Skip to main content

แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี


หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง


มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง

ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า ถ้าแกเกี่ยวตอนที่ราคากำลังพุ่ง แกอาจจะได้มากกว่านี้

...นี่ก็ดีมากมายแล้ว ปีก่อนนู้น ข้าเหลือแค่เจ็ดพัน...” แกว่า

...แกยังดีได้ตั้งเจ็ดพัน ข้าสิโดนปุ๋ยปลอมเข้าไป ข้าวก็ไม่งาม ได้แค่สี่พัน..” ยายจันบ่นบ้าง

...ข้าเคยได้แค่แปดร้อย...” ป้าใสว่า พลางหัวเราะหึๆ

พูดไปก็เหลือเชื่อ ทำนาเหนื่อยแทบตาย แต่ข้าวหนึ่งเกวียนราคาถูกกว่าโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง


ปุ๋ยสูตร กระสอบละ 1,000-1,300 บาท

ยาฆ่าแมลง ลิตรละ 600-800 บาท

ฮอร์โมน ลิตรละ 300-500 บาท

ค่ารถไถ ไร่ละ 700 บาท

ค่ารถเกี่ยวข้าว ไร่ละ 600 บาท

ได้ข้าวไร่ละเกวียน (100 ถัง) ก็นับว่ามากโข แต่อาจต้องหนักปุ๋ยหลายลูก หนักยาหลายลิตร หนักฮอร์โมนอีกหลายขวด ไปๆ มาๆ เหลือเข้ากระเป๋าแค่ไม่กี่พัน แถมสะสมสารเคมีไว้ในข้าวส่งต่อให้ผู้บริโภคอีกเพียบ


ปุ๋ยใส่น้อย ข้าวก็ไม่งาม พ่นยาน้อย หญ้าก็โตแซงข้าว แมลงก็ลง หอยเชอรี่ก็ระบาด พอได้ข้าวมา ยังกำหนดราคาเองไม่ได้อีกต่างหาก เท่าไรก็ต้องขาย ไม่มีสิทธิ์ต่อรอง


วันหนึ่งที่หน้าร้านป้าน้อย ร้านขายของประจำหมู่บ้าน มีคนบ่นว่า ทำไมปุ๋ยมันต้องแพง มันผลิตยาก หรือต้นทุนมันสูง หรืออย่างไรกันแน่


น้าชัย อดีตคนขับรถบรรทุก ปัจจุบันทำสวนกล้วย ดูดน้ำขวดสองทีก่อนจะเล่าว่า

...หลายปีก่อน ข้าเคยขับรถบรรทุกไปขนปุ๋ย ที่ท่าเรือ ก็ไอ้ปุ๋ยอย่างที่พวกเราใช้กันนี่แหละ ทีแรกข้าก็นึกว่ามันจะมาเป็นกระสอบ เปล่า...มันมาเป็นเม็ดๆ มีท่อต่อจากเรือมาใส่กระสอบ ปิดกระสอบแล้วก็ขนขึ้นรถบรรทุก ข้าเห็นแล้ว ก็สงสัยว่า ไอ้ปุ๋ยแบบนี้ มันแพงตรงไหนวะ ...”

ตรงไหนล่ะน้า?” ไอ้จุกถาม

กูก็ไม่รู้” น้าชัย ดูดน้ำขวดอีกสองทีแล้วก็เดินกลับบ้านไป


เจ้านายฉันที่กรุงเทพฯ...” พี่ชิน คนไปทำงานกรุงเทพฯ กลับบ้านเดือนละครั้ง เล่าบ้าง

...เขารวย ทำกิจการตั้งหลายอย่าง รถนี่มีร่วมสิบคันได้มั้ง... เขารู้ว่าที่บ้านเราทำนา เขาก็เลยบอกฉันว่า กำลังเข้าหุ้นกับเพื่อนทำบริษัทผลิตปุ๋ยกึ่งเคมีกึ่งชีวภาพราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีเยอะ เดี๋ยวจะให้ฉันเอามาลองใช้”

กระสอบเท่าไรล่ะ?” ป้าแมวสนใจ


เห็นว่ากระสอบละสามร้อยกว่าบาทเองนะ”

งั้นเอามาให้ข้าสักสามกระสอบสิ สามกระสอบพันเดียว ยังถูกกว่าปุ๋ยสูตรอีกนา” ป้าแมวท่าจะเอาจริง แต่พี่ชินส่ายหัวบอกว่า

พอแกจะเอาไปจดทะเบียนบริษัท ข้างบนเขาไม่ให้แกจด”

อ้าว...ทำไมล่ะ?”

