Skip to main content

ยุคข้าวยากหมากแพง

สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มาก


อื่นๆ ก็อาทิเช่น

กะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาท

บวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาท

กล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว


ส่วนใบตอง และต้นกล้วย ราคาแล้วแต่เจรจา

มะพร้าว ลูกละ 5-7 บาท สวนมะพร้าวป้าแช่มเก็บเดือนละหนได้ครั้งละ 300-500 ลูก เก็บกินสบายๆ

พริก-ทั้งแดงทั้งเขียวอย่างสด กิโลกรัมละ 40 บาทขึ้นไปแล้ว ส่วนพริกแห้ง แว่วว่ากำลังขึ้นไปถึงโลละร้อยกว่าๆ

ฯลฯ

 

ลุงหนู- ได้กระดูกหมูมาราคาถูกๆ ตั้งใจว่าจะทำต้มจับฉ่ายเสียหน่อย ไม่ได้กินมานานปี ปั่นจักรยานไปตลาดนัด มุ่งตรงไปแผงผัก เลือกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า หัวไชเท้า ผักกวางตุ้ง ผักชีล้อม อย่างละนิดละหน่อยกะว่าไม่น่าเกินสามสิบบาท พอแม่ค้าคิดเงินบอก หกสิบเจ็ดบาทค่ะ


ลุงหนูตกใจกระเป๋าสตางค์แทบร่วง

...กูต้มใส่น้ำเยอะๆ เอาไว้อุ่นกินสักเดือน แหม...เจ็บใจจริงๆ ผักสมัยนี้มันแพงชิบ...”

แกบ่นพึมพำในวงกาแฟ

ผักราคาแพง ไปถามป้าเรียง คนขายผัก แกก็ว่า

...ก็น้ำมันมันแพงนี่หว่า ไปจะรับซื้อผัก หรือขนผักไปขายก็ต้องใส่รถไป ไม่อยากขายแพงหรอก พอขายแพงลูกค้าก็บ่น ขายได้น้อยด้วย...”

เดินไปที่สวนผักของลุงไหว ที่แกปลูกไว้สารพัดอย่าง ทั้งถั่วฝักยาว มะเขือเทศ บวบ มะนาว

แกก็ว่า

...อ้าว-ราคายา ราคาปุ๋ยมันขนาดนี้แล้ว ถ้าผักราคาถูกก็ขาดทุนป่นปี้เท่านั้นเอง นี่ก็ว่าเมล็ดพันธุ์จะขึ้นราคาอีก เฮ้อ...เมล็ดผัก เมล็ดละบาท บริษัทมันยังรวยไม่พอหรือไง...”

ตาเอิบ เกี่ยวข้าวก่อนใครในหมู่บ้าน ได้มาร่วมสิบตัน ชาวบ้านต่างพากันถามไถ่ ปีนี้โชคดีจริงได้จับเงินแสน แต่ ตาเอิบ ส่ายหัวบอกว่า

...ได้จับแป๊บเดียวเท่านั้นแหละ พอจ่ายค่าปุ๋ยค่ายาค่ารถไถค่ารถเกี่ยวค่านู่นค่านี่ ก็เหลือไม่กี่หมื่น แล้วไอ้ที่เหลือนี่ต้องเตรียมไว้จ่ายค่าเทอมให้ลูกด้วย...”


ดูเหมือนว่า คนซื้อกระเป๋ารั่วเงินไหล คนขายได้เงินเพิ่ม แต่คนขายก็ต้องไปซื้อเขากินเหมือนกัน

สรุปแล้ว ไม่มีเงินในกระเป๋าใครเพิ่มขึ้นหรอก นอกเสียจากนายทุน+นักการเมืองขี้โกงที่หากินบนความเดือดร้อนของคนพูดภาษาเดียวกัน

แต่อย่างไรเสีย ยุคข้าวยากหมากแพง อยู่บ้านนอก หรือชุมชนที่ค่าครองชีพต่ำ ก็เครียดน้อยกว่าอยู่เมืองใหญ่ ที่ก้าวขาออกจากบ้านก็เสียตังค์แล้ว แค่ค่ารถเมล์วันๆ ก็เกินครึ่งร้อยแล้วกระมัง

อยู่บ้านนอก มีข้าวแล้ว กับข้าวก็หาเอาตามหลังบ้าน ตามหัวไร่ปลายนา ไม่มีอดตาย ปลูกนู่นปลูกนี่ขายแม่ค้า เดือนหนึ่งได้สามสี่พันก็ยังพอถูไถ แต่คนขยันเขาว่ากันเดือนละเป็นหมื่น เป็นแสน


ตัดกะเพราวันละร้อยกิโล

เก็บมะนาววันละพันกว่าลูก

ตัดกล้วยวันละยี่สิบเครือ

ตัดตะไคร้วันละร้อยกว่ามัด

ตัดใบเตยวันละห้าร้อยใบ

เก็บเห็ดฟางวันละสี่สิบห้าสิบกิโล

ฯลฯ

 

