Skip to main content

ลำเซียงทา

ล่องไหลมาเนิ่นนาน.....
ทานทน ฝน-ร้อน-หนาว
ปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้า
เมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชร
ในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมา
เวลานาฑีไม่มีใครรู้
เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆ
ลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปราย
ลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่
ไหลล่องผ่านปี-เดือน
ไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิว
ปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยน
ลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อ

โป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗

 

หลังการเดินทางแรมคืนเราจึงมาถึงหมู่บ้าน ลมดึกของค่ำคืนวูบไหวผ่านใบหน้า สุนัขที่นองนิ่งอยู่ใต้พื้นบ้านส่งเสียงทักทาย เจ้าของบ้านหลายคนออกมานอกบ้านพร้อมส่งเสียงไล่มันให้เงียบเสียงลง หากเป็นหมู่บ้านทั่วไป ผู้บุกรุกในเวลาวิกาลเช่นนี้คงถูกแจ้งความดำเนินคดีตามกฏหมายไปแล้ว แต่ที่นี้ไม่ใช่หมู่บ้านอย่างหมู่บ้านทั่วไป ที่นี้คือทัพของนักรบสิ่งแวดล้อม นักรบผู้มีหน้าที่ปกป้องทัรพยากรด้วยอาวุธคือความคิด มันสมอง และสองมือเปล่า การต้อนรับผู้คนทั้งแปลกหน้าและคุ้นหน้าจึงไม่ใช่เรื่องราวอันแปลกประหลาดแต่ประการใดสำหรับคนในหมู่บ้าน

เมื่อเจ้าของบ้านหลังนั้นรู้ว่าผู้มาเยือนในเวลาวิกาลเป็นใคร และมีจุดมุ่งหมายใด ผู้มาเยือนก็ถูกเชื้อเชิญให้เดินตามทางไปยังเป้าหมาย หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด การเดินไปตามทางเดิน เพื่อไปสู่เป้าหมายอาจดูเป็นเรื่องยาก เพราะหมู่บ้านไร้แสงไฟตามถนน แต่พอเป้าหมายอยู่ไม่ไกล ความยากในการเดินฝ่าความมืดจึงยุติลง

“หัวหน้า...หัวหน้า มีคนมาหา”
หลังได้ยินเสียงร้องเรียก เจ้าของบ้านก็เปิดไฟใต้ถุนบ้านและเดินตามบันไดลงมา
“ซำบายดีอยู่บ๋อ หัวหน้า”
“กะพออยู่ได้อยู่ คือพากันมาฮอดดึกแท้”
“โอย! ค้าแต่หลงทางนั่นแล้ว กว่าสิหาทางเข้าบ้านได้เกือบตาย”
“ผมว่าแล้ว มันต้องมีคนหลง ให้เขาไปปักธงเขียวไว้อยู่ ถ้ามาตามธงเขียวคือสิบ่หลงดอก”
“ธงมันผืนน้อยโพด กว่าสิเห็น เป็นหยังคือบ่เอาธงผืนใหญ่ๆ แด่”
“เอาผืนใหญ่บ่ได้ดอก เดียวเพิ่นสิฮู้ ความสิแตก มันสิบ่ม่วนทั้งผู้อยู่ ผู้มา”
“แล้วมีคนมาฮอดหลายคนอยู่บ่อ”
“บ่ นี่แหละซุดแรก”

หลังพูดคุยถามไถ่กันได้ไม่นานทั้งเจ้าของบ้าน และผู้มาเยือนก็แยกย้ายกันพักผ่อน หลังแสงแรกของวันพรุ่งนี้มาเยือน เรื่องราวต่างๆ ในหมู่บ้านก็จะถูกนำมาเล่าอีกครั้ง

หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่มากซุกซ่อนอยู่ในซอกหลืบของป่าที่สำคัญหมู่บ้านได้กลายมาเป็นฐานบัญชาการรบกลับอำนาจรัฐอย่างปฏิเสธเสียไม่ได้ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชรพอดี ถัดจากหมู่บ้านไปไม่ไกลมีแม่น้ำสายหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ลำเซียงทา’ แม่น้ำสายนี้แหละที่ชาวบ้านบอกว่า เขาจะมีการกั้นเขื่อน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเขื่อนที่จะสร้าง เขาจะเอาไว้เก็บน้ำเพื่อการเกษตร แต่ความจริงอีกด้านหนึ่ง หากว่าเมื่อมีการสร้างเขื่อนแห่งนี้ น้ำก็จะท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งมีอยู่คนละไม่มาก แต่หลายร้อยคน

“บ่สู้กะบ่ได้ดอกหัวหน้า น้ำสิท่วมดั้งตี้ละ ท่าเพิ่นมาเฮ็ดเขื่อน”
“น้ำแม่บ่ใหญ่กะหยังสิมาเฮ็ดอยู่เหนาะ”
“ผมกะว่านั้นละ”


ดังที่เล่ามา เพราะแม่น้ำสายนี้ไม่ใหญ่มาก แต่มันมีความสำคัญกับชาวบ้านผู้ได้ใช้ประโยชน์มาชั่วนาตาปี หากว่ามีการทำเขื่อน (อันที่จริงกรมชลรับประทาน-กรมชลประทานบอกว่ามันเป็นแค่ฝายกักเก็บน้ำ) น้ำจากอ่างเก็บน้ำก็จะไหลท่วมพื้นที่ทำกิน หมู่บ้านก็จะถูกย้าย ชาวบ้านจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน และเริ่มเดินทางออกสู่ท้องถนน เพื่อร่วมขบวนการต่อสู้ในนามของสมัชชาคนจน

“หัวหน้านอนก่อนเด้อ มื้ออื่นจั่งเว้ากัน”
“ครับตามซำบายเลยหัวหน้า เดี๋ยวหมู่ผมกะสินอนคือกัน”


เจ้าของบ้านเดินจากไปแล้ว แสงตะเกียงถูกดับลง เสียงไก่ขันจากป่าแว่วมา ขณะล้มตัวลงนอน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวบางเรื่องอันน่าฉงน แปลกแต่จริงประเทศเราถูกหลอกเสมอว่า เราสร้างเขื่อนเพื่อเอาน้ำมาเป็นไฟฟ้า แต่บางหมู่บ้านก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน นั่นสิไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน

สายลมดึกค่อนแจ้งพัดมาแผ่วเบา ทั้งที่ง่วงเต็มทน ผมกลับพบว่า ตัวเองข่มตาหลับลงยากเสียเต็มประดา

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…