Skip to main content

จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง)

 

เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’

\\/--break--\>
หลังยุคของการเปลี่ยนแปลงปี ๑๘ งานวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมีหลายชิ้นที่เดินทางมาสู่แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และการเดินทางข้ามพรมแดนอันมีเพียงสายน้ำขวางกั้นมาสู่ความรับรู้ของคนไทยล้วนเป็นงานวรรณกรรมเก่า-ใหม่ที่ถูกถ่ายทอดโดยนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ของลาวมีทั้งคนที่ผ่านการปฏิวัติ บางคนก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์ บางคนก็อยู่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดในงานเขียนมาจากนักเขียนที่อยู่ในขบวนการปฏิวัติเป็นส่วนใหญ่


เมื่อประเทศลาวก้าวเข้าสู่ยุคของการเปิดประเทศ งานเขียนในยุคนี้จึงมีหลายชิ้นที่มีกลิ่นอายของงานเขียนรับใช้พรรค หรือที่เราเรียกกันว่างานเขียนแนวเพื่อชีวิต ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งขาวแม่น้ำโขงในช่วงยุคก่อนเดือนตุลาคมปี ๑๖ และปี ๑๙


ในรอยต่อของยุคสมัยที่กล่าวมา ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เดินทางมาบุกเบิกพรมแดนของการรับรู้ให้กับนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงคือผลงานหลายต่อหลายชิ้นของอุทิน บุนยาวง นอกจากจะมีผลงานของอุทิน บุนยาวงแล้วก็มีผลงานอีกหลายชิ้นของนักเขียนหลายคนตามมาด้วย


หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ฮักแพง ฮักหลายๆ’ อันเป็นงานเขียนของนักเขียนลาวก็ถือว่าเป็นงานเขียนที่รวมผลงานของนักเขียนลาวไว้มากที่สุด และหลากหลายวิธีการในการนำเสนอมากที่สุด แม้ว่ายอดในการขายยังมีไม่มากเท่าที่ควรก็ตามที


นอกจากหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มที่กล่าวมา ภายหลังเมื่อนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดินทางเข้าสู่กระบวนการของรางวัลซีไรต์ ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็แพร่หลายบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขง และมีผลงานของนักเขียนซีไรต์หลายคนที่ได้รับการกล่าวถึง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะมีรางวัลซีไรต์เป็นเครื่องการันตี ผลงานของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ไม่ค่อยได้เดินทางมาสู่การรับรู้ของนักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นวงกว้างเท่าใดนัก


ขณะที่งานเขียนทางฝั่งลาวแผ่วเบาลงในสายตาของนักอ่านฝั่งไทย แต่แล้วปรากฏการณ์ของเรื่องสั้นซีไรต์ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักอ่านทางฝั่งไทยที่ชื่นชอบวรรณกรรมของทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอยู่ได้ไม่น้อย แม้จะเป็นชั่วลมหายใจขณะหนึ่ง เมื่อผลงานเรื่องสั้นซีไรต์ของบุญเสิน แสงมะณี ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย


เมื่อมองไปที่งานเขียนของบุญเสิน แสงมะณี ถือว่าเขายังเป็นนักเขียนที่คนไทยรับรู้น้อยและผลงานเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของเขาก็ยังมีคนไทยได้อ่านไม่มากนัก


บุญเสิน แสงมะณีได้นำเสนอเรื่องราวอย่างใดไว้ในรวมเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ของเขาจนได้รับรางวัลซีไรต์ในประเภทเรื่องสั้น


หลังจากได้อ่านรวมเรื่องสั้นต้นฉบับภาษาลาวจบลง สิ่งที่ได้รับรู้ในงานเรื่องสั้นชิ้นนี้คือฉากแต่ละฉากที่บุญเสินใช้ในงานเขียนของเขา เพราะฉากของเรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ เป็นฉากของกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย เมื่ออ่านไปถึงตอนจบก็ได้รู้ว่าบุญเสินเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ขณะไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ฉากที่เขาใช้ในงานเขียนจึงสมจริงอย่างที่สุด รวมทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละครแต่ละตัว อีกทั้งในการสร้างความขัดแย้งของตัวละครอันถือว่าเป็นปมให้กับตัวละครได้คลี่คลายในตอนจบ เรื่องสั้นใบไม้ใบสุดท้ายถือได้ว่าบุญเสิน แสงมะณีทำได้ดีพอสมควร


แม้ว่างานรวมเรื่องสั้นเรื่องนี้จะได้รับการแปลเป็นภาษาไทยกลับไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะว่านักอ่านบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้อ่านงานที่ไปไกลกว่าที่จะรับรู้งานเขียนของบ้านใกล้เรือนเคียง แม้จะใกล้กันเพียงสายน้ำกั้นเราก็ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ


รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนนามเอกอุเคยกล่าวไว้ว่า ‘การเดินทางเป็นสายตาของนักเขียน’ ถ้อยคำนี้คงใช้ได้จริงกับงานเขียนชิ้นนี้ และอีกหลายๆ เรื่องในรวมเรื่องสั้นของบุญเสิน แสงมะณี


ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่างานเขียนของนักเขียนลาวจะขายไม่ค่อยได้บนแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง แต่งานเขียนเรื่องสั้นของนักเขียนบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ และตามร้านหนังสือยังคงมีงานใหม่ๆ ออกมาประปราย แต่หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ออกมาใหม่ๆ นั้นส่วนมากเป็นของนักเขียนรุ่นเก่า งานเขียนของนักเขียนรุ่นใหม่กลับมีไม่มากนัก