เขาว่า ของแกถูก เดี๋ยวไปตีตลาดทำให้ปุ๋ยแพงของเขาขายไม่ได้ ตอนนี้ก็เลยต้องทำแบบส่งขายเอง โฆษณาไม่ได้ ฉันก็อยากเอามาลองใช้ แต่เห็นแกกลุ้มๆ อยู่เลยไม่กล้าถาม”

ในวงการปุ๋ยก็มีมาเฟียด้วยหรือพี่?” ไอ้จุกถาม

มันก็มีทุกวงการนั่นแหละ”


นับแต่แผนพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้ผลิตข้าวเพื่อการส่งออก หน่วยงานรัฐก็มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์นี้สิ ปลูกแล้วจะได้ผลิตผลเยอะ แล้วก็ต้องใช้ปุ๋ยสูตรนั้นสิดี ใช้ยาสูตรนี้สิได้ผล จากเคยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยา ก็เปลี่ยนมาเป็น “ข้าวกะหรี่ติดยา” นอกจากจะมีชื่อข้าวเป็นเบอร์นั้นเบอร์นี้ (เบอร์ตองไม่มี) แล้วยังติดยาติดปุ๋ย ต้องใส่ตลอด ถ้าไม่ใส่หรือใส่น้อย ข้าวก็ไม่โต ใส่นานปีเข้า ดินเริ่มเสื่อม เลยต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี


ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นทุกปี

ราคายาเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ราคาข้าวขยับอยู่แค่สี่พัน ห้าพัน

คนทำนาเอง ขายข้าวได้แค่ไม่กี่พัน

คนเช่านาเขาทำ แทบไม่เหลืออะไรเลย


ชาวนา (แท้ๆ) คนไหน ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องแปลกประหลาด ครอบครัวต้องใช้เงิน ลูกต้องส่งเรียน ไม่ดิ้นรนไปรับจ้างหางานทำ ก็เอาที่เข้าธนาคาร ไม่มีปัญญาปลดหนี้ ธนาคารก็ฟ้อง ก็ยึด


ตอนเอาโฉนดไปจำนอง เจ้าหน้าที่แทบจะอุ้มเข้าไป แต่พอจะไปขอประนอมหนี้ น้ำแก้วเดียวเขาก็ไม่ให้กิน

ตอนนี้ข้าวราคาดี นายทุนเลิกให้เช่า จ้างคนมาทำนาแทน สมัยนี้เทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างสะดวกดาย ไถ หว่านข้าว ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว ใช้เครื่องจักรแทบจะทุกขั้นตอน ถ้าข้าวยังราคาดี จัดการเป็น ก็ได้กำไรเหนาะๆ ไร่ละหลายพัน


ในอนาคต อาหารและพลังงาน คือสิ่งที่กำลังจะขาดแคลน

จะแปลกอะไร เมื่อมีข่าวว่า นายทุนซาอุฯ มาลงทุนทำนาในเมืองไทย

แขกขายน้ำมัน รวยแค่ไหนก็ยังต้องกินข้าว


แต่ประเทศไทย คิดกันคนละอย่าง

ลงทุนกับเรื่องพลังงานมากมายมหาศาล แล้วก็ปล่อยให้คนทำนา ค่อยๆ แห้งตายเพราะโดนสูบเลือดสูบเนื้อจนหมดตัว พอเข้าเมืองกรุงไปประท้วง คนกรุงเทพฯ ก็ด่าว่าทำให้การจราจรติดขัด

โอหนอ...ชาวนาไทย


ถ้าไม่มีการมองโลกในแง่ดี (อย่างสูงยิ่ง) หล่อเลี้ยงจิตใจ

ชาวนาไทยคงฆ่าตัวตายกันหมดแล้ว



บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…