Skip to main content

ลำเซียงทา

ล่องไหลมาเนิ่นนาน.....
ทานทน ฝน-ร้อน-หนาว
ปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้า
เมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชร
ในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมา
เวลานาฑีไม่มีใครรู้
เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆ
ลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปราย
ลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่
ไหลล่องผ่านปี-เดือน
ไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิว
ปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยน
ลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อ

โป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗

 

หลังการเดินทางแรมคืนเราจึงมาถึงหมู่บ้าน ลมดึกของค่ำคืนวูบไหวผ่านใบหน้า สุนัขที่นองนิ่งอยู่ใต้พื้นบ้านส่งเสียงทักทาย เจ้าของบ้านหลายคนออกมานอกบ้านพร้อมส่งเสียงไล่มันให้เงียบเสียงลง หากเป็นหมู่บ้านทั่วไป ผู้บุกรุกในเวลาวิกาลเช่นนี้คงถูกแจ้งความดำเนินคดีตามกฏหมายไปแล้ว แต่ที่นี้ไม่ใช่หมู่บ้านอย่างหมู่บ้านทั่วไป ที่นี้คือทัพของนักรบสิ่งแวดล้อม นักรบผู้มีหน้าที่ปกป้องทัรพยากรด้วยอาวุธคือความคิด มันสมอง และสองมือเปล่า การต้อนรับผู้คนทั้งแปลกหน้าและคุ้นหน้าจึงไม่ใช่เรื่องราวอันแปลกประหลาดแต่ประการใดสำหรับคนในหมู่บ้าน

เมื่อเจ้าของบ้านหลังนั้นรู้ว่าผู้มาเยือนในเวลาวิกาลเป็นใคร และมีจุดมุ่งหมายใด ผู้มาเยือนก็ถูกเชื้อเชิญให้เดินตามทางไปยังเป้าหมาย หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด การเดินไปตามทางเดิน เพื่อไปสู่เป้าหมายอาจดูเป็นเรื่องยาก เพราะหมู่บ้านไร้แสงไฟตามถนน แต่พอเป้าหมายอยู่ไม่ไกล ความยากในการเดินฝ่าความมืดจึงยุติลง

“หัวหน้า...หัวหน้า มีคนมาหา”
หลังได้ยินเสียงร้องเรียก เจ้าของบ้านก็เปิดไฟใต้ถุนบ้านและเดินตามบันไดลงมา
“ซำบายดีอยู่บ๋อ หัวหน้า”
“กะพออยู่ได้อยู่ คือพากันมาฮอดดึกแท้”
“โอย! ค้าแต่หลงทางนั่นแล้ว กว่าสิหาทางเข้าบ้านได้เกือบตาย”
“ผมว่าแล้ว มันต้องมีคนหลง ให้เขาไปปักธงเขียวไว้อยู่ ถ้ามาตามธงเขียวคือสิบ่หลงดอก”
“ธงมันผืนน้อยโพด กว่าสิเห็น เป็นหยังคือบ่เอาธงผืนใหญ่ๆ แด่”
“เอาผืนใหญ่บ่ได้ดอก เดียวเพิ่นสิฮู้ ความสิแตก มันสิบ่ม่วนทั้งผู้อยู่ ผู้มา”
“แล้วมีคนมาฮอดหลายคนอยู่บ่อ”
“บ่ นี่แหละซุดแรก”

หลังพูดคุยถามไถ่กันได้ไม่นานทั้งเจ้าของบ้าน และผู้มาเยือนก็แยกย้ายกันพักผ่อน หลังแสงแรกของวันพรุ่งนี้มาเยือน เรื่องราวต่างๆ ในหมู่บ้านก็จะถูกนำมาเล่าอีกครั้ง

หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่มากซุกซ่อนอยู่ในซอกหลืบของป่าที่สำคัญหมู่บ้านได้กลายมาเป็นฐานบัญชาการรบกลับอำนาจรัฐอย่างปฏิเสธเสียไม่ได้ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชรพอดี ถัดจากหมู่บ้านไปไม่ไกลมีแม่น้ำสายหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ลำเซียงทา’ แม่น้ำสายนี้แหละที่ชาวบ้านบอกว่า เขาจะมีการกั้นเขื่อน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเขื่อนที่จะสร้าง เขาจะเอาไว้เก็บน้ำเพื่อการเกษตร แต่ความจริงอีกด้านหนึ่ง หากว่าเมื่อมีการสร้างเขื่อนแห่งนี้ น้ำก็จะท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งมีอยู่คนละไม่มาก แต่หลายร้อยคน

“บ่สู้กะบ่ได้ดอกหัวหน้า น้ำสิท่วมดั้งตี้ละ ท่าเพิ่นมาเฮ็ดเขื่อน”
“น้ำแม่บ่ใหญ่กะหยังสิมาเฮ็ดอยู่เหนาะ”
“ผมกะว่านั้นละ”


ดังที่เล่ามา เพราะแม่น้ำสายนี้ไม่ใหญ่มาก แต่มันมีความสำคัญกับชาวบ้านผู้ได้ใช้ประโยชน์มาชั่วนาตาปี หากว่ามีการทำเขื่อน (อันที่จริงกรมชลรับประทาน-กรมชลประทานบอกว่ามันเป็นแค่ฝายกักเก็บน้ำ) น้ำจากอ่างเก็บน้ำก็จะไหลท่วมพื้นที่ทำกิน หมู่บ้านก็จะถูกย้าย ชาวบ้านจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน และเริ่มเดินทางออกสู่ท้องถนน เพื่อร่วมขบวนการต่อสู้ในนามของสมัชชาคนจน

“หัวหน้านอนก่อนเด้อ มื้ออื่นจั่งเว้ากัน”
“ครับตามซำบายเลยหัวหน้า เดี๋ยวหมู่ผมกะสินอนคือกัน”


เจ้าของบ้านเดินจากไปแล้ว แสงตะเกียงถูกดับลง เสียงไก่ขันจากป่าแว่วมา ขณะล้มตัวลงนอน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวบางเรื่องอันน่าฉงน แปลกแต่จริงประเทศเราถูกหลอกเสมอว่า เราสร้างเขื่อนเพื่อเอาน้ำมาเป็นไฟฟ้า แต่บางหมู่บ้านก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน นั่นสิไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน

สายลมดึกค่อนแจ้งพัดมาแผ่วเบา ทั้งที่ง่วงเต็มทน ผมกลับพบว่า ตัวเองข่มตาหลับลงยากเสียเต็มประดา

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…