ไอ้จก ทำงานโรงงานมาหลายปี พอแต่งเมียก็ออกจากงานมาอยู่บ้านเมีย ตั้งใจว่าจะทำงานด้านเกษตร เป็นนายตัวเองสบายใจกว่า พ่อตาแม่ยาย ก็ทำนาหลายสิบไร่ ปลูกผักอีกหลายไร่ แต่อยู่ๆ ไปก็ไม่มีทีท่าว่าจะแบ่งที่ทำกินให้ไอ้จกแต่อย่างใด


ลุงหมู บ้านอยู่คนละหมู่ เพาะเห็ดมาหลายปีจนมีกินมีใช้ มาแนะนำว่า ถ้าสนใจจะเพาะเห็ด แกจะช่วย ไอ้จก ลองหาหนังสือการเพาะเห็ดมาอ่านก็เห็นว่าเข้าท่าดี เลยขอที่แม่ยายแค่ไม่กี่ตารางวาปลูกโรงเห็ดเล็กๆ ที่หลังบ้าน


พอถึงวัน ลุงหมูก็เอาก้อนเห็ดมาลงให้ เริ่มต้นที่ห้าร้อยก้อน

 

เห็ดนั้นดูแลไม่ยาก รดน้ำสามเวลา ดูแลให้สะอาด บรรยากาศชุ่มเย็น แต่อย่าให้แฉะ แค่นั้นก็เก็บได้ทุกวัน แต่เห็ดไม่เหมือนพืชผัก จะไปบังคับมันไม่ได้ ใส่ปุ๋ยฉีดยาแบบพืชก็ไม่ได้ บทมันจะออกเยอะก็ขายแทบไม่ทัน บทมันจะไม่ออก มันก็ไม่โผล่ให้เห็นแม้แต่ตุ่มเดียว


เนื่องจากเห็ดที่เพาะส่วนใหญ่จะแพ็คใส่โฟมส่งแม่ค้าทั้งหมด ชาวบ้านจึงไม่ค่อยจะได้กิน แต่ไอ้จกเพาะเห็ดได้ก็ขายแถวบ้าน จากปากต่อปาก เห็ดแบบบ้านๆ จึงขายหมดแทบทุกวัน หลังๆ มีร้านอาหารมาสั่ง ได้ส่งประจำอีกต่างหาก


พอเห็ดเริ่มออกพอได้ขาย ไอ้จกกับเมียก็ขยันดูแล หมั่นรดน้ำ เก็บขายได้วันละหลายสิบบางวันก็เป็นร้อย

ราคาเห็ดแพก(หนักหนึ่งขีด)ส่งแม่ค้า แพกละ 7 บาท


ราคาเห็ดใส่ถุง ดอกเล็กบ้างใหญ่บ้าง ถุงละสองขีด ราคาถุงละสิบบาท

เห็ดนั้น มีเท่าไรแม่ค้าก็เอาหมด จะส่งเป็นกิโลก็น่าจะได้ราคาราว 35-40 บาท

ทำให้ไอ้จกเริ่มเชื่อมั่นว่า น่าจะไปได้ดีในอนาคต ไอ้จกกะว่าจะทำโรงใหญ่ ลงสักหมื่นก้อนไปเลย ถ้าเห็นผลลัพธ์ชัดๆ อย่างนี้ กู้เงินสหกรณ์ฯ มาลงทุนก็ไม่ต้องกลัว

 

สถานการณ์ข้าวยากหมากแพง วัตถุดิบในการประกอบอาหารล้วนขึ้นราคา ความต้องการก็เพิ่มขึ้นไม่หยุด เมื่อเมียไอ้จก ขอแบ่งที่จากพ่อแม่เพื่อทำโรงเห็ดก็ไม่มีปัญหา อะไรๆ มันก็ทำท่าจะดี

 

แต่ติดอยู่นิดเดียว

ก็ตรงที่ว่า ผักทั้งหลายที่เขาปลูกไว้นั้น ต้องฉีดยา แล้วเมื่อฉีดยา ก็เลี่ยงไม่ได้ที่มันจะฟุ้งเข้าไปในโรงเพาะเห็ด แล้วเมื่อเห็ด ซึ่งไวต่อทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และสารเคมี โดนยาฆ่าแมลงเข้า มันก็จะไม่ออกดอก


จะไม่ให้ฉีดก็ไม่ได้ เพราะที่ดินนี้ มันไม่ใช่ของไอ้จก

จะไปเช่าที่เขา ก็ไม่คุ้มแน่ๆ เพราะที่ๆ มีน้ำก็แพง ส่วนที่ถูกๆ ก็ไม่มีน้ำ ไกลบ้าน ดูแลไม่ได้

ถึงความสัมพันธ์กับพ่อตาแม่ยายจะดี ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเขายังต้องปลูกผักยังต้องฉีดยา ไอ้จกก็หมดสิทธิ์เพาะเห็ด

แม้ว่าเห็ดยังคงราคาดี คนซื้อก็มีมากมาย

แต่อะไรๆ ที่ทำท่าจะดี หรือ ลู่ทางทำกินที่ทำท่าจะไปได้สวย ก็จำต้องเอวังด้วยประการฉะนี้

 

...อะไรๆ มันก็ดี ยกเว้นแต่ว่า...มันไม่ใช่ที่ของเรา...”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…