Skip to main content

จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง)

 

เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’

\\/--break--\>
หลังยุคของการเปลี่ยนแปลงปี ๑๘ งานวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมีหลายชิ้นที่เดินทางมาสู่แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และการเดินทางข้ามพรมแดนอันมีเพียงสายน้ำขวางกั้นมาสู่ความรับรู้ของคนไทยล้วนเป็นงานวรรณกรรมเก่า-ใหม่ที่ถูกถ่ายทอดโดยนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ของลาวมีทั้งคนที่ผ่านการปฏิวัติ บางคนก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์ บางคนก็อยู่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดในงานเขียนมาจากนักเขียนที่อยู่ในขบวนการปฏิวัติเป็นส่วนใหญ่


เมื่อประเทศลาวก้าวเข้าสู่ยุคของการเปิดประเทศ งานเขียนในยุคนี้จึงมีหลายชิ้นที่มีกลิ่นอายของงานเขียนรับใช้พรรค หรือที่เราเรียกกันว่างานเขียนแนวเพื่อชีวิต ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งขาวแม่น้ำโขงในช่วงยุคก่อนเดือนตุลาคมปี ๑๖ และปี ๑๙


ในรอยต่อของยุคสมัยที่กล่าวมา ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เดินทางมาบุกเบิกพรมแดนของการรับรู้ให้กับนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงคือผลงานหลายต่อหลายชิ้นของอุทิน บุนยาวง นอกจากจะมีผลงานของอุทิน บุนยาวงแล้วก็มีผลงานอีกหลายชิ้นของนักเขียนหลายคนตามมาด้วย


หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ฮักแพง ฮักหลายๆ’ อันเป็นงานเขียนของนักเขียนลาวก็ถือว่าเป็นงานเขียนที่รวมผลงานของนักเขียนลาวไว้มากที่สุด และหลากหลายวิธีการในการนำเสนอมากที่สุด แม้ว่ายอดในการขายยังมีไม่มากเท่าที่ควรก็ตามที


นอกจากหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มที่กล่าวมา ภายหลังเมื่อนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดินทางเข้าสู่กระบวนการของรางวัลซีไรต์ ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็แพร่หลายบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และมีผลงานของนักเขียนซีไรต์หลายคนที่ได้รับการกล่าวถึง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะมีรางวัลซีไรต์เป็นเครื่องการันตี ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ไม่ค่อยได้เดินทางมาสู่การรับรู้ของนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นวงกว้างเท่าใดนัก


ขณะที่งานเขียนทางฝั่งลาวแผ่วเบาลงในสายตาของนักอ่านฝั่งไทย แต่แล้วปรากฏการณ์ของเรื่องสั้นซีไรต์ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักอ่านทางฝั่งไทยที่ชื่นชอบวรรณกรรมของทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอยู่ได้ไม่น้อย แม้จะเป็นชั่วลมหายใจขณะหนึ่ง เมื่อผลงานเรื่องสั้นซีไรต์ของบุญเสิน แสงมะณี ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย


เมื่อมองไปที่งานเขียนของบุญเสิน แสงมะณี ถือว่าเขายังเป็นนักเขียนที่คนไทยรับรู้น้อยและผลงานเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของเขาก็ยังมีคนไทยได้อ่านไม่มากนัก


บุญเสิน แสงมะณีได้นำเสนอเรื่องราวอย่างใดไว้ในรวมเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ของเขาจนได้รับรางวัลซีไรต์ในประเภทเรื่องสั้น


หลังจากได้อ่านรวมเรื่องสั้นต้นฉบับภาษาลาวจบลง สิ่งที่ได้รับรู้ในงานเรื่องสั้นชิ้นนี้คือฉากแต่ละฉากที่บุญเสินใช้ในงานเขียนของเขา เพราะฉากของเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ เป็นฉากของกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย เมื่ออ่านไปถึงตอนจบก็ได้รู้ว่าบุญเสินเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ขณะไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ฉากที่เขาใช้ในงานเขียนจึงสมจริงอย่างที่สุด รวมทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละครแต่ละตัว อีกทั้งในการสร้างความขัดแย้งของตัวละครอันถือว่าเป็นปมให้กับตัวละครได้คลี่คลายในตอนจบ เรื่องสั้นใบไม้ใบสุดท้ายถือได้ว่าบุญเสิน แสงมะณีทำได้ดีพอสมควร


แม้ว่างานรวมเรื่องสั้นเรื่องนี้จะได้รับการแปลเป็นภาษาไทยกลับไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะว่านักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้อ่านงานที่ไปไกลกว่าที่จะรับรู้งานเขียนของบ้านใกล้เรือนเคียง แม้จะใกล้กันเพียงสายน้ำกั้นเราก็ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ


รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนนามเอกอุเคยกล่าวไว้ว่า ‘การเดินทางเป็นสายตาของนักเขียน’ ถ้อยคำนี้คงใช้ได้จริงกับงานเขียนชิ้นนี้ และอีกหลายๆ เรื่องในรวมเรื่องสั้นของบุญเสิน แสงมะณี


ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่างานเขียนของนักเขียนลาวจะขายไม่ค่อยได้บนแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง แต่งานเขียนเรื่องสั้นของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ และตามร้านหนังสือยังคงมีงานใหม่ๆ ออกมาประปราย แต่หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ออกมาใหม่ๆ นั้นส่วนมากเป็นของนักเขียนรุ่นเก่า งานเขียนของนักเขียนรุ่นใหม่กลับมีไม่มากนัก


