Skip to main content

แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี


หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง


มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง

ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า ถ้าแกเกี่ยวตอนที่ราคากำลังพุ่ง แกอาจจะได้มากกว่านี้

...นี่ก็ดีมากมายแล้ว ปีก่อนนู้น ข้าเหลือแค่เจ็ดพัน...” แกว่า

...แกยังดีได้ตั้งเจ็ดพัน ข้าสิโดนปุ๋ยปลอมเข้าไป ข้าวก็ไม่งาม ได้แค่สี่พัน..” ยายจันบ่นบ้าง

...ข้าเคยได้แค่แปดร้อย...” ป้าใสว่า พลางหัวเราะหึๆ

พูดไปก็เหลือเชื่อ ทำนาเหนื่อยแทบตาย แต่ข้าวหนึ่งเกวียนราคาถูกกว่าโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง


ปุ๋ยสูตร กระสอบละ 1,000-1,300 บาท

ยาฆ่าแมลง ลิตรละ 600-800 บาท

ฮอร์โมน ลิตรละ 300-500 บาท

ค่ารถไถ ไร่ละ 700 บาท

ค่ารถเกี่ยวข้าว ไร่ละ 600 บาท

ได้ข้าวไร่ละเกวียน (100 ถัง) ก็นับว่ามากโข แต่อาจต้องหนักปุ๋ยหลายลูก หนักยาหลายลิตร หนักฮอร์โมนอีกหลายขวด ไปๆ มาๆ เหลือเข้ากระเป๋าแค่ไม่กี่พัน แถมสะสมสารเคมีไว้ในข้าวส่งต่อให้ผู้บริโภคอีกเพียบ


ปุ๋ยใส่น้อย ข้าวก็ไม่งาม พ่นยาน้อย หญ้าก็โตแซงข้าว แมลงก็ลง หอยเชอรี่ก็ระบาด พอได้ข้าวมา ยังกำหนดราคาเองไม่ได้อีกต่างหาก เท่าไรก็ต้องขาย ไม่มีสิทธิ์ต่อรอง


วันหนึ่งที่หน้าร้านป้าน้อย ร้านขายของประจำหมู่บ้าน มีคนบ่นว่า ทำไมปุ๋ยมันต้องแพง มันผลิตยาก หรือต้นทุนมันสูง หรืออย่างไรกันแน่


น้าชัย อดีตคนขับรถบรรทุก ปัจจุบันทำสวนกล้วย ดูดน้ำขวดสองทีก่อนจะเล่าว่า

...หลายปีก่อน ข้าเคยขับรถบรรทุกไปขนปุ๋ย ที่ท่าเรือ ก็ไอ้ปุ๋ยอย่างที่พวกเราใช้กันนี่แหละ ทีแรกข้าก็นึกว่ามันจะมาเป็นกระสอบ เปล่า...มันมาเป็นเม็ดๆ มีท่อต่อจากเรือมาใส่กระสอบ ปิดกระสอบแล้วก็ขนขึ้นรถบรรทุก ข้าเห็นแล้ว ก็สงสัยว่า ไอ้ปุ๋ยแบบนี้ มันแพงตรงไหนวะ ...”

ตรงไหนล่ะน้า?” ไอ้จุกถาม

กูก็ไม่รู้” น้าชัย ดูดน้ำขวดอีกสองทีแล้วก็เดินกลับบ้านไป


เจ้านายฉันที่กรุงเทพฯ...” พี่ชิน คนไปทำงานกรุงเทพฯ กลับบ้านเดือนละครั้ง เล่าบ้าง

...เขารวย ทำกิจการตั้งหลายอย่าง รถนี่มีร่วมสิบคันได้มั้ง... เขารู้ว่าที่บ้านเราทำนา เขาก็เลยบอกฉันว่า กำลังเข้าหุ้นกับเพื่อนทำบริษัทผลิตปุ๋ยกึ่งเคมีกึ่งชีวภาพราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีเยอะ เดี๋ยวจะให้ฉันเอามาลองใช้”

กระสอบเท่าไรล่ะ?” ป้าแมวสนใจ


เห็นว่ากระสอบละสามร้อยกว่าบาทเองนะ”

งั้นเอามาให้ข้าสักสามกระสอบสิ สามกระสอบพันเดียว ยังถูกกว่าปุ๋ยสูตรอีกนา” ป้าแมวท่าจะเอาจริง แต่พี่ชินส่ายหัวบอกว่า

พอแกจะเอาไปจดทะเบียนบริษัท ข้างบนเขาไม่ให้แกจด”

อ้าว...ทำไมล่ะ?”

