Skip to main content

สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา


เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’ เป็นคำที่คนลาวใช้เรียกเกาะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง

คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรมอีสาน ไทย อังกฤษโดย ดร. ปรีชา พิณทองตีพิมพ์เมื่อปี พ.. ๒๕๓๒ มีความหมายว่า “น.ร่องน้ำลึกที่น้ำตก แม่น้ำที่มีสันดอนสูง น้ำไหลไปเป็นร่องลึกเรียกว่า คอน ถ้าน้ำไหลไปสองร่องน้ำมีสันดอนอยู่ตรงกลางเรียก ‘สองคอน’ เช่น สองคอนในแม่น้ำโขง ดอนโขงเป็นที่ตั้งของเมืองโขง นอกจากจะเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ยังมีดอนต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญด้วย เช่น ดอนเดช ดอนคอน ดอนสะดำ ดอนสะโฮง

ในแต่ละดอนที่เกิดขึ้น บางดอนก็มีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของเปลือกโลกที่ต่างระดับกัน น้ำตกบางแห่งมีความสูงถึง ๑๕ เมตร น้ำตกที่ขึ้นชื่อที่สุด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือน้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นไนแองการ่าแห่งเอเชีย และน้ำตกสมพะมิด

นอกจากสถานที่ทั้งสองแห่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘หลี่ผี’ ‘หลี่’ หมายถึงเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคใต้ของลาวบริเวณสี่พันดอน ผีหมายถึงคำที่ชาวบ้านทั่วไปใช้เรียก คนตายหรื่อสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ‘หลี่ผี’ ในความหายของคนท้องถิ่นจึงหมายถึงบริเวณหลี่ที่พบศพของคนตาย โดยจะพบมากในช่วงที่ลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วงก่อนปี ๒๕๑๘ หลี่ผีประกอบไปด้วยฮูน้ำฮูเล็กฮูน้อยที่เกิดขึ้นในแต่ละดอน ฮูน้ำ ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญกับคนท้องถิ่นในการใช้เป็นพื้นที่ใส่หลี่หาปลา และนอกจากนั้นฮูน้ำเหล่านี้ยังเป็นเส้นทางผ่านของปลาที่จะว่ายขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ในแม่น้ำโขง

การหาปลาด้วยวิธีการใส่หลี่ของคนท้องถิ่นจึงสัมพันธ์กับการอพยพของปลา โดยในอาณาบริเวณที่เรียกว่าหลี่ผีนั้นมีฮูน้ำทั้งหมด ๒๙ ฮู แต่บางฮูปลาก็ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน้ำที่ไหลเชียว และเป็นน้ำตกที่สูงชันขึ้นไปยังพื้นที่อื่นของสีพันดอนได้ เช่น ฮูน้ำคอนพะเพ็ง ฮูน้ำสมพะมิด แต่บางฮูก็จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น เช่น ฮูสะดำ ส่วนในบางฮูจะมีน้ำตลอดปี และไม่สูงชันปลาก็จะว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นไปได้ เช่นที่ ฮูสะฮอง เป็นต้น

ด้วยความหลากหลายทางพันธุ์ปลาที่จับได้จากหลี่ รายได้ที่เกิดขึ้นจากปลาจึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดพันธุ์ปลา และความต้องการของตลาด กล่าวได้ว่าราคาปลาคนหาปลาสามารถกำหนดความพอใจในราคาขายได้เอง นอกจากคนหาปลาจะเอาปลาไปขายเองแล้ว พ่อค้า แม่ค้าปลายังลงไปรับซื้อถึงหลี่ การรับซื้อก็เป็นการเหมาซื้อตลอดระยะเวลาของการทำหลี่

จากการเดินเตร็ดเตร่ในตลาดเมืองปากเซ และช่องเม็กพบว่า ปลาจำนวนมากที่เดินทางมาจากบ้านนากะสังถูกส่งไปขายตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งภายในในประเทศลาว และปลาบางชนิดมีปลายทางกระจัดกระจายไปสู่ที่อื่นๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และมีปลาบางชนิด เช่น ปลานาง ปลาเพี้ย ปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ ปลายทางของมันอยู่ไกลถึงกรุงเทพมหานคร

