Skip to main content

“...เราจะต้องดำรงชีวิตที่เป็นของเราเอง การงานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น และงานคือชีวิตก็ต่อเมื่อเราทำงานนั้นด้วยสติเท่านั้น มิฉะนั้นเราก็จะเหมือนกับคนตายที่มีชีวิตอยู่ เราแต่ละคนจะต้องจุดคบเพลิงของชีวิตด้วยตนเอง แต่ชีวิตของเราแต่ละคนเกี่ยวพันกับชีวิตของบุคคลรอบๆ เราด้วย หากเรารู้จักวิธีปกปักรักษา และระวังจิตใจและหฤทัยของเราเอง นั่นแหละจะช่วยให้พี่น้องเพื่อนมนุษย์รอบข้างเรา รู้จักการมีชีวิตอยู่อย่างมีสติ...”

(ติช นัท ฮันห์,ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ: มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่ 17,กันยายน 49)

ความเปลี่ยนแปลง คือสัจธรรม ไม่มีสิ่งใดที่จะคงทนถาวรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เปลี่ยนด้วยตัวของมันเอง ก็ถูกสิ่งอื่นทำให้ต้องเปลี่ยน

“มนุษย์” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้

สมมติว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเป็นเวลายี่สิบปีเราจะไม่ส่องกระจกเลย เราใช้ชีวิต เราพบผู้คน เราสื่อสารกับพวกเขาเหล่านั้น เราฟังข่าวจากวิทยุ-โทรทัศน์ เราอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ เราทำงาน เราทานอาหาร เราอ่านหนังสือ เราออกกำลังกาย เราเหนื่อย เราพักผ่อน เราประสบความสำเร็จ เราเลี้ยงฉลอง เรามีความสุข เราเดินทาง เราล้มเหลว เราร้องไห้ เราทุกข์ เราเศร้า แล้วเราก็หายเศร้า เรากลับไปใช้ชีวิตอีกครั้ง วนเวียนเป็นวัฏจักรเช่นนี้

หนึ่งวันผ่านไป เมื่อเราลืมตาตื่นในวันต่อมา ภายนอกเรายังเป็นเราคนเดิม แต่ ภายในตัวเราไม่ใช่คนเดิมอีกแล้ว ชีวิตหนึ่งวันที่ผ่านได้ทำให้เราเปลี่ยนไปแม้จะเล็กน้อยและเชื่องช้าอย่างยิ่งก็ตาม หนึ่งปีผ่านไป หลังผ่านพ้นการฉลองปีใหม่ ย้อนมองกลับไป เราอาจจะตกใจเมื่อคิดได้ว่าเราผ่านอะไรมาบ้างในหนึ่งปีนั้น

ห้าปีผ่านไป สิบปีผ่านไป ยี่สิบปีผ่านไป เมื่อส่องกระจกอีกครั้งเราอาจจะจำตัวเองไม่ได้เสียแล้ว รูปร่างหน้าตาของเรายังมีเค้าเดิมอยู่ อาจจะกร้านโลกขึ้น อ่อนเยาว์น้อยลง แต่ภายในนั้น อาจจะไม่เห็นร่องรอยของยี่สิบปีก่อนอยู่เลย

ความสำคัญของระยะเวลาที่ผ่านไปสำหรับมนุษย์ ไม่ว่าจะแค่หนึ่งวันหรือยี่สิบปี ไม่ใช่อายุ ไม่ใช่สังขาร ไม่ใช่ความรู้ แต่คือการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้น เราถูกทำให้เปลี่ยน หรือ เราได้เลือกที่จะเปลี่ยนด้วยตนเอง

แน่ละการดำเนินชีวิตมันก็ต้องมีทั้งสองด้าน แต่ด้านไหนล่ะที่มีมากกว่ากัน ถ้าให้ตอบอย่างจริงใจที่สุด คