Skip to main content

20080327 ภาพประกอบ 1

พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้น

ในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน ทั้ง ๒ คนเป็นล่ามแปลภาษาของกันและกัน ถัดจากพวกเราไปเป็นหญิงชราวัย ๖๓ หญิงชรามีหน้าที่พายเรือ การพายเรือของหญิงชราแปลกแปร่งไปจากที่เคยเห็น เพราะแกใช้ตีนทั้งสองข้างในการถีบไม้พายที่ผูกติดเอาไว้กับกราบเรือ คงไม่ผิดแปลกอันใดที่จะกล่าวว่า เรือมุ่งไปข้างหน้าด้วยแรงเฉื่อยของตีนคน

ผมเก็บความสงสัยเอาไว้ไม่อยู่จึงตัดสินใจถามผ่านล่ามว่าด้วยเหตุผลกลใด หญิงชราจึงใช้ตีนทั้งสองข้างพายเรือ คำตอบที่ได้รับกลับมาคือ ตีนมีแรงมากกว่ามือ และมือก็ต้องเอาไว้ใช้เก็บกู้กุบ (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) ที่จมอยู่ในน้ำ

ขณะเราลอยเรืออยู่เหนือสายน้ำ เวลาก็ล่วงเลยไปเกือบบ่าย ๒ แต่บนฟ้าเฆมยังคงมืดครึ้ม และฝนก็ยังโปรยสายลงมาบางเบา ในม่านฝน เรือบรรทุกทรายลำใหญ่หลายลำกำลังเร่งเครื่องเพื่อทวนน้ำขึ้นไปทางตอนเหนือของแม่น้ำ ในเรือลำใหญ่บรรทุกทรายจนปริ่มกราบเรือ ทรายจากริมฝั่งแม่น้ำถูกนำไปใช้ในกิจการก่อสร้าง เมื่อเรือลำใหญ่วิ่งผ่าน ชายชราก็จะโยนก้อนหินลงน้ำ นัยว่าเพื่อถ่วงเรือเอาไว้

20080227 ภาพประกอบ 2

หลายปีมาแล้วที่เรือใหญ่วิ่งเต็มแม่น้ำ แต่เรือลำเล็กเช่นเรือหาปลาของพ่อเฒ่ากลับค่อยๆ หายไปจากแม่น้ำ คล้ายว่าคลื่นจากเรือใหญ่ได้โถมซัดคนหาปลาเช่นพ่อเฒ่าคนแล้วคนเล่าให้กลับคืนสู่ฝั่ง

ย้อนหลังไปเมื่อ ๕๑ ปีก่อน เรือใหญ่เล่านี้ยังไม่มีมากมาย แต่ผิดกับเรือหาปลาลำเล็ก เมื่อ ๕๑ ปีก่อนเรือหาปลาเหล่านี้มีมากจนเต็มแม่น้ำ หลังจากนโยบายของรัฐที่ให้คนน้ำคืนฝั่ง เพื่อลงหลักปักฐานสร้างชีวิต เรือลำเล็กก็ค่อยๆ หายไป แต่นั่นใช่ว่าจะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้คน และเรือลำเล็กหายไปจากแม่น้ำเกือบหมด สิ่งที่ทำให้ผู้คนบนเรือลำเล็กหายไปจนเกือบหมดคือคลื่นของความเปลี่ยนแปลงอันมาพร้อมกับผู้คนที่มากขึ้นนั่นเอง

เมื่อ ๕๑ ปีก่อน และก่อนหน้านั้นไปอีกหลายปี พ่อเฒ่าฟาน ดิน กันยังเป็นหนุ่มแข็งแรงใช้ตีนพายเรือขึ้นเหนือล่องใต้ไปตามแม่น้ำมาแล้วชั่วเจ็ดย่านน้ำ จะมีบ้างในบ้างปีที่ต้องจอดเรือลอยลำหลบหลีกกระสุนปืนของสงคราม หลังสงครามยุติพ่อเฒ่าก็เอาตีนพายเรือต่อไป

พ่อเฒ่าเล่าให้ผมฟังว่า ในชั่วกว่า ๖๐ ปีของชีวิต พ่อเฒ่าต้องเผชิญเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่พ่อเฒ่าก็ผ่านมันมาได้ แต่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดนี่เองที่พ่อเฒ่าต้องเพ่งพินิจถึงมันด้วยความหวาดกลัว

แต่พ่อเฒ่าก็ยังใจดีบอกว่า “แล้วเราก็จะผ่านมันไปได้”
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เกิดขึ้นกับพ่อเฒ่าเพียงอย่างเดียว แต่มันเกิดขึ้นกับแม่น้ำที่พ่อเฒ่าได้อาศัยพึ่งพามาเกือบทั้งชีวิต