ในการขายปลาจะมีทั้งการขายปลาสด ราคาก็จะแตกต่างกันออกไปไม่ได้มีราคาตายตัวแน่นอน นอกจากจะขายปลาสดแล้วยังมีการแปรรูปปลาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ออกมาขายด้วย เช่น ปลาแดก
-ปล้าร้าอัตราการขายจะอยู่ที่เทละประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๑๕๐,๐๐๐ กีบ ราคาปลาร้าก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นปลาร้าปลาพอนเทละ ๑๕๐,๐๐๐ กีบ ขึ้นไป ราคาปลากะเตา (ปลาหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบขึ้นไป ปลาย่างรมควันแยกขายแล้วแต่ละชนิดของปลา ปลาเกล็ดอยู่ที่กิโลกัรมละ ๒๐,๐๐๐ กีบ ปลาหนังอยู่ที่กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบปลาส้มราคากิโลกรัมละ ๑๐,๐๐๐ กีบ ราคาขายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของตลาด เช่นที่บ้านนากระสังขายปลาพรกิโลกรัมละ ๑๕,๐๐๐กีบ ที่ตลาดปากเซจะขายอยู่ที่ ๒๕,๐๐๐ กีบต่อกิโลกรัมหรือมากกว่านั้น ราคาปลาจึงไม่สามารถกำหนดตายตัวได้

คนทำหลี่ผู้มีชีวิตอยู่บนนาน้ำ


เรือหาปลาลำเล็ก ๒ ลำพาเราออกเดินทางจากบ้านนากะสังในตอนบ่าย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คอนซวง ที่นั่นเราจะตามไปดูหลี่ที่เคยไปมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน และที่น่าตื่นเต้นคือวิถีชีวิตของคนทำหลี่ที่คอนซวงถูกถ่ายทอดออกมาผ่านโทนทัศน์ของไทยในรายการคนค้นคน เราจะได้พบคนต้นเรื่องที่คุ้นเคยกันอีกครั้ง

เรือค่อยๆ วิ่งลัดเลาะไปตามแม่น้ำ คนขับเรือกุมหางเสือเรือราวกับคนขับรถผู้ชำนาญทางกุมพวงมาลัยมั่นในมือ หลายคนเมื่อรู้ว่าเส้นทางที่จะไปนั้นน่าหวาดกลัวเพียงใด บางคนก็เริ่มนั่งนิ่งๆ อยู่บนเรือ คงเป็นโชคดีอยู่บ้างที่น้ำเริ่มขึ้นมาบ้าง การบังคับเรือจึงไม่ลำบากนัก ราว ๑ ชั่วโมงเรือก็พาเรามาถึงจุดที่ถือได้ว่าน่ากลัวที่สุด เพราะหากเกิดพลาดแม้แต่นิดเดียว เรือทั้งลำก็จะพุ่งลงเหวที่มีความสูงเท่าตึก ๒ ชั้น

เมื่อความหวาดกลัวเดินทางมาเคาะประตูหัวใจ การยึดกุมเอาแคมเรือด้วยมือทั้งสองข้างไว้มั่นจึงเกิดขึ้น ชั่วยามเช่นนี้แรงเต้นของหัวใจใครบางคนอาจเร็ว และถี่ขึ้น แต่พอเรือเงียบเสียงและจอดสงบนิ่งลง รอยยิ้มจึงปรากฏบนใบหน้าของคนขับเรือ และผู้โดยสาร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเดินทางมายังคอนซวงแห่งนี้ถูกจำกัดโดยความยากในการขับเรือ คอนซวงจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง นอกจากคนที่รู้ใจกันจริงๆ เท่านั้น คนหาปลาที่ทำหลี่อยู่บนคอนซวงจึงจะยอมให้ขึ้นเรือมาด้วย

