่อความแข็งแรง แล้วก็ผูกไม้ที่ได้มาเป็นแนวยาวไปตามน้ำกับขาหลี่ และนำหินมาวางเรียงรายกั้นเป็นกำแพง เพื่อกั้นให้ปลาขึ้นไปตามร่องน้ำที่มีอยู่ร่องเดียวด้านหน้าหลี่ การเรียงหินจะเรียงขึ้นให้สูงที่สุด จากนั้นก็จะเอาแพไม้ไผ่ และแตะที่สานแล้วมาวางทับลงไปบนขา และไม้ระแนงที่มัดเป็นคาน โดยการวางไม้จะให้ด้านหนึ่งลาดเอียงลง ส่วนอีกด้านหนึ่งจะทำให้สูงขึ้น กาทำหลี่ต้องทำให้แข็งแรง เพราะน้ำจะแรง ถ้าทำไม่ดีหลี่จะแตกได้

การทำหลี่เราต้องเลือกพื้นที่ตรงมันเป็นแก่งหินหรือไม่ก็มีหินเรียงเป็นแนวขวางลำน้ำ บางแห่งที่เป็นตาดก็ใช้ได้ ตามตาดจะมีวงัน้ำที่ปลามันจะว่ายขึ้นไปพักพาอาศัยก่อนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ปลามันจะเข้าหลี่ เพราะเราทำร่องน้ำให้เหลือร่องเดียว พอน้ำเหลือร่องเดียวน้ำก็จะแรงปลาว่ายขึ้นไปลำบาก พอว่ายขึ้นไปไม่ได้น้ำก็จะตีกลับให้ปลามาค้างบนแตะเป็นแพที่เรามัดไว้กับระแนงอีกที่หนึ่ง

ในช่วงที่ทำหลี่จะเป็นช่วงที่ต้องเกณฑ์ญาติพี่น้องมาช่วยทำ บางครั้งก็จะมีการจ้างแรงงานในหมู่บ้าน แต่การจ้างจะไม่ได้จ้างเฉพาะมาทำหลี่อย่างเดียวจะจ้างมาเฝ้าหลี่และช่วยกันเก็บปลา รวมทั้งแปรรูปลา เช่น ทำปลาร้า ปลากะเต้า
(ปลาขนาดเล็กหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) ถ้าแรงงานน้อยจะทำไม่ทัน เพราะในบางช่วงปลาจะขึ้นหลี่มาก ถ้าทำไม่ทันหลี่จะแตกได้ เพราะปลามันเยอะ มันหนัก การจ้างแรงงานนี่เราจะแบ่งเงินให้ตอนที่น้ำท่วมหลี่ และไม่ได้หาปลาอีก

ส่วนการหาปลาก็จะเริ่มลงไปเฝ้าหลี่ในปลายเดือน ๕
(เมษายน) จนถึงเดือน ๘ (สิงหาคม) หรือบางทีอันนี้แล้วแต่น้ำ ถ้าน้ำท่วมหลี่ก็พอดีน้ำในแม่น้ำโขงเป็นน้ำใหญ่ หลี่ก็จะใช้การไม่ได้ คนทำหลี่ก็จะกลับบ้านไปทำไร่ไถนา พอเราไม่ได้ใช้หลี่แล้ว คนอื่นก็จะมาหาปลาตรงหลี่เราได้ รายได้จากการขายปลานี่ก็ต้องพูดกันเป็นหลัก ๑๐-๒๐ ล้านกีบ หลี่นี่คนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นนาน้ำ เพราะเรามีข้าวกินจากการทำหลี่

ก่อนสิ้นแสงแห่งชีวิตที่ดอนสะฮอง


รถโดยสารพาเราออกเดินทางจากดอนเดชในตอนเช้าโดยมีเป้าหมายอยู่ที่หัวดอนหรือบริเวณที่สิ้นสุดลงของทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ร
.. ๑๑๒ (ช่วง พ..๒๔๒๙) สมัยฝรั่งเศสนักล่าอาณานิคมได้เดินทางมาสำรวจลุ่มแม่น้ำโขง การสำรวจในครั้งนั้นพบอุสรรคที่หนักหนาสำหรับการเดินเรือขนสินค้า เพราะตรงที่คอนพะเพ็งกับสมพะมิดมีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เรือไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านไปได้ เมื่อเห็นว่าแก่งหินเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นจึงตัดสินใจการสร้างท่าเรือ และทางรถไฟขึ้น เมื่อเรือแล่นผ่านมาถึงบริเวณสี่พันดอนก็จะนำเรือไปจอดที่หัวดอนคอนขนถ่ายสินค้าจากเรือมาขึ้นรถไฟที่มีเส้นทางตัดจากหัวดอนเดชไปท้ายคอนคอน ในการสำรวจครั้งนั้นฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะความท้าทายของธรรมชาติได้ ในยาวนี้ผ่านมาหลายปี สะพานอันเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างดอนเดชกับดอนคอนโดยมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางจึงกลายเป็นอารยธรรมที่ผู้รุกรานทิ้งเอาไว้ให้ดูต่างหน้าเวลาคิดถึง