เขาว่า ของแกถูก เดี๋ยวไปตีตลาดทำให้ปุ๋ยแพงของเขาขายไม่ได้ ตอนนี้ก็เลยต้องทำแบบส่งขายเอง โฆษณาไม่ได้ ฉันก็อยากเอามาลองใช้ แต่เห็นแกกลุ้มๆ อยู่เลยไม่กล้าถาม”

ในวงการปุ๋ยก็มีมาเฟียด้วยหรือพี่?” ไอ้จุกถาม

มันก็มีทุกวงการนั่นแหละ”


นับแต่แผนพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้ผลิตข้าวเพื่อการส่งออก หน่วยงานรัฐก็มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์นี้สิ ปลูกแล้วจะได้ผลิตผลเยอะ แล้วก็ต้องใช้ปุ๋ยสูตรนั้นสิดี ใช้ยาสูตรนี้สิได้ผล จากเคยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยา ก็เปลี่ยนมาเป็น “ข้าวกะหรี่ติดยา” นอกจากจะมีชื่อข้าวเป็นเบอร์นั้นเบอร์นี้ (เบอร์ตองไม่มี) แล้วยังติดยาติดปุ๋ย ต้องใส่ตลอด ถ้าไม่ใส่หรือใส่น้อย ข้าวก็ไม่โต ใส่นานปีเข้า ดินเริ่มเสื่อม เลยต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี


ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นทุกปี

ราคายาเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ราคาข้าวขยับอยู่แค่สี่พัน ห้าพัน

คนทำนาเอง ขายข้าวได้แค่ไม่กี่พัน

คนเช่านาเขาทำ แทบไม่เหลืออะไรเลย


ชาวนา (แท้ๆ) คนไหน ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องแปลกประหลาด ครอบครัวต้องใช้เงิน ลูกต้องส่งเรียน ไม่ดิ้นรนไปรับจ้างหางานทำ ก็เอาที่เข้าธนาคาร ไม่มีปัญญาปลดหนี้ ธนาคารก็ฟ้อง ก็ยึด


ตอนเอาโฉนดไปจำนอง เจ้าหน้าที่แทบจะอุ้มเข้าไป แต่พอจะไปขอประนอมหนี้ น้ำแก้วเดียวเขาก็ไม่ให้กิน

ตอนนี้ข้าวราคาดี นายทุนเลิกให้เช่า จ้างคนมาทำนาแทน สมัยนี้เทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างสะดวกดาย ไถ หว่านข้าว ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว ใช้เครื่องจักรแทบจะทุกขั้นตอน ถ้าข้าวยังราคาดี จัดการเป็น ก็ได้กำไรเหนาะๆ ไร่ละหลายพัน


ในอนาคต อาหารและพลังงาน คือสิ่งที่กำลังจะขาดแคลน

จะแปลกอะไร เมื่อมีข่าวว่า นายทุนซาอุฯ มาลงทุนทำนาในเมืองไทย

แขกขายน้ำมัน รวยแค่ไหนก็ยังต้องกินข้าว


แต่ประเทศไทย คิดกันคนละอย่าง

ลงทุนกับเรื่องพลังงานมากมายมหาศาล แล้วก็ปล่อยให้คนทำนา ค่อยๆ แห้งตายเพราะโดนสูบเลือดสูบเนื้อจนหมดตัว พอเข้าเมืองกรุงไปประท้วง คนกรุงเทพฯ ก็ด่าว่าทำให้การจราจรติดขัด

โอหนอ...ชาวนาไทย


ถ้าไม่มีการมองโลกในแง่ดี (อย่างสูงยิ่ง) หล่อเลี้ยงจิตใจ

ชาวนาไทยคงฆ่าตัวตายกันหมดแล้ว



บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…