Skip to main content

 

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 


ผมย้ายที่นั่ง

เปลี่ยนแว่นอันใหม่เพื่อเปลี่ยนมุมมอง จะไม่เรียกว่า “โจรก่อการร้าย” หรือ”โจรแบ่งแยกดินแดน” หรือ”ผู้ก่อความไม่สงบ”ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นการมองมุมเดียวแล้วตั้งชื่อตามความเข้าใจ บนข้อมูลจากสื่อที่ได้รับทางเดียว แต่จะเรียกกลางๆว่า “ผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้” น่าจะเหมาะสม การตัดสินสรุปเรื่องราวใด คงต้องหาข้อมูลรอบด้านทั้งสองฝ่าย มองย้อนหลังไปหาอดีต หารากเหง้า

อาณาจักรปัตตานี

ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่น่าจะเกิดในสมัยแคว้นลังกาสุกะ ราวพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง ปี พ.ศ.2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ ปัตตานีจึงตกเป็นของสยามตั้งแต่บัดนั้น สยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก เหลือมาถึงกรุงเทพฯเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่       พญาปัตตานี ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ทำให้เกิดกบฏ 2 ครั้ง ต่อมาสมัยรัชการที่ 2 จึงแยกปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง พอถึงรัชกาลที่ 3 ทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา และกวาดเอาเชลยมาตั้งถิ่นฐานริมคลองแสนแสบ จนมาถึงปี พ.ศ.2445ในรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี กลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์

ในปี พ.ศ.2466

 ชาวบ้านจำนวนมากออกมาประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในรัชกาลที่ 6 ทรงออกพระบรม       ราโชบายไว้ 6 ข้อ เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ นำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงถึงปัจจุบัน พอมาถึง พ.ศ.2482 จอมพล ป.พิบูลสงครามจัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ห้ามพูดภาษามลายู ทำตามวัฒนธรรมไทย และยังมีการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ จนลุกลามเป็นกบฏในปี พ.ศ.2491 มีคนเสียชีวิต 400 คนยังไม่พอ มีการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคนในพ.ศ.2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปข้างเสาธงโรงเรียน เพื่อจัดกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้าทุกวัน...เป็นปีที่ผมดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ได้นำพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์บรรทุกรถสี่ล้อรับจ้างขึ้นอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งมอบให้โรงเรียนดำเนินการ...อีก 3 ปีต่อมาออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ(ฮิญาบ)เข้าสถานศึกษาหรือกรณีมัสยิดกรือเซะ มีผู้เสียชีวิต 107 คน รวมทั้งเหตุการณ์ตากใบมีผู้เสียชีวิต 84 คน.

การศึกษาประวัติศาสตร์

ปัตตานีในภาษาไทย มีไม่มากนัก หลักสูตรในโรงเรียนนำเสนอตามที่ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจขณะนั้นตั้งธงไว้ เรื่องราวบางอย่างจึงไม่ได้ถูกบันทึกไว้หรือละเลยมองข้ามไป ประวัติศาสตร์ในโรงเรียน จึงเป็นเพียงเหตุการณ์ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด บางครั้งถูกบิดเบือนผิดเพี้ยนไป ปัตตานีในประวัติศาสตร์ไทย คือประเทศเอกราช แขก ที่มีแต่เรื่องวุ่นวาย มีการเคลื่อนไหวประท้วงและก่อการกบฏ อิสลามในประเทศไทยมี 2 กลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่าแขกหรือบัง ขอบอกว่า แขกพวกหนึ่งใจไม่รักคนไทยเลย ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนไทย แขกพวกนั้นเรียกว่า แขกมลายู ...อย่ามึนหัวนะครับ อีกพวกหนึ่งเรียกว่า แขกไทย  แขกไทยก็คือพี่น้องอิสลามที่เป็นคนไทยทั้งกายและใจ ไม่เอาเรื่องศาสนามาเป็นปัญหา ไม่ว่ากรณีใด ส่วนพวกแขกมลายูตั้งตัวเป็นโจรปัตตานี...ผมยิ่งค้นคว้าหาความจริงมากขึ้น ก็ยิ่งเข้าใจและเห็นใจพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้นเป็นลำดับ.