หลังสิ้นยุคงานเขียนใบไม้ใบสุดท้าย และรอบของการประกวดเรื่องสั้นซีไรต์เวียนมาอีกครั้งในวาระครบครอบ ๓๐ ปีรางวัลซีไรต์ งานวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลในปี ๕๑ ก็ตกเป็นของนักเขียนใหม่ แต่ไม่ใหม่ในแวดวงวรรณกรรมลาว เพราะคนที่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นในปีนี้ชื่อ รุ่งอรุณ แดนวิไล กับผลงานเรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’


ปรากฏการณ์เรื่องสั้นซีไรต์ในปีนี้ถือเป็นสิ่งท้าทาย และเป็นสิ่งใหม่สำหรับนักเขียนบนแผ่นดินซ้ายแม่น้ำโขงด้วย เพราะกฏเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการได้ตั้งขึ้นมาใหม่ เช่น งานเขียนที่จะส่งเข้าชิงรางวัลในปีนี้ต้องผ่านการรวมเล่มมาก่อน แม้ว่ากรรมการจะอ่านเรื่องสั้นที่นักเขียนต้องการส่งเพียงเรื่องเดียว (กติกาเก่าคือนักเขียนสามารถส่งเรื่องสั้นของตัวเองเข้าประกวดโดยไม่ต้องมีการรวมเล่ม ส่งเป็นต้นฉบับบนกระดาษเพียงเรื่องเดียว)


ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ มีดีอะไรถึงได้ฝ่าด่านการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ครั้งใหม่ของกรรมการจนก้าวขึ้นรับรางวัล หากมองไปถึงชื่อเสียงของผู้เขียนแล้ว รุ่งอรุณไม่ได้ใหม่ในแวดวงของนักเขียน นักอ่านลาว เพราะเขาคลุกคลีอยู่ในแวดวงวรรณกรรมลาวมายาวนานพอสมควร เนื่องเพราะว่าเขาทำงานอยู่ในวารสารวรรณศิลป์ หนังสืออันเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างนักเขียนและนักอ่านที่ยืนหยัดมานานกว่า ๓๐ ปี


ความต่างของใบไม้ใบสุดท้ายกับซิ่นไหมผืนเก่าๆ นั้นหากเทียบกันแล้ว โดยเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออาจไม่แตกต่างกันมากนัก แต่หากว่าน้ำเสียงในการเล่าเรื่อง ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้แสดงให้เห็นถึงอัตตลักษณ์ของความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง และงานเขียนชิ้นนี้ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่า แม้สังคมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่วิถีชีวิตของผู้คนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปตามจนหลงลืมอัตตลักษณ์ของตัวเอง


งานเขียนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร งานเขียนบนฝั่งแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นอยู่ดุจเดิม คือเป็นงานเขียนที่แสดงถึงความเป็นชนชาติลาวอย่างแท้จริง แม้จะใช้ฉากของเรื่องแตกต่างออกไปเพียงใดก็ตามที


หากได้อ่านงานเรื่องสั้นทั้งสองเรื่องจบลง ผู้อ่านคงได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารหาผู้อ่าน อารมณ์ที่แสดงออกมาล้วนเป็นอารมณ์แห่งการถวิลหาสิ่งที่สูญหายไปแล้วทั้งจากผู้คน และสังคม


วรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงไม่ได้แตกต่างกับแวดวงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงเช่นกัน หากเปรียบการเคลื่อนไหวของวรรณกรรมจากแผ่นดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงกับลมหายใจของคนเรา มันคงเป็นลมหายใจรวยรินของคนป่วยที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะหายป่วยกลับมาสดใสเช่นเดิมได้อีกครั้งเมื่อใด...


------------------------------------------------------------------------------


บุญเสิน แสงมะณี ในอดีตเขาเป็นทั้งนักศึกษา เป็นทั้งผู้นำนักศึกษาหนุ่ม–สาวลาวที่ศึกษาอยู่ในประเทศรัสเซีย เป็นทั้งนักประพันธ์ลาว และเป็นผู้ก่อตั้งวารสารนักศึกษาลาว บทประพันธ์ของเขาปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ มากมาย


เรื่องสั้น ‘ใบไม้ใบสุดท้าย’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๕ และเป็นเรื่องสั้นที่เขาเขียนขึ้นระหว่างอยู่ในกรุงมอสโค และพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด ’ใบไม้ใบสุดท้าย’


ปี ๑๙๘๐ ยังเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของวารสารวรรณศิลป์

ปี ๑๙๙๔ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นของกองทัพประชาชนลาว

รุ่งอรุณ แดนวิไล มีชื่อจริงว่า โอทอง คำอินซู เกิดเมื่อปี ๑๙๖๒ ในครอบครัวชาวนา ที่เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจัน จบปริญญาตรีวิชาวรรณคดี-ภาษาลาว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในปี ๑๙๙๗

ปี ๑๙๘๖ เริ่มมีผลงานทั้งที่เป็นเรื่องสั้น และบทกวีปรากฏตามหน้าวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ

ปี ๑๙๙๓ มีรวมเรื่องสั้นอออกมา ๑ เล่มในชื่อ ’สาวขายยาสูบ’ และบทกวีชื่อ ‘น้ำใจ’


นอกจากนั้นยังมีผลรวมเล่มในรูปแบบต่างทั้งบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก คำกลอนสอนใจ รวม ๒๐ เล่ม

เรื่องสั้น ‘ซิ่นไหมผืนเก่าๆ’ ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี ๒๐๐๘ และรวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘ลมหายใจที่บ่มีกลิ่นเหล้า’

 

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…