ขณะรถวิ่งไปบนทางรถไฟเก่าเมื่อผ่านจุดแวะเข้าไปชมสมพะมิดกลิ่นผักปู่ย่า
(ผักที่มีลักษณะคล้ายต้นไมยราบยักษ์ แต่มีสีแดง) ก็โชยเข้ามาปะทะจมูก อารมณ์นั้นหลายคนก็คิดถึงแกงหน่อไม้ขึ้นมาทันใด จนต้องตกลงกับคนขับรถว่าขากลับให้จอดรถเก็บผักนี้กลับบ้านพักด้วย บางคนว่าจะเอาผักนี้ไปกินกับก้อยปลา

เมื่อมาถึงท่าเทียบเรือ เพื่อนคนท้องถิ่นผู้เป็นคนนำทางก็ไปติดต่อเรือ เพื่อข้ามไปยังดอนสะฮอง ที่นั้นมีน้องสาวของเพื่อนคนท้องถิ่นรออยู่ การเดินทางในครั้งนี้ ถือว่าไม่ได้ออกนอกเส้นทางเสียทีเดียว เพราะดอนที่เราจะไปอาจไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว แต่ดอนนี้มีความสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของเขตสี่พันดอนในเรื่องปลา เพราะจากการสำรวจของ
Worldfish Centerit ระบุว่า ฮูสะฮองที่มีความยาว ๗ กิโลเมตร กว้าง ๒๐๐ เมตรเป็นฮูเดียวที่ปลาจากทางกัมพูชาจะสามารถขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ของสี่พันดอนได้ง่ายที่สุด เพราะฮูสะฮองไม่มีหน้าผา และไม่มีแก่งหินขนาดใหญ่

แต่เมื่อเราไปถึง และได้พูดคุยกันกับชาวบ้าน เราก็ได้พบความจริงบางอย่างว่า ในตอนนี้ปลาที่ว่ายทวนน้ำเข้ามาในฮูสะฮองนั้นมีน้อยเต็มที เพราะในช่วงที่ทำหลี่เสร็จก็พอดีเป็นช่วงที่บริษัทจากเวียดนามเข้ามาขุดเจาะพื้นที่เพื่อสำรวจในการก่อสร้างเขื่อน พอปลากำลังจะว่ายเข้ามาในฮูสะฮองแล้วมาเจอเสียงเครื่องขุดเจาะ และกลิ่นน้ำมัน ปลาก็ไม่เข้าหลี่ เมื่อปลาไม่เข้าหลี่นาน้ำที่เคยทำเงินให้หลักแสนปลาต่อปีรายได้ก็หายวับไปในอากาศ


ในตอนนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเขื่อนกั้นฮูสะฮองจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่จากข้อมูลของ Worldfish Centerit ก็ได้ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ยังไม่เคยมีโครงการเขื่อนใดในโลกที่สามารถใช้มาตรการการลดผลกระทบด้านการประมงได้เป็นผลสำเร็จ


ก่อนจากลากันและกัน ใครบางคนในคณะเดินทางเลือกซื้อปลาเนื้ออ่อนย่างควันไฟหอมกรุ่นกลับมาทำต้มโคลงปลาเนื้ออ่อนยอดมะขามเป็นเมนูในตอนเย็น เมื่อได้รับรู้เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเดินทางมาสู่ดินแดนแห่งบ้านปลาเมืองปลา ความทรงจำเกี่ยวกับลาวใต้ในครั้งนี้จึงเป็นความทรงจำที่เต็มไปด้วยความหม่นเหงาเศร้าซึม พอๆ กับความหม่นเศร้าของท้องฟ้าเวลาค่ำที่ดูอึมครึมด้วยความมืดดำ...

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…