Skip to main content

20080209 ภาพต้นไม้สีเขียวในป่า

บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์
นามนี้เป็นที่รู้จักกันมานาน และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการสื่อมวลชนภาคเหนือตอนบน ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอาวุโสของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้จักเขามานาน ก่อนที่เขาจะเป็นนักหนังสือพิมพ์เสียอีก

นั่นคือ รู้จักเขาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กหนุ่มเอวบางร่างน้อย จากดินแดนแห่งขุนเขาและม่านหมอกอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ที่เดินทางจากบ้านเกิดหน้าที่ว่าการอำเภอ ไปบวชเรียนเป็นเณรอยู่ที่วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท ต.บางจาก อ.พระโขนง กรุงเทพฯ ภายใต้ร่มเงาพุทธธรรมของท่านอาจารย์วิริยังค์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติชื่อเสียงโด่งดัง สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์สายอรัญญวาสี

ซึ่งวัดนี้ เป็นวัดที่ผมมักจะวนเวียนเข้า ๆ ออก ๆ ไปอาศัยซุกหัวนอนและกินข้าวอยู่กับพระที่มาจากจังหวัดเชียงใหม่ หลายกุฏิและหลายองค์ เวลาผมตกงาน ในช่วงวัยหนุ่มที่ผมร่อนเร่พเนจรจากภาคเหนือ ไปแสวงหาความหมายของชีวิตในเมืองหลวงของประเทศในขณะนั้น และเขาเป็นพระเณรองค์หนึ่งที่ผมสนิทสนมด้วย

โอ้ ความหลัง
แม้วันเวลาจะผ่านไปนานแสนนาน เมื่อหวนคิดคะนึงถึง ผมยังจำตัวตนของเขาในขณะนั้นได้อย่างแจ่มชัด สมัยที่เขาเป็นเณรอยู่ที่วัดธรรมมงคล นอกจากเขาจะเป็นคนที่แลดูเอาจริงเอาจังในการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหนึ่งในการทำหนังสือวารสารของวัด และเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์แบบติดงอมแงม เพราะเขาเป็นคนที่สนใจติดตามอ่านข่าวสารเกี่ยวกับการบ้านการเมือง ถึงขั้นสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปต่าง ๆ ให้มิตรสหายรับฟังได้  และเก่งกล้าถึงขนาดเคยเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไปให้หนังสือเกี่ยวกับการเมืองทื่ค่อนข้างใหญ่โตฉบับหนึ่ง และได้รับการตีพิมพ์หลายชิ้น ในขณะที่ยังครองผ้าเหลืองอยู่

ซึ่งเรื่องนี้ เขาได้เล่าให้ผมฟังด้วยความภาคภูมิใจและนึกขำตัวเองในภายหลังว่า หลังจากเขียนไปได้พักหนึ่ง เขาก็นุ่งห่มจีวรเรียบร้อยไปแสดงตัวกับบก.ถึงสำนักงาน และตั้งแต่นั้นมา พอส่งงานไปก็ไม่ได้ลงอีก เพราะบก.คงจะคาดไม่ถึงและยอมรับไม่ได้ ที่พระหน้าตาเด็ก ๆ องค์หนึ่ง ออกมาเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์การเมืองในขณะนั้น

ผมจึงไม่รู้สึกแปลกใจ
เมื่อเขาบวชเรียนจบตามหลักสูตร และเลือกสิกขาบทกลับบ้านมาต่อสู้ชีวิตทางโลก เพื่อดูแลแม่และส่งเสียน้องสาวที่กำลังเรียนไล่กันมา เขาจึงไม่ลังเลใจที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงจากบ้านเกิด อ.จอมทอง มุ่งตรงเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ เพื่อสมัครงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่หลายฉบับในเชียงใหม่ และไม่เคยเปลี่ยนงานหนังสือพิมพ์ไปเป็นอย่างอื่น

พูดได้เลยว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทุกฉบับในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ยุคที่เขาเริ่มต้นเข้าไปทำงานเป็นนักข่าว ตราบจนเท่าทุกวันนี้ แทบไม่มีฉบับใด ที่ไม่มีเขาเข้าไปร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนข่าวสารในท้องถิ่น  นับตั้งแต่ ถิ่นไทย ซึ่งเป็นก้าวแรกของเขา และติดตามมาด้วย นครพิงค์ เชียงใหม่เดลี่ ข่าวสยาม ระมิงค์ ประชากร ไทยนิวส์ ธุรกิจภาคเหนือ ฯลฯ

เขาเริ่มต้น และผ่านมาหมดทุกตำแหน่งงานของคนหนังสือพิมพ์ แม้กระทั่งในฐานะที่เป็นเจ้าของ เขาก็เป็นมาแล้ว นั่นคือหนังสือ “เม็งราย”รายปักษ์ ที่เขาทำควบคู่กับการเป็นคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์รายวัน ก่อนจะปิดตัว เม็งราย หลังจากทำมานานได้สิบกว่าปี คงเหลือไว้แต่โรงพิมพ์บุณย์ศิริ ที่ยังรับงานพิมพ์อยู่จนถึงปัจจุบันที่ ต. หนองหอย อ.เมือง

แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักรู้จัก บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์ และอีกนามหนึ่งที่เป็นนามปากกา นั่นคือ บุณย์ มหาฤทธิ์ จากคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์รายวัน ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่คอยจับตาวิพากษ์วิจารณ์ระบบการทำงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์สุขของประชาชนในท้องถิ่น ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และเข้าใจระบบราชการอันซับซ้อนพร้อมด้วยข้อมูลที่แม่นยำ และเป็นปากเสียงให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรมมาอย่างต่อเนื่อง...

