Skip to main content

จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง)

 

เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’

\\/--break--\>
หลังยุคของการเปลี่ยนแปลงปี ๑๘ งานวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมีหลายชิ้นที่เดินทางมาสู่แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และการเดินทางข้ามพรมแดนอันมีเพียงสายน้ำขวางกั้นมาสู่ความรับรู้ของคนไทยล้วนเป็นงานวรรณกรรมเก่า-ใหม่ที่ถูกถ่ายทอดโดยนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ของลาวมีทั้งคนที่ผ่านการปฏิวัติ บางคนก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์ บางคนก็อยู่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดในงานเขียนมาจากนักเขียนที่อยู่ในขบวนการปฏิวัติเป็นส่วนใหญ่


เมื่อประเทศลาวก้าวเข้าสู่ยุคของการเปิดประเทศ งานเขียนในยุคนี้จึงมีหลายชิ้นที่มีกลิ่นอายของงานเขียนรับใช้พรรค หรือที่เราเรียกกันว่างานเขียนแนวเพื่อชีวิต ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งขาวแม่น้ำโขงในช่วงยุคก่อนเดือนตุลาคมปี ๑๖ และปี ๑๙


ในรอยต่อของยุคสมัยที่กล่าวมา ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เดินทางมาบุกเบิกพรมแดนของการรับรู้ให้กับนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงคือผลงานหลายต่อหลายชิ้นของอุทิน บุนยาวง นอกจากจะมีผลงานของอุทิน บุนยาวงแล้วก็มีผลงานอีกหลายชิ้นของนักเขียนหลายคนตามมาด้วย


หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ฮักแพง ฮักหลายๆ’ อันเป็นงานเขียนของนักเขียนลาวก็ถือว่าเป็นงานเขียนที่รวมผลงานของนักเขียนลาวไว้มากที่สุด และหลากหลายวิธีการในการนำเสนอมากที่สุด แม้ว่ายอดในการขายยังมีไม่มากเท่าที่ควรก็ตามที


นอกจากหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มที่กล่าวมา ภายหลังเมื่อนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดินทางเข้าสู่กระบวนการของรางวัลซีไรต์ ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็แพร่หลายบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และมีผลงานของนักเขียนซีไรต์หลายคนที่ได้รับการกล่าวถึง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะมีรางวัลซีไรต์เป็นเครื่องการันตี ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ไม่ค่อยได้เดินทางมาสู่การรับรู้ของนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นวงกว้างเท่าใดนัก


ขณะที่งานเขียนทางฝั่งลาวแผ่วเบาลงในสายตาของนักอ่านฝั่งไทย แต่แล้วปรากฏการณ์ของเรื่องสั้นซีไรต์ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักอ่านทางฝั่งไทยที่ชื่นชอบวรรณกรรมของทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอยู่ได้ไม่น้อย แม้จะเป็นชั่วลมหายใจขณะหนึ่ง เมื่อผลงานเรื่องสั้นซีไรต์ของบุญเสิน แสงมะณี ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย


เมื่อมองไปที่งานเขียนของบุญเสิน แสงมะณี ถือว่าเขายังเป็นนักเขียนที่คนไทยรับรู้น้อยและผลงานเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของเขาก็ยังมีคนไทยได้อ่านไม่มากนัก


บุญเสิน แสงมะณีได้นำเสนอเรื่องราวอย่างใดไว้ในรวมเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ของเขาจนได้รับรางวัลซีไรต์ในประเภทเรื่องสั้น


หลังจากได้อ่านรวมเรื่องสั้นต้นฉบับภาษาลาวจบลง สิ่งที่ได้รับรู้ในงานเรื่องสั้นชิ้นนี้คือฉากแต่ละฉากที่บุญเสินใช้ในงานเขียนของเขา เพราะฉากของเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ เป็นฉากของกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย เมื่ออ่านไปถึงตอนจบก็ได้รู้ว่าบุญเสินเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ขณะไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ฉากที่เขาใช้ในงานเขียนจึงสมจริงอย่างที่สุด รวมทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละครแต่ละตัว อีกทั้งในการสร้างความขัดแย้งของตัวละครอันถือว่าเป็นปมให้กับตัวละครได้คลี่คลายในตอนจบ เรื่องสั้นใบไม้ใบสุดท้ายถือได้ว่าบุญเสิน แสงมะณีทำได้ดีพอสมควร


แม้ว่างานรวมเรื่องสั้นเรื่องนี้จะได้รับการแปลเป็นภาษาไทยกลับไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะว่านักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้อ่านงานที่ไปไกลกว่าที่จะรับรู้งานเขียนของบ้านใกล้เรือนเคียง แม้จะใกล้กันเพียงสายน้ำกั้นเราก็ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ


รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนนามเอกอุเคยกล่าวไว้ว่า ‘การเดินทางเป็นสายตาของนักเขียน’ ถ้อยคำนี้คงใช้ได้จริงกับงานเขียนชิ้นนี้ และอีกหลายๆ เรื่องในรวมเรื่องสั้นของบุญเสิน แสงมะณี


ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่างานเขียนของนักเขียนลาวจะขายไม่ค่อยได้บนแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง แต่งานเขียนเรื่องสั้นของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ และตามร้านหนังสือยังคงมีงานใหม่ๆ ออกมาประปราย แต่หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ออกมาใหม่ๆ นั้นส่วนมากเป็นของนักเขียนรุ่นเก่า งานเขียนของนักเขียนรุ่นใหม่กลับมีไม่มากนัก


หลังสิ้นยุคงานเขียนใบไม้ใบสุดท้าย และรอบของการประกวดเรื่องสั้นซีไรต์เวียนมาอีกครั้งในวาระครบครอบ ๓๐ ปีรางวัลซีไรต์ งานวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลในปี ๕๑ ก็ตกเป็นของนักเขียนใหม่ แต่ไม่ใหม่ในแวดวงวรรณกรรมลาว เพราะคนที่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นในปีนี้ชื่อ รุ่งอรุณ แดนวิไล กับผลงานเรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’


ปรากฏการณ์เรื่องสั้นซีไรต์ในปีนี้ถือเป็นสิ่งท้าทาย และเป็นสิ่งใหม่สำหรับนักเขียนบนแผ่นดินซ้ายแม่น้ำโขงด้วย เพราะกฏเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการได้ตั้งขึ้นมาใหม่ เช่น งานเขียนที่จะส่งเข้าชิงรางวัลในปีนี้ต้องผ่านการรวมเล่มมาก่อน แม้ว่ากรรมการจะอ่านเรื่องสั้นที่นักเขียนต้องการส่งเพียงเรื่องเดียว (กติกาเก่าคือนักเขียนสามารถส่งเรื่องสั้นของตัวเองเข้าประกวดโดยไม่ต้องมีการรวมเล่ม ส่งเป็นต้นฉบับบนกระดาษเพียงเรื่องเดียว)


ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ มีดีอะไรถึงได้ฝ่าด่านการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ครั้งใหม่ของกรรมการจนก้าวขึ้นรับรางวัล หากมองไปถึงชื่อเสียงของผู้เขียนแล้ว รุ่งอรุณไม่ได้ใหม่ในแวดวงของนักเขียน นักอ่านลาว เพราะเขาคลุกคลีอยู่ในแวดวงวรรณกรรมลาวมายาวนานพอสมควร เนื่องเพราะว่าเขาทำงานอยู่ในวารสารวรรณศิลป์ หนังสืออันเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างนักเขียนและนักอ่านที่ยืนหยัดมานานกว่า ๓๐ ปี


ความต่างของใบไม้ใบสุดท้ายกับซิ่นไหมผืนเก่าๆ นั้นหากเทียบกันแล้ว โดยเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออาจไม่แตกต่างกันมากนัก แต่หากว่าน้ำเสียงในการเล่าเรื่อง ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้แสดงให้เห็นถึงอัตตลักษณ์ของความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง และงานเขียนชิ้นนี้ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่า แม้สังคมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่วิถีชีวิตของผู้คนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปตามจนหลงลืมอัตตลักษณ์ของตัวเอง


งานเขียนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร งานเขียนบนฝั่งแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นอยู่ดุจเดิม คือเป็นงานเขียนที่แสดงถึงความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง แม้จะใช้ฉากของเรื่องแตกต่างออกไปเพียงใดก็ตามที


หากได้อ่านงานเรื่องสั้นทั้งสองเรื่องจบลง ผู้อ่านคงได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารหาผู้อ่าน อารมณ์ที่แสดงออกมาล้วนเป็นอารมณ์แห่งการถวิลหาสิ่งที่สูญหายไปแล้วทั้งจากผู้คน และสังคม


วรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงไม่ได้แตกต่างกับแวดวงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเช่นกัน หากเปรียบการเคลื่อนไหวของวรรณกรรมจากแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงกับลมหายใจของคนเรา มันคงเป็นลมหายใจรวยรินของคนป่วยที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะหายป่วยกลับมาสดใสเช่นเดิมได้อีกครั้งเมื่อใด...


------------------------------------------------------------------------------


บุญเสิน แสงมะณี ในอดีตเขาเป็นทั้งนักศึกษา เป็นทั้งผู้นำนักศึกษาหนุ่ม–สาวลาวที่ศึกษาอยู่ในประเทศรัสเซีย เป็นทั้งนักประพันธ์ลาว และเป็นผู้ก่อตั้งวารสารนักศึกษาลาว บทประพันธ์ของเขาปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ มากมาย


เรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๕ และเป็นเรื่องสั้นที่เขาเขียนขึ้นระหว่างอยู่ในกรุงมอสโค และพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด ’ใบไม้ใบสุดท้าย’


ปี ๑๙๘๐ ยังเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของวารสารวรรณศิลป์

ปี ๑๙๙๔ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของกองทัพประชาชนลาว

รุ่งอรุณ แดนวิไล มีชื่อจริงว่า โอทอง คำอินซู เกิดเมื่อปี ๑๙๖๒ ในครอบครัวชาวนา ที่เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจัน จบปริญญาตรีวิชาวรรณคดี-ภาษาลาว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในปี ๑๙๙๗

ปี ๑๙๘๖ เริ่มมีผลงานทั้งที่เป็นเรื่องสั้น และบทกวีปรากฏตามหน้าวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ

ปี ๑๙๙๓ มีรวมเรื่องสั้นอออกมา ๑ เล่มในชื่อ ’สาวขายยาสูบ’ และบทกวีชื่อ ‘น้ำใจ’


นอกจากนั้นยังมีผลรวมเล่มในรูปแบบต่างทั้งบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก คำกลอนสอนใจ รวม ๒๐ เล่ม

เรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๘ และรวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ลมหายใจที่บ่มีกลิ่นเหล้า’

 

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…