Skip to main content

ทำตามอุ๊ยบอก

เดินลงบันได สวมรองเท้าแตะที่เย็นเล็กน้อยมานั่งก้อม (ม้านั่งเตี้ย) ข้างกองไฟ เจ้านากคงนอนต่อไป ปีกจมูกสีดำชื้นๆขยับขึ้นลง แสงแดดอ่อน ค่อยสาดส่องลอดใบไม้กิ่งไม้สู่ลานบ้าน ความหนาวเยือกถูกเทพแห่งความร้อนรุกไล่ เสียงอุ๊ยตะโกนจากบนบ้าน ให้ผมปัดกวาดสาดแหย่ง (เสื่อที่ทอจากผิวคล้า คือกกชนิดหนึ่ง) ที่ปูบนตั่ง (ที่สำหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่มีขาก็ได้) ให้สะอาด ตั่งนี้อยู่ข้างรั้ว ห่างจากกองไฟเล็กน้อย สักครู่อุ้ยถือถ้วยมายืนที่ตีนบันได เรียกผมให้ไปรับ ผมสาวเท้าไปหา อุ๊ยบอกว่า “แกงผักขี้หูด” ใส่ปลาแห้งมันร้อน ให้ถือย่างระมัดระวัง อีกถ้วยใส่แคบหมูกรอบๆขนาดชิ้นละคำน่ากิน ผมเดินกลับมาช้าๆ ตามองแกงในถ้วย ระวังเต็มที่ไม่ให้น้ำแกงกระเพื่อมหก ยื่นไปวางบนกลางสาด ถอดรองเท้าฟองน้ำ นั่งขัดสมาธิเฝ้าอาหารเช้า ไอร้อนจากแกงลอยเป็นทางขึ้นรับแดดอ่อน เสียงพ่อแม่สลับกันตะโกนบอกจากบ้านอีกหลังว่า ให้รอสักพัก กำลังทอดปลาบ้วงหน้อย (ปลาช่อนหมักเกลือตากแดด ตัวเล็กเท่าฝ่ามือ) เกือบเสร็จแล้ว อุ๊ยหิ้วก่องข้าวเหนียวและช้อนสังกะสี 3-4 ใบมาด้วย

 

 

พอดีพ่อกับแม่ลงมาสมทบ

แม่มีปลาบ้วงหน้อยทอดกรอบสีน้ำตาลเข้มน่ากิน จำนวน 4 ตัว พ่อวางน้ำพริกแดงตำเองสีแดงปนน้ำตาลเนื้อฉ่ำ ใส่ถ้วยเล็กๆสีขาวท้าทายให้ปั้นข้าวเหนียวจ้ำลงไปลองลิ้ม แม่วางแกงแคใส่เนื้อไก่ลงไป พ่อวางก่องข้าวอุ่น ทุกคนนั่งล้อมวงอาหารบนตั่ง พ่อเปิดก่องข้าวเหนียว ไอร้อนของข้าวเหนียวสีขาวนุ่มลอยเป็นทางขึ้นมาทันที พ่อคดใส่จานเพียงกินหมดขณะยังอุ่น ไม่คดใส่มากจนกินไม่หมดจานข้าวเย็นเสียก่อน จานข้าววางไว้ระหว่างพ่อกับแม่ 1 จาน อุ๊ยคดข้าวเหนียวใส่จานสำหรับอุ๊ยกับผมอีก 1 จาน แม่ใช้มือปัดหมวกไหมพรมไปข้างหลังเล็กน้อย หมวกไหมพรมของผมเปิดเฉพาะตากับจมูกปาก ถูกดึงขึ้นไปม้วนเหนือหน้าผาก อากาศยังคงเย็น แดดสาดแสงอบอุ่นมายังวงกินข้าว อาหารเช้ายามหนาว ข้าวอุ่นแกงร้อน แดดอุ่น พ่อแม่อุ๊ยพร้อมหน้ากัน น้ำพริกแดงรสเด็ด อร่อยจริงๆ กินไปคุยกันไป มีอะไรก็พูดกันกลางวงอาหาร อุ๊ยสอนพวกเราทุกคน พ่อแม่สอนผม สอนอุ๊ยไม่ได้ถือว่า เด็กสอนผู้ใหญ่ไม่ได้ ถ้าจำเป็นจริงอาจพูดว่า “สูมาเต้อะ อี่แม่ อย่าว่าเจ้าสอนเลย คือว่า...” ถ้าผู้เฒ่าผู้แก่ใจเย็นพอก็ไม่มีอะไร ถ้าท่านยอมรับไม่ได้ จะพบการสั่งสอนอบรมสวนกลับอย่างหนักทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จึงไม่มีลูกหลานกล้าเสี่ยง ถ้าลูกหลานต่อปากต่อคำ ที่ท่านมักบอกว่า “เถียง” ก็จะย้อนว่า “กูเกิดก่อนมึง อาบน้ำฮ้อนมาก่อน...บ่ะต้องมาสอนมาสั่ง...ตอนกูเกิด มึงยังเป็นลมเป็นฝนอยู่...เฮอะเหอ !”