โดยส่วนตัวผมแล้ว
ผมเชื่อว่า ภาพบทบาทของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาพนี้ของเขา เป็นภาพที่เป็นรูปธรรมที่แจ่มชัดและโดดเด่นที่สุด ทั้งในสายตาของผมและคนทั่ว ๆ ไปในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเขายืนหยัดทำหน้าที่นี้ให้กับสังคมมานานเกินกว่า 20 ปี และผมคิดว่าเขาคงไม่เปลี่ยนไปเป็นอื่น...

แต่แล้วเขาก็ทำให้ผมแปลกใจ เมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ว.ใน 2544 วันหนึ่ง จู่ ๆ เขาก็ฝากข่าวกับน้องชายของผมที่เป็นนายดาบตำรวจมาบอกว่า เลือกตั้ง ส.ว.คราวนี้เขาลงสมัครด้วยนะ และหลังจากตรวจสอบข่าวด้วยตัวเองจนแน่ใจ ผมก็บอกกับตัวเองว่า ไม่ว่าเขาจะเอ่ยปากให้ช่วยเหลือหรือไม่ ผมก็ยินดีที่จะสนับสนุนเขาตามอัตภาพ และไม่รู้สึกกระดากใจที่จะให้เครดิตเขากับสังคมอย่างเปิดเผย

แต่เขาก็ไม่ผ่าน อย่างที่ผมแอบคาดหมายเอาไว้ เพราะการเมืองในท้องถิ่นที่ระบบสังคมแบบอุปถัมภ์ยังแข็งแกร่งอยู่ มันยากแสนยากที่จะเปิดช่องทางให้คนใหม่ ๆ ที่ขาดอำนาจเงิน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ในโลกนี้ ผ่านเข้าไปได้...

ผมรู้ผลแล้ว ก็ได้แต่บอกกับตัวเองว่า บุญญฤทธิ์ ไม่ได้ก็ดีเหมือนกัน เพราะภาพของคนที่เป็นนักหนังสือพิมพ์อันยาวนานของเขา เป็นภาพที่ได้รับความเชื่อถือและงดงามอยู่แล้ว บางที...ความโชคดีทางการเมือง ถ้าหากเขาได้รับ มันอาจจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อความสูญเสียชื่อเสียง และเกียรติภูมิของนักหนังสือพิมพ์ ที่เขาสั่งสมมาตลอดชีวิตในภายหลังก็ได้

และผมคิดว่าเขาคงเลิกสนใจมันแล้ว...
    
ผ่านมาจนกระทั่งถึงปี 2551 ปีนี้
หลังการเลือกตั้ง ส.ส และการจัดตั้งรัฐบาลที่เราต้องทำใจยอมรับ ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว และถึงฤดูกาลเลือกตั้ง ส.ว.อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 มีนาคม ที่กำลังจะมาถึงภายในไม่กี่อาทิตย์ เมื่อวานนี้ ขณะผมกำลังอยู่เพียงลำพังในกระท่อมทุ่งเสี้ยว น้องชายของผมที่เคยมาบอกข่าวการลง ส.ว.ของเขาเมื่อปี 2544 ก็ขับรถเข้ามาตะโกนบอกผมว่า

“พี่ ๆ บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์ มิตรสหายของพี่ลง ส.ว.อีกแล้ว”
ก่อนจะลงจากรถ นำใบปลิวหาเสียงแผ่นขนาดฝ่ามือผู้ใหญ่ ซึ่งมีรูปครึ่งตัวของเขาใส่สูทและผูกเน็คไทร์เรียบร้อย พร้อมหมายเลขเบอร์ที่เขาลงสมัครพิมพ์อยู่ด้านหน้า และด้านหลังเป็นประวัติย่อ ยื่นให้ผมปึกหนึ่ง

ครับ เมื่อเขายังยืนยันที่จะเดินไปบนวิถีทางนี้ ผมจึงยังย่อมควรเอาใจช่วยเขา ถึงแม้โดยใจจริงของผมแล้ว ผมอยากจะเห็นภาพของ บุญญฤทธิ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์อย่างที่เขาเป็นตลอดไปจนชั่วชีวิต แต่เมื่อหันหลังกลับไปมองจากมุมมองของส่วนรวม ผมก็ได้คิดขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งว่า ถ้าสังคมในท้องถิ่นของเรา ไม่ว่าจะเป็นที่นี่...หรือ ณ ที่แห่งใดในประเทศนี้ ได้นักการเมืองสักคนหนึ่งจากนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่ง ที่ทำงานด้วยจิตสำนึกเพื่อสาธารณะชนมาโดยตลอด ย่อมเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งกว่ามิใช่หรือ

ถ้าหากสังคมในวันนี้ ยังพอจะมีช่องทาง เปิดโอกาสให้คนที่เหมาะสมอย่างยิ่งคนหนึ่งเช่นเขา     ก้าวเข้าไปพิสูจน์ตัวเองสักครั้ง     

พื่ขอเอาใจช่วย บุญญฤทธิ์ คนดี.
            
7 กุมภาพันธ์ 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”