คอนซวงแห่งนี้เป็นหนึ่งในจำนวนคอนที่มีอยู่มากมายในเขตสี่พันดอน ในแต่ละคอนก็จะมีฮูที่ไม่สูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่วางเครื่องมือหาปลาอันสำคัญของคนท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘ลวงหลี่’ ‘ลวง’ เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกพื้นที่หาปลา มีความสัมพันธ์กับเครื่องมือหาปลาแต่ละชนิด เช่น ลวงมอง ก็ใช้มองอย่างเดียว ลวงเบ็ดก็ใช้เบ็ดอย่างเดียว ลวงปลามีทั้งแบบกรรมสิทธิ์คนเดียว และกรรมสิทธิ์หน้าหมู่
(ส่วนรวม)’

เมื่อเราไปถึงคอนซวง อ้ายใหญ่ผู้เป็นเจ้าของหลี่ได้ชื่อว่าได้ปลาเยอะที่สุดก็ยิ้มต้อนรับ ก่อนจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหลี่ให้นักข่าวจากกรุงเทพฟัง อ้ายใหญ่เริ่มเล่าด้วยสำเนียงคนไทใต้ว่า ฮูน้ำในเขตนี้มีมาก หลี่ก็มีมาก บางฮูน้ำมีหลี่มากกว่า ๑๐ ลวงขึ้นไป ลวงหลี่นี่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่มาบุกเบิก ก็เหมือนคนทำนาบุกเบิกป่าโคกมาเป็นนา คนสมัยก่อนจะมาแสวงหาพื้นที่ในการทำหลี่โดยเลือกเอาฮูน้ำที่มีสภาพไม่สูงชันเป็นที่ทำหลี่ พอคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เสียชีวิต ลวงหลี่ก็จะตกมาเป็นมรดกของลูกหลานต่อไป บางคนที่ไม่ได้ทำก็ให้คนอื่นเช่าทำ ในการเช่าก็จะตกลงกันว่าจะจ่ายเป็นเงินหรือแบ่งปลา แต่ละคนเอาไปจัดการขายเอาเอง ลวงหลี่จะเป็นของใครของมัน คนอื่นไม่สามารถเข้ามาทำแทนได้ นอกจากเจ้าของจะขายสัมปทานให้เท่านั้น ในกรณีที่มีการขายสัมปทานจะเป็นการขายขาดไปเลย เช่น ตกลงกันว่าจะขาย ๓๐
,๐๐๐ บาท ถ้ามีคนมาซื้อ คนทำหลี่คนเก่าก็จะไม่ได้ทำอีกต่อไป แต่ก่อนทำหลี่ไม่ได้เสียภาษีให้รัฐ แต่จะมีการเก็บภาษีเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา อัตราภาษีก็เก็บอยู่ที่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐กีบต่อลวงหลี่หนึ่งที่

อ้ายใหญ่ยังเล่าเพิ่มเติมถึงการทำหลี่ให้ฟังว่า การทำหลี่จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือน ๓
(มีนาคม)ไปจนถึงหลังช่วงปีใหม่ลาวที่ทำในช่วงนี้ เพราะน้ำน้อยสามารถทำหลี่ได้สะดวก การทำหลี่ก็จะเริ่มขึ้นโดยการไปตัดไม้เนื้อแข็งจากป่ามาทำขาหลี่ จากนั้นก็จะใช้วิธีการตอกไม้ลงไปในน้ำให้ลึกที่สุดเพื่อความแข็งแรง แล้วก็ผูกไม้ที่ได้มาเป็นแนวยาวไปตามน้ำกับขาหลี่ และนำหินมาวางเรียงรายกั้นเป็นกำแพง เพื่อกั้นให้ปลาขึ้นไปตามร่องน้ำที่มีอยู่ร่องเดียวด้านหน้าหลี่ การเรียงหินจะเรียงขึ้นให้สูงที่สุด จากนั้นก็จะเอาแพไม้ไผ่ และแตะที่สานแล้วมาวางทับลงไปบนขา และไม้ระแนงที่มัดเป็นคาน โดยการวางไม้จะให้ด้านหนึ่งลาดเอียงลง ส่วนอีกด้านหนึ่งจะทำให้สูงขึ้น กาทำหลี่ต้องทำให้แข็งแรง เพราะน้ำจะแรง ถ้าทำไม่ดีหลี่จะแตกได้

