Skip to main content

จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง)

 

เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’

\\/--break--\>
หลังยุคของการเปลี่ยนแปลงปี ๑๘ งานวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมีหลายชิ้นที่เดินทางมาสู่แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และการเดินทางข้ามพรมแดนอันมีเพียงสายน้ำขวางกั้นมาสู่ความรับรู้ของคนไทยล้วนเป็นงานวรรณกรรมเก่า-ใหม่ที่ถูกถ่ายทอดโดยนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ของลาวมีทั้งคนที่ผ่านการปฏิวัติ บางคนก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์ บางคนก็อยู่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดในงานเขียนมาจากนักเขียนที่อยู่ในขบวนการปฏิวัติเป็นส่วนใหญ่


เมื่อประเทศลาวก้าวเข้าสู่ยุคของการเปิดประเทศ งานเขียนในยุคนี้จึงมีหลายชิ้นที่มีกลิ่นอายของงานเขียนรับใช้พรรค หรือที่เราเรียกกันว่างานเขียนแนวเพื่อชีวิต ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งขาวแม่น้ำโขงในช่วงยุคก่อนเดือนตุลาคมปี ๑๖ และปี ๑๙


ในรอยต่อของยุคสมัยที่กล่าวมา ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เดินทางมาบุกเบิกพรมแดนของการรับรู้ให้กับนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงคือผลงานหลายต่อหลายชิ้นของอุทิน บุนยาวง นอกจากจะมีผลงานของอุทิน บุนยาวงแล้วก็มีผลงานอีกหลายชิ้นของนักเขียนหลายคนตามมาด้วย


หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ฮักแพง ฮักหลายๆ’ อันเป็นงานเขียนของนักเขียนลาวก็ถือว่าเป็นงานเขียนที่รวมผลงานของนักเขียนลาวไว้มากที่สุด และหลากหลายวิธีการในการนำเสนอมากที่สุด แม้ว่ายอดในการขายยังมีไม่มากเท่าที่ควรก็ตามที


นอกจากหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มที่กล่าวมา ภายหลังเมื่อนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดินทางเข้าสู่กระบวนการของรางวัลซีไรต์ ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็แพร่หลายบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และมีผลงานของนักเขียนซีไรต์หลายคนที่ได้รับการกล่าวถึง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะมีรางวัลซีไรต์เป็นเครื่องการันตี ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ไม่ค่อยได้เดินทางมาสู่การรับรู้ของนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นวงกว้างเท่าใดนัก


ขณะที่งานเขียนทางฝั่งลาวแผ่วเบาลงในสายตาของนักอ่านฝั่งไทย แต่แล้วปรากฏการณ์ของเรื่องสั้นซีไรต์ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักอ่านทางฝั่งไทยที่ชื่นชอบวรรณกรรมของทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอยู่ได้ไม่น้อย แม้จะเป็นชั่วลมหายใจขณะหนึ่ง เมื่อผลงานเรื่องสั้นซีไรต์ของบุญเสิน แสงมะณี ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย


เมื่อมองไปที่งานเขียนของบุญเสิน แสงมะณี ถือว่าเขายังเป็นนักเขียนที่คนไทยรับรู้น้อยและผลงานเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของเขาก็ยังมีคนไทยได้อ่านไม่มากนัก


บุญเสิน แสงมะณีได้นำเสนอเรื่องราวอย่างใดไว้ในรวมเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ของเขาจนได้รับรางวัลซีไรต์ในประเภทเรื่องสั้น


หลังจากได้อ่านรวมเรื่องสั้นต้นฉบับภาษาลาวจบลง สิ่งที่ได้รับรู้ในงานเรื่องสั้นชิ้นนี้คือฉากแต่ละฉากที่บุญเสินใช้ในงานเขียนของเขา เพราะฉากของเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ เป็นฉากของกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย เมื่ออ่านไปถึงตอนจบก็ได้รู้ว่าบุญเสินเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ขณะไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ฉากที่เขาใช้ในงานเขียนจึงสมจริงอย่างที่สุด รวมทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละครแต่ละตัว อีกทั้งในการสร้างความขัดแย้งของตัวละครอันถือว่าเป็นปมให้กับตัวละครได้คลี่คลายในตอนจบ เรื่องสั้นใบไม้ใบสุดท้ายถือได้ว่าบุญเสิน แสงมะณีทำได้ดีพอสมควร


แม้ว่างานรวมเรื่องสั้นเรื่องนี้จะได้รับการแปลเป็นภาษาไทยกลับไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะว่านักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้อ่านงานที่ไปไกลกว่าที่จะรับรู้งานเขียนของบ้านใกล้เรือนเคียง แม้จะใกล้กันเพียงสายน้ำกั้นเราก็ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ


รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนนามเอกอุเคยกล่าวไว้ว่า ‘การเดินทางเป็นสายตาของนักเขียน’ ถ้อยคำนี้คงใช้ได้จริงกับงานเขียนชิ้นนี้ และอีกหลายๆ เรื่องในรวมเรื่องสั้นของบุญเสิน แสงมะณี


ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่างานเขียนของนักเขียนลาวจะขายไม่ค่อยได้บนแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง แต่งานเขียนเรื่องสั้นของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ และตามร้านหนังสือยังคงมีงานใหม่ๆ ออกมาประปราย แต่หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ออกมาใหม่ๆ นั้นส่วนมากเป็นของนักเขียนรุ่นเก่า งานเขียนของนักเขียนรุ่นใหม่กลับมีไม่มากนัก