พ่อเฒ่าเล่าให้ฟังว่า หลังจากประเทศเดินทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ดีมากขึ้น ผู้คนในประเทศก็เริ่มสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือนของตัวเอง แต่คนในหมู่บ้านทีรอานไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเรายังอาศัยอยู่ในเรือ และล่องเรือไปตามแม่น้ำแดงเพื่อหาปลา เราไม่เคยอยู่บนฝั่ง แต่พอทางรัฐให้ขึ้นไปอยู่บนฝั่งโดยการให้เราซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสร้าง และทำมาหากิน พวกเราก็ไม่สนที่จะทำ เพราะต่างคิดว่าหาปลาอย่างเดียวก็อยู่ได้ อยู่ในน้ำก็ได้ไม่ต้องขึ้นฝั่ง ภายหลังเมื่อเขื่อนหัวบินถูกสร้างบนแม่น้ำในปี ๑๙๗๘ แล้วเสร็จและทำการกักเก็บน้ำในปี ๑๙๘๕ ระบบนิเวศของแม่น้ำก็เปลี่ยนแปลงไป น้ำน้อยลงกว่าเดิม คนหาปลาที่เร่ร่อนบนเรือหาปลา มีเรือเป็นบ้าน มีน้ำเป็นที่ดิน เกือบ ๓๐๐ คนที่หาปลาเป็นอาชีพก็หาปลาได้น้อยลง สาเหตุที่หาปลาได้น้อยลง เพราะคนบางกลุ่มที่ไม่ใช่คนหาปลาเป็นอาชีพก็นำเครื่องมือที่ทำลายล้างมาใช้ในแม่น้ำ เช่น นำไฟฟ้ามาช๊อตปลา เมื่อปลาถูกช๊อตมันก็เป็นหมันขยายพันธุ์ไม่ดีอีกต่อไป เมื่อปลาขยายพันธ์ไม่ได้ ปลาที่เคยมีในแม่น้ำก็ลดจำนวนลงด้วย อีกทั้งน้ำในแม่น้ำก็ตื้นเขิน เพราะเขากักน้ำไว้ในเขื่อน และมีการดูดทรายริมฝั่ง ทั้ง ๒-๓ อย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลโดยตรงต่อคนหาปลา

คนหาปลาหลายคนหาปลาไม่ได้ก็ขึ้นไปอยู่บนฝั่ง แต่ขึ้นไปก็ไม่มีที่ดินทำกินก็ต้องไปรับจ้างในเมือง ครอบครัวที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าก็ค่อยแตกกระจายกันไป ถึงวันไหว้ผีบรรพบุรุษบางคนก็ไม่ได้กลับมาไหว้ เพราะค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง

เมื่อพูดคุยกันอยู่นาน พ่อเฒ่าก็หันหน้ากลับดูกุบที่ใส่เอาไว้ พ่อเฒ่ายกกุบครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สิ่งที่พ่อเฒ่าและเราผู้ผ่านทางมาได้รับรู้คือในกุบว่างเปล่า ไม่มีปลาแม้แต่ตัวเดียว แต่ความพยายามของพ่อเฒ่าที่รู้ทางหนีที่ไล่ แกจึงใส่กุบไว้เกือบ ๓๐ อัน ในที่สุดก็มีปลามาถูกกุบทั้ง ๓๐ อันอยู่ ๓ ตัว ‘ปลา ๓ ตัวรวมกันได้ไม่ถึงกิโลไม่มีคนซื้อหรอก เอากลับบ้านไปทำกินดีกว่า’ พ่อเฒ่ากล่าวออกมาหลังเบนหัวเรือกลับคืนสู่ฝั่ง หลังจอดเรือส่งผู้ผ่านทางมาที่ริมฝั่งเรียบร้อย ก่อนจากกันพ่อเฒ่าก็ตะโกนบอกเราว่า โชคไม่ดีนักวันนี้ไม่ได้ เอาไว้ถ้ามาวันหน้าจะเอาปลาตัวใหญ่ขึ้นมาโชว์ให้ดู

ในรอยทางของคนผู้มีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำอย่างแท้จริง ไม่มีใครเลยที่คิดจะทำลายแม่น้ำ เพราะหากเขาทำลายแม่น้ำไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็เหมือนกับว่า เขาค่อยๆ ตัดเฉือนเนื้อของตัวเองออกไปทีละนิดทีละนิด แล้วเราผู้ไม่มีวิถีชีวิตอยู่กับแม่น้ำอย่างจริงจัง เราจะไม่ใส่ใจดูแลแม่น้ำ เพื่อคนหาปลาผู้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอย่างจริงจังกระนั้นหรือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะให้พันธสัญญาต่อกันว่า จากนี้ต่อไปคนหาปลาผู้มีชีวิตอยู่ด้วยการลอยเรือไปบนคลื่นความเปลี่ยนแปลง พวกเขาจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงเพียงลำพัง เราจะร่วมเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงนั้น และร่วมกันทำความเปลี่ยนแปลงนั้นให้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางด้านที่ดี และแม่น้ำต้องเป็น ‘แม่น้ำเพื่อชีวิต มิใช่เพื่อความตาย’

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…