การทำหลี่เราต้องเลือกพื้นที่ตรงมันเป็นแก่งหินหรือไม่ก็มีหินเรียงเป็นแนวขวางลำน้ำ บางแห่งที่เป็นตาดก็ใช้ได้ ตามตาดจะมีวงัน้ำที่ปลามันจะว่ายขึ้นไปพักพาอาศัยก่อนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ปลามันจะเข้าหลี่ เพราะเราทำร่องน้ำให้เหลือร่องเดียว พอน้ำเหลือร่องเดียวน้ำก็จะแรงปลาว่ายขึ้นไปลำบาก พอว่ายขึ้นไปไม่ได้น้ำก็จะตีกลับให้ปลามาค้างบนแตะเป็นแพที่เรามัดไว้กับระแนงอีกที่หนึ่ง

ในช่วงที่ทำหลี่จะเป็นช่วงที่ต้องเกณฑ์ญาติพี่น้องมาช่วยทำ บางครั้งก็จะมีการจ้างแรงงานในหมู่บ้าน แต่การจ้างจะไม่ได้จ้างเฉพาะมาทำหลี่อย่างเดียวจะจ้างมาเฝ้าหลี่และช่วยกันเก็บปลา รวมทั้งแปรรูปลา เช่น ทำปลาร้า ปลากะเต้า
(ปลาขนาดเล็กหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) ถ้าแรงงานน้อยจะทำไม่ทัน เพราะในบางช่วงปลาจะขึ้นหลี่มาก ถ้าทำไม่ทันหลี่จะแตกได้ เพราะปลามันเยอะ มันหนัก การจ้างแรงงานนี่เราจะแบ่งเงินให้ตอนที่น้ำท่วมหลี่ และไม่ได้หาปลาอีก

ส่วนการหาปลาก็จะเริ่มลงไปเฝ้าหลี่ในปลายเดือน ๕
(เมษายน) จนถึงเดือน ๘ (สิงหาคม) หรือบางทีอันนี้แล้วแต่น้ำ ถ้าน้ำท่วมหลี่ก็พอดีน้ำในแม่น้ำโขงเป็นน้ำใหญ่ หลี่ก็จะใช้การไม่ได้ คนทำหลี่ก็จะกลับบ้านไปทำไร่ไถนา พอเราไม่ได้ใช้หลี่แล้ว คนอื่นก็จะมาหาปลาตรงหลี่เราได้ รายได้จากการขายปลานี่ก็ต้องพูดกันเป็นหลัก ๑๐-๒๐ ล้านกีบ หลี่นี่คนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นนาน้ำ เพราะเรามีข้าวกินจากการทำหลี่

ก่อนสิ้นแสงแห่งชีวิตที่ดอนสะฮอง


รถโดยสารพาเราออกเดินทางจากดอนเดชในตอนเช้าโดยมีเป้าหมายอยู่ที่หัวดอนหรือบริเวณที่สิ้นสุดลงของทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ร
.. ๑๑๒ (ช่วง พ..๒๔๒๙) สมัยฝรั่งเศสนักล่าอาณานิคมได้เดินทางมาสำรวจลุ่มแม่น้ำโขง การสำรวจในครั้งนั้นพบอุสรรคที่หนักหนาสำหรับการเดินเรือขนสินค้า เพราะตรงที่คอนพะเพ็งกับสมพะมิดมีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เรือไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านไปได้ เมื่อเห็นว่าแก่งหินเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นจึงตัดสินใจการสร้างท่าเรือ และทางรถไฟขึ้น เมื่อเรือแล่นผ่านมาถึงบริเวณสี่พันดอนก็จะนำเรือไปจอดที่หัวดอนคอนขนถ่ายสินค้าจากเรือมาขึ้นรถไฟที่มีเส้นทางตัดจากหัวดอนเดชไปท้ายคอนคอน ในการสำรวจครั้งนั้นฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะความท้าทายของธรรมชาติได้ ในยาวนี้ผ่านมาหลายปี สะพานอันเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างดอนเดชกับดอนคอนโดยมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางจึงกลายเป็นอารยธรรมที่ผู้รุกรานทิ้งเอาไว้ให้ดูต่างหน้าเวลาคิดถึง