หลังสิ้นยุคงานเขียนใบไม้ใบสุดท้าย และรอบของการประกวดเรื่องสั้นซีไรต์เวียนมาอีกครั้งในวาระครบครอบ ๓๐ ปีรางวัลซีไรต์ งานวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลในปี ๕๑ ก็ตกเป็นของนักเขียนใหม่ แต่ไม่ใหม่ในแวดวงวรรณกรรมลาว เพราะคนที่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นในปีนี้ชื่อ รุ่งอรุณ แดนวิไล กับผลงานเรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’


ปรากฏการณ์เรื่องสั้นซีไรต์ในปีนี้ถือเป็นสิ่งท้าทาย และเป็นสิ่งใหม่สำหรับนักเขียนบนแผ่นดินซ้ายแม่น้ำโขงด้วย เพราะกฏเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการได้ตั้งขึ้นมาใหม่ เช่น งานเขียนที่จะส่งเข้าชิงรางวัลในปีนี้ต้องผ่านการรวมเล่มมาก่อน แม้ว่ากรรมการจะอ่านเรื่องสั้นที่นักเขียนต้องการส่งเพียงเรื่องเดียว (กติกาเก่าคือนักเขียนสามารถส่งเรื่องสั้นของตัวเองเข้าประกวดโดยไม่ต้องมีการรวมเล่ม ส่งเป็นต้นฉบับบนกระดาษเพียงเรื่องเดียว)


ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ มีดีอะไรถึงได้ฝ่าด่านการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ครั้งใหม่ของกรรมการจนก้าวขึ้นรับรางวัล หากมองไปถึงชื่อเสียงของผู้เขียนแล้ว รุ่งอรุณไม่ได้ใหม่ในแวดวงของนักเขียน นักอ่านลาว เพราะเขาคลุกคลีอยู่ในแวดวงวรรณกรรมลาวมายาวนานพอสมควร เนื่องเพราะว่าเขาทำงานอยู่ในวารสารวรรณศิลป์ หนังสืออันเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างนักเขียนและนักอ่านที่ยืนหยัดมานานกว่า ๓๐ ปี


ความต่างของใบไม้ใบสุดท้ายกับซิ่นไหมผืนเก่าๆ นั้นหากเทียบกันแล้ว โดยเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออาจไม่แตกต่างกันมากนัก แต่หากว่าน้ำเสียงในการเล่าเรื่อง ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้แสดงให้เห็นถึงอัตตลักษณ์ของความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง และงานเขียนชิ้นนี้ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่า แม้สังคมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่วิถีชีวิตของผู้คนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปตามจนหลงลืมอัตตลักษณ์ของตัวเอง


งานเขียนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร งานเขียนบนฝั่งแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นอยู่ดุจเดิม คือเป็นงานเขียนที่แสดงถึงความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง แม้จะใช้ฉากของเรื่องแตกต่างออกไปเพียงใดก็ตามที


หากได้อ่านงานเรื่องสั้นทั้งสองเรื่องจบลง ผู้อ่านคงได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารหาผู้อ่าน อารมณ์ที่แสดงออกมาล้วนเป็นอารมณ์แห่งการถวิลหาสิ่งที่สูญหายไปแล้วทั้งจากผู้คน และสังคม


วรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงไม่ได้แตกต่างกับแวดวงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเช่นกัน หากเปรียบการเคลื่อนไหวของวรรณกรรมจากแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงกับลมหายใจของคนเรา มันคงเป็นลมหายใจรวยรินของคนป่วยที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะหายป่วยกลับมาสดใสเช่นเดิมได้อีกครั้งเมื่อใด...


------------------------------------------------------------------------------


บุญเสิน แสงมะณี ในอดีตเขาเป็นทั้งนักศึกษา เป็นทั้งผู้นำนักศึกษาหนุ่ม–สาวลาวที่ศึกษาอยู่ในประเทศรัสเซีย เป็นทั้งนักประพันธ์ลาว และเป็นผู้ก่อตั้งวารสารนักศึกษาลาว บทประพันธ์ของเขาปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ มากมาย


เรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๕ และเป็นเรื่องสั้นที่เขาเขียนขึ้นระหว่างอยู่ในกรุงมอสโค และพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด ’ใบไม้ใบสุดท้าย’


ปี ๑๙๘๐ ยังเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของวารสารวรรณศิลป์

ปี ๑๙๙๔ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของกองทัพประชาชนลาว

รุ่งอรุณ แดนวิไล มีชื่อจริงว่า โอทอง คำอินซู เกิดเมื่อปี ๑๙๖๒ ในครอบครัวชาวนา ที่เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจัน จบปริญญาตรีวิชาวรรณคดี-ภาษาลาว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในปี ๑๙๙๗

ปี ๑๙๘๖ เริ่มมีผลงานทั้งที่เป็นเรื่องสั้น และบทกวีปรากฏตามหน้าวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ

ปี ๑๙๙๓ มีรวมเรื่องสั้นอออกมา ๑ เล่มในชื่อ ’สาวขายยาสูบ’ และบทกวีชื่อ ‘น้ำใจ’


นอกจากนั้นยังมีผลรวมเล่มในรูปแบบต่างทั้งบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก คำกลอนสอนใจ รวม ๒๐ เล่ม

เรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๘ และรวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ลมหายใจที่บ่มีกลิ่นเหล้า’

 

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…