 


(3)


วงอาหารไม่ว่ามื้อใด

จึงเป็นสถานที่กินข้าวและอบรมลูกหลาน แม่เคยเป็นครูมาก่อน จะไม่ว่ากล่าวพ่อรุนแรงจนเสียอารมณ์ พาลกินอาหารไม่อร่อย และแม่จะระวังไม่สอนผม จนทำให้ผมกลืนข้าวฝืดคอ ผมจำได้ว่า เมื่อผมโตขึ้น เรียนชั้น ป.4 แล้ว เคยถามอุ๊ยและแม่ว่า

ทำไมต้องมาสอนมาด่าหรือต่อว่า เวลากินอาหารทุกครั้งไป สอนหรือด่าตอนอื่น บ่ะได้กา ?”
อุ๊ยและแม่ตอบคล้ายกันว่า

เวลากิ๋นข้าว ทุกคนมาอยู่พร้อมหน้ากั๋น มีอะหยังจะได้อู้กั๋นเสียทีเดียว”

ครูที่โรงเรียนสอนว่า เวลากินข้าว ทุกคนในครอบครัวควรพูดแต่เรื่องดีๆ กินข้าวจะได้อร่อย ครูไม่ให้พูดเรื่องเศร้า เรื่องเคร่งเครียด จะกินข้าวไม่ลง เรื่องตลกก็ห้ามพูด มัวหัวเราะ ข้าวยังเต็มปากอาจสำลักได้”


อุ๊ยกับแม่ได้ฟังผมพูดตามครูสอน ทั้งสองมองหน้ากัน พ่อหัวเราะหึๆ แม่หันขวับมาทำตาเขียวปัดให้พ่อ พ่อรีบปิดปาก ลุกขึ้นหันหลังเดินไปหัวเราะและยิ้มไกลๆแม่ แม่เป็นคนที่มีไหวพริบ ปฏิภาณไว ไม่เคยจนมุมใครในเรื่องฝีปาก สวนวาจาผมอย่างไม่เสียเชิง ทั้งที่ครั้งแรกอึ้งไปนิดหนึ่ง

บ่ะสอนต๋อนกิ๋นข้าว แล้วจะไปสอนต๋อนไหนหือ! ลูกเต้ากินข้าวแล้วก็โดดปึ้ก ไปเล่นไปแอ่วหายแซบ วันค่ำ...อุ๊ย พ่อแม่ว่าแล้วยังมาเถียง"

ปลาบ้วงหน้อย น้ำพริกแดง แกงฮ้อนๆ ตอนหน้าหนาว ข้าวนึ่งอุ่น อาบแดดเจ้า................... ”


กินข้าวเสร็จ
ต่างแยกย้ายขึ้นบนบ้าน แม่กำชับให้ผมแปรงฟังหลังอาหาร ผมช่วยอุ๊ยเก็บจานขึ้นบ้าน อุ๊ยล้างจาน ผมแปรงฟันแล้วลงมาผิงไฟ พ่อกินข้าวเสร็จ ได้เดินไปให้อาหารหมู
2 ตัวหลังบ้านอุ๊ย มันเป็นหมูพันธุ์สีขาว กำลังจะโตเป็นหนุ่มสาว ผมนั่งผิงไฟได้ยินเสียงหมูร้องอู๊ดๆ เมื่อพ่อหิ้วถังใส่อาหารไปให้มัน ได้ยินแม่สาดน้ำล้างจานลงจากห้องครัวหลังบ้าน กระทบพื้นดินดังโครม อุ๊ยเดินลงบันไดมา ส่งเสียงเรียกเจ้านาก ยามรักษาการประจำบ้าน มันลุกขึ้นจากกองขี้เถ้าข้างกองไฟช้าๆ เหยียดเท้าหน้าทั้งคู่ไปจนสุดตัว กดหลังลงครู่หนึ่งเหมือนคนยืดเส้นยืดเอ็น ไปหาจานข้างตีนบันไดบ้าน ผมนั่งผิงไฟครู่หนึ่ง สมองคิดไม่ออกว่า วันนี้จะไปไหนดีหันหน้ามองลอดรั้วบ้าน ข้ามถนนไปยังหน้าบ้านของ “อู๊ด” เพื่อนผม อู๊ดอายุมากกว่าผม 1 ปี จึงเรียนชั้นสูงกว่าผมชั้นหนึ่ง

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  อ่านกวีนิพนธ์ ของโอมาร์ คัยยัม กวีชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน โดยแคน สังคีต แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรักว่า                                                     อันความรัก คืออะไร          ควรใคร่คิด          …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เนาวรัตน์กวาดสายตา เข้าไปในตัวบ้านไม้ชั้นเดียว พื้นบ้านต่ำกว่าระดับถนนคอนกรีตเล็กน้อย   ข้างฝามีปฏิทิน มีรูปคณะซอ   มีรูปแม่จันทร์สม สายธารา   นั่งคู่กับผู้ชายวัยใกล้เคียงกัน   เนาวรัตน์คาดคะเนว่า คงเป็นครูคำผาย นุปิง ทั้งคู่อยู่ในชุดคนเมือง   ข้างหลังนั่งล้อมวง   สวมเสื้อหม้อฮ่อม ปี่ 3 คน ซึง 1 คน เนาวรัตน์มองดูที่หน้าบ้านริมถนน มีสิ่งก่อสร้าง คล้ายโรงครัวเล็กๆ   มีป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดข้างฝา   บอกชื่อแม่จันทร์สม สายธารา   ที่อยู่  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น  รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด   ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร   อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านได้พูดเสริมต่อจากเจ้าอาวาส “กรรมการวัด ได้มีการประชุมหารือกันก่อนแล้วแล้วรอบหนึ่ง มีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คณะกรรมการวัด มีข้อคิดความเห็นว่า จะขอความร่วมมือร่วมใจจากศรัทธาญาติโยมทุกคน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อจัดงานบวช ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 โดยจะขอเก็บหลังคาละ 140 บาท เงิน 40 บาทจะเป็นค่าจัดทำอาหารกลางวัน  เลี้ยงศรัทธาทั้งหมู่บ้าน ส่วนอีก 100 บาท จะเป็นค่าทำบุญและค่าจ้างซอมาเล่นเฉลิมฉลอง จึงอยากถามหมู่เฮาชาวบ้านว่า  จะเห็นด้วยไหม ?” มีเสียงพึมพำอึงในวิหาร …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เสียงเคาะลำโพงปลายเสาไฟฟ้า   ในหมู่บ้านทุ่งแป้ง   ดังขึ้น 3 ครั้ง แล้วมีเสียงพูด “ ฮัลโหล !   ฮัลโหล !   ครับ !   ขอประชาสัมพันธ์ วันนี้กินข้าวแลงแล้ว   เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ   ขอเชิญทุกบ้านทุกหลังคาเรือน   มาประชุมพร้อมกันที่วัดทุ่งแป้งนะครับ มีหลายเรื่องที่จะประชุมหารือกัน   อย่าได้ขาดกันเน้อ   บอกต่อๆกันไปด้วยเน้อครับ...ขอขอบคุณครับ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
   
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ได้ยินเสียงหมอเรียก เราทั้งคู่รีบเข้าไป เห็นเจ้าเหมียวนอนตะแคงนิ่งเหมือนท่อนไม้ ลิ้นแดงเล็กห้อยคาปาก หมอบอกว่า เอาลิ้นมันคาปากไว้ หากลิ้นค้างในปากขณะมันสลบ ลิ้นอาจจุกปากหายใจไม่ออกอาจตายได้ มันจะสลบสัก 1 ชั่วโมง ลุงกับป้าช่วยกันอุ้มมันขึ้นรถ   วางมันบนเบาะหลังที่มีผ้าขนหนูรอง พอถึงบ้านอุ้มมันไปวางราบบนม้ายาวที่มีหมอนรอง ลิ้นยังคาปากเหมือนเดิม อดนึกไม่ได้ว่าตอนแมว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมมองผ่านทางเดิน ไปห้องครัว เห็นแมวต่างบ้าน เดินย่องเงียบกริบออกมา เจ้าตัวนี้มาขโมยอะไรกินบ่อยๆ ผมหมายตาจะเล่นงานมันหลายครั้ง แต่มันรอดปลอดภัยทุกที ไม่ทำร้ายอะไรมากมายหรอก จะหาไม้เล็กๆไม่ทันแล้ว เราก็นักฟุตบอล ใช้เท้าเคลื่อนไหวประจำ เตะได้ทั้งซ้ายขวา ไม่รู้จักศูนย์หน้าทีมโรงเรียนดังซะแล้ว จะหลบซ้ายขวาเจอหมด  ฮะฮ่า !..เสร็จแน่เจ้าเหมียว แมวขาวดอกลายเดินกลับออกมาใกล้ถึงมุมห้องแล้ว ผมโผล่พรวดออกไป มันตกใจยืนตลึง ผมส่งเสียงข่มขวัญ มันตั้งหลักได้ขยับวิ่งไปทางขวาแล้วแวบมาทางซ้าย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      พออากาศเริ่มเย็น เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นกเอี้ยงที่เคยหายไป เริ่มกลับมาส่งเสียงแก๋ๆ ตามยอดต้นโพธิ์ข้างวัด ส่วนนกเขาอยู่ประจำถิ่นในหมู่บ้าน ฤดูไหนผมก็ยังเห็นนกเขาเสมอ เดินไปมาตามถนนบ้าง เกาะสายไฟบ้าง บ้านนี้นกเขามากจริงๆ คนแปลกหน้าเข้ามา จะได้ยินเสียงนกเขาคูระงมหมู่บ้าน คงนึกว่าหมู่บ้านนี้เลี้ยงนกเขา ความจริงไม่เห็นใครเลี้ยงนกเขาเลย มันเป็นนกที่หากินเอง ว่างจากหาอาหาร มันจะคูเสียงขับกล่อมผู้คนชาวทุ่งแป้ง ขณะผมพิมพ์หนังสือ ยังได้ยินเสียงคูทุ้มๆ มาจากทิศเหนือ ละแวกบ้านน้าบุญแว่วมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  แปรงฟันล้างหน้าเสร็จเรียบร้อย ผมกลับมายืนดูที่หน้าต่างดังเดิม ฝูงนกยางยังคงบินตามกันเต็มท้องฟ้า ไม่รู้จักหมดสิ้น อากาศเริ่มเย็น ลมเย็นพัดมาจากทุ่งหน้าบ้านเอื่อยๆ บอกสัญญาณย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นกมากมายไม่รู้มันมาจากไหน มาไกลแค่ไหน บ้างว่ามันมาจากไซบีเรีย จีน มองโกล หิมาลัย มันเป็นนกปากห่าง  นกยาง ฯลฯ จำนวนเป็นแสนตัวทีเดียว สิ่งที่ตามมาคือโรคติดต่อ ต้องระวังไข้หวัดนก ที่มันนำมาฝากเจ้าของบ้าน