ขณะรถวิ่งไปบนทางรถไฟเก่าเมื่อผ่านจุดแวะเข้าไปชมสมพะมิดกลิ่นผักปู่ย่า
(ผักที่มีลักษณะคล้ายต้นไมยราบยักษ์ แต่มีสีแดง) ก็โชยเข้ามาปะทะจมูก อารมณ์นั้นหลายคนก็คิดถึงแกงหน่อไม้ขึ้นมาทันใด จนต้องตกลงกับคนขับรถว่าขากลับให้จอดรถเก็บผักนี้กลับบ้านพักด้วย บางคนว่าจะเอาผักนี้ไปกินกับก้อยปลา

เมื่อมาถึงท่าเทียบเรือ เพื่อนคนท้องถิ่นผู้เป็นคนนำทางก็ไปติดต่อเรือ เพื่อข้ามไปยังดอนสะฮอง ที่นั้นมีน้องสาวของเพื่อนคนท้องถิ่นรออยู่ การเดินทางในครั้งนี้ ถือว่าไม่ได้ออกนอกเส้นทางเสียทีเดียว เพราะดอนที่เราจะไปอาจไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว แต่ดอนนี้มีความสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของเขตสี่พันดอนในเรื่องปลา เพราะจากการสำรวจของ
Worldfish Centerit ระบุว่า ฮูสะฮองที่มีความยาว ๗ กิโลเมตร กว้าง ๒๐๐ เมตรเป็นฮูเดียวที่ปลาจากทางกัมพูชาจะสามารถขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ของสี่พันดอนได้ง่ายที่สุด เพราะฮูสะฮองไม่มีหน้าผา และไม่มีแก่งหินขนาดใหญ่

แต่เมื่อเราไปถึง และได้พูดคุยกันกับชาวบ้าน เราก็ได้พบความจริงบางอย่างว่า ในตอนนี้ปลาที่ว่ายทวนน้ำเข้ามาในฮูสะฮองนั้นมีน้อยเต็มที เพราะในช่วงที่ทำหลี่เสร็จก็พอดีเป็นช่วงที่บริษัทจากเวียดนามเข้ามาขุดเจาะพื้นที่เพื่อสำรวจในการก่อสร้างเขื่อน พอปลากำลังจะว่ายเข้ามาในฮูสะฮองแล้วมาเจอเสียงเครื่องขุดเจาะ และกลิ่นน้ำมัน ปลาก็ไม่เข้าหลี่ เมื่อปลาไม่เข้าหลี่นาน้ำที่เคยทำเงินให้หลักแสนปลาต่อปีรายได้ก็หายวับไปในอากาศ


ในตอนนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเขื่อนกั้นฮูสะฮองจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่จากข้อมูลของ Worldfish Centerit ก็ได้ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ยังไม่เคยมีโครงการเขื่อนใดในโลกที่สามารถใช้มาตรการการลดผลกระทบด้านการประมงได้เป็นผลสำเร็จ


ก่อนจากลากันและกัน ใครบางคนในคณะเดินทางเลือกซื้อปลาเนื้ออ่อนย่างควันไฟหอมกรุ่นกลับมาทำต้มโคลงปลาเนื้ออ่อนยอดมะขามเป็นเมนูในตอนเย็น เมื่อได้รับรู้เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเดินทางมาสู่ดินแดนแห่งบ้านปลาเมืองปลา ความทรงจำเกี่ยวกับลาวใต้ในครั้งนี้จึงเป็นความทรงจำที่เต็มไปด้วยความหม่นเหงาเศร้าซึม พอๆ กับความหม่นเศร้าของท้องฟ้าเวลาค่ำที่ดูอึมครึมด้วยความมืดดำ...

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…