หลังสิ้นยุคงานเขียนใบไม้ใบสุดท้าย และรอบของการประกวดเรื่องสั้นซีไรต์เวียนมาอีกครั้งในวาระครบครอบ ๓๐ ปีรางวัลซีไรต์ งานวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลในปี ๕๑ ก็ตกเป็นของนักเขียนใหม่ แต่ไม่ใหม่ในแวดวงวรรณกรรมลาว เพราะคนที่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นในปีนี้ชื่อ รุ่งอรุณ แดนวิไล กับผลงานเรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’


ปรากฏการณ์เรื่องสั้นซีไรต์ในปีนี้ถือเป็นสิ่งท้าทาย และเป็นสิ่งใหม่สำหรับนักเขียนบนแผ่นดินซ้ายแม่น้ำโขงด้วย เพราะกฏเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการได้ตั้งขึ้นมาใหม่ เช่น งานเขียนที่จะส่งเข้าชิงรางวัลในปีนี้ต้องผ่านการรวมเล่มมาก่อน แม้ว่ากรรมการจะอ่านเรื่องสั้นที่นักเขียนต้องการส่งเพียงเรื่องเดียว (กติกาเก่าคือนักเขียนสามารถส่งเรื่องสั้นของตัวเองเข้าประกวดโดยไม่ต้องมีการรวมเล่ม ส่งเป็นต้นฉบับบนกระดาษเพียงเรื่องเดียว)


ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ มีดีอะไรถึงได้ฝ่าด่านการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ครั้งใหม่ของกรรมการจนก้าวขึ้นรับรางวัล หากมองไปถึงชื่อเสียงของผู้เขียนแล้ว รุ่งอรุณไม่ได้ใหม่ในแวดวงของนักเขียน นักอ่านลาว เพราะเขาคลุกคลีอยู่ในแวดวงวรรณกรรมลาวมายาวนานพอสมควร เนื่องเพราะว่าเขาทำงานอยู่ในวารสารวรรณศิลป์ หนังสืออันเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างนักเขียนและนักอ่านที่ยืนหยัดมานานกว่า ๓๐ ปี


ความต่างของใบไม้ใบสุดท้ายกับซิ่นไหมผืนเก่าๆ นั้นหากเทียบกันแล้ว โดยเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออาจไม่แตกต่างกันมากนัก แต่หากว่าน้ำเสียงในการเล่าเรื่อง ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้แสดงให้เห็นถึงอัตตลักษณ์ของความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง และงานเขียนชิ้นนี้ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่า แม้สังคมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่วิถีชีวิตของผู้คนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปตามจนหลงลืมอัตตลักษณ์ของตัวเอง


งานเขียนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร งานเขียนบนฝั่งแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นอยู่ดุจเดิม คือเป็นงานเขียนที่แสดงถึงความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง แม้จะใช้ฉากของเรื่องแตกต่างออกไปเพียงใดก็ตามที


หากได้อ่านงานเรื่องสั้นทั้งสองเรื่องจบลง ผู้อ่านคงได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารหาผู้อ่าน อารมณ์ที่แสดงออกมาล้วนเป็นอารมณ์แห่งการถวิลหาสิ่งที่สูญหายไปแล้วทั้งจากผู้คน และสังคม


วรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงไม่ได้แตกต่างกับแวดวงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเช่นกัน หากเปรียบการเคลื่อนไหวของวรรณกรรมจากแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงกับลมหายใจของคนเรา มันคงเป็นลมหายใจรวยรินของคนป่วยที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะหายป่วยกลับมาสดใสเช่นเดิมได้อีกครั้งเมื่อใด...


------------------------------------------------------------------------------


บุญเสิน แสงมะณี ในอดีตเขาเป็นทั้งนักศึกษา เป็นทั้งผู้นำนักศึกษาหนุ่ม–สาวลาวที่ศึกษาอยู่ในประเทศรัสเซีย เป็นทั้งนักประพันธ์ลาว และเป็นผู้ก่อตั้งวารสารนักศึกษาลาว บทประพันธ์ของเขาปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ มากมาย


เรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๕ และเป็นเรื่องสั้นที่เขาเขียนขึ้นระหว่างอยู่ในกรุงมอสโค และพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด ’ใบไม้ใบสุดท้าย’


ปี ๑๙๘๐ ยังเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของวารสารวรรณศิลป์

ปี ๑๙๙๔ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของกองทัพประชาชนลาว

รุ่งอรุณ แดนวิไล มีชื่อจริงว่า โอทอง คำอินซู เกิดเมื่อปี ๑๙๖๒ ในครอบครัวชาวนา ที่เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจัน จบปริญญาตรีวิชาวรรณคดี-ภาษาลาว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในปี ๑๙๙๗

ปี ๑๙๘๖ เริ่มมีผลงานทั้งที่เป็นเรื่องสั้น และบทกวีปรากฏตามหน้าวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ

ปี ๑๙๙๓ มีรวมเรื่องสั้นอออกมา ๑ เล่มในชื่อ ’สาวขายยาสูบ’ และบทกวีชื่อ ‘น้ำใจ’


นอกจากนั้นยังมีผลรวมเล่มในรูปแบบต่างทั้งบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก คำกลอนสอนใจ รวม ๒๐ เล่ม

เรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๘ และรวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ลมหายใจที่บ่มีกลิ่นเหล้า’

 

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…