 ................................................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  อ่านกวีนิพนธ์ ของโอมาร์ คัยยัม กวีชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน โดยแคน สังคีต แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรักว่า                                                     อันความรัก คืออะไร          ควรใคร่คิด          …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เนาวรัตน์กวาดสายตา เข้าไปในตัวบ้านไม้ชั้นเดียว พื้นบ้านต่ำกว่าระดับถนนคอนกรีตเล็กน้อย   ข้างฝามีปฏิทิน มีรูปคณะซอ   มีรูปแม่จันทร์สม สายธารา   นั่งคู่กับผู้ชายวัยใกล้เคียงกัน   เนาวรัตน์คาดคะเนว่า คงเป็นครูคำผาย นุปิง ทั้งคู่อยู่ในชุดคนเมือง   ข้างหลังนั่งล้อมวง   สวมเสื้อหม้อฮ่อม ปี่ 3 คน ซึง 1 คน เนาวรัตน์มองดูที่หน้าบ้านริมถนน มีสิ่งก่อสร้าง คล้ายโรงครัวเล็กๆ   มีป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดข้างฝา   บอกชื่อแม่จันทร์สม สายธารา   ที่อยู่  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น  รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด   ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร   อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านได้พูดเสริมต่อจากเจ้าอาวาส “กรรมการวัด ได้มีการประชุมหารือกันก่อนแล้วแล้วรอบหนึ่ง มีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คณะกรรมการวัด มีข้อคิดความเห็นว่า จะขอความร่วมมือร่วมใจจากศรัทธาญาติโยมทุกคน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อจัดงานบวช ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 โดยจะขอเก็บหลังคาละ 140 บาท เงิน 40 บาทจะเป็นค่าจัดทำอาหารกลางวัน  เลี้ยงศรัทธาทั้งหมู่บ้าน ส่วนอีก 100 บาท จะเป็นค่าทำบุญและค่าจ้างซอมาเล่นเฉลิมฉลอง จึงอยากถามหมู่เฮาชาวบ้านว่า  จะเห็นด้วยไหม ?” มีเสียงพึมพำอึงในวิหาร …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เสียงเคาะลำโพงปลายเสาไฟฟ้า   ในหมู่บ้านทุ่งแป้ง   ดังขึ้น 3 ครั้ง แล้วมีเสียงพูด “ ฮัลโหล !   ฮัลโหล !   ครับ !   ขอประชาสัมพันธ์ วันนี้กินข้าวแลงแล้ว   เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ   ขอเชิญทุกบ้านทุกหลังคาเรือน   มาประชุมพร้อมกันที่วัดทุ่งแป้งนะครับ มีหลายเรื่องที่จะประชุมหารือกัน   อย่าได้ขาดกันเน้อ   บอกต่อๆกันไปด้วยเน้อครับ...ขอขอบคุณครับ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
   
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ได้ยินเสียงหมอเรียก เราทั้งคู่รีบเข้าไป เห็นเจ้าเหมียวนอนตะแคงนิ่งเหมือนท่อนไม้ ลิ้นแดงเล็กห้อยคาปาก หมอบอกว่า เอาลิ้นมันคาปากไว้ หากลิ้นค้างในปากขณะมันสลบ ลิ้นอาจจุกปากหายใจไม่ออกอาจตายได้ มันจะสลบสัก 1 ชั่วโมง ลุงกับป้าช่วยกันอุ้มมันขึ้นรถ   วางมันบนเบาะหลังที่มีผ้าขนหนูรอง พอถึงบ้านอุ้มมันไปวางราบบนม้ายาวที่มีหมอนรอง ลิ้นยังคาปากเหมือนเดิม อดนึกไม่ได้ว่าตอนแมว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมมองผ่านทางเดิน ไปห้องครัว เห็นแมวต่างบ้าน เดินย่องเงียบกริบออกมา เจ้าตัวนี้มาขโมยอะไรกินบ่อยๆ ผมหมายตาจะเล่นงานมันหลายครั้ง แต่มันรอดปลอดภัยทุกที ไม่ทำร้ายอะไรมากมายหรอก จะหาไม้เล็กๆไม่ทันแล้ว เราก็นักฟุตบอล ใช้เท้าเคลื่อนไหวประจำ เตะได้ทั้งซ้ายขวา ไม่รู้จักศูนย์หน้าทีมโรงเรียนดังซะแล้ว จะหลบซ้ายขวาเจอหมด  ฮะฮ่า !..เสร็จแน่เจ้าเหมียว แมวขาวดอกลายเดินกลับออกมาใกล้ถึงมุมห้องแล้ว ผมโผล่พรวดออกไป มันตกใจยืนตลึง ผมส่งเสียงข่มขวัญ มันตั้งหลักได้ขยับวิ่งไปทางขวาแล้วแวบมาทางซ้าย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      พออากาศเริ่มเย็น เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นกเอี้ยงที่เคยหายไป เริ่มกลับมาส่งเสียงแก๋ๆ ตามยอดต้นโพธิ์ข้างวัด ส่วนนกเขาอยู่ประจำถิ่นในหมู่บ้าน ฤดูไหนผมก็ยังเห็นนกเขาเสมอ เดินไปมาตามถนนบ้าง เกาะสายไฟบ้าง บ้านนี้นกเขามากจริงๆ คนแปลกหน้าเข้ามา จะได้ยินเสียงนกเขาคูระงมหมู่บ้าน คงนึกว่าหมู่บ้านนี้เลี้ยงนกเขา ความจริงไม่เห็นใครเลี้ยงนกเขาเลย มันเป็นนกที่หากินเอง ว่างจากหาอาหาร มันจะคูเสียงขับกล่อมผู้คนชาวทุ่งแป้ง ขณะผมพิมพ์หนังสือ ยังได้ยินเสียงคูทุ้มๆ มาจากทิศเหนือ ละแวกบ้านน้าบุญแว่วมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  แปรงฟันล้างหน้าเสร็จเรียบร้อย ผมกลับมายืนดูที่หน้าต่างดังเดิม ฝูงนกยางยังคงบินตามกันเต็มท้องฟ้า ไม่รู้จักหมดสิ้น อากาศเริ่มเย็น ลมเย็นพัดมาจากทุ่งหน้าบ้านเอื่อยๆ บอกสัญญาณย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นกมากมายไม่รู้มันมาจากไหน มาไกลแค่ไหน บ้างว่ามันมาจากไซบีเรีย จีน มองโกล หิมาลัย มันเป็นนกปากห่าง  นกยาง ฯลฯ จำนวนเป็นแสนตัวทีเดียว สิ่งที่ตามมาคือโรคติดต่อ ต้องระวังไข้หวัดนก ที่มันนำมาฝากเจ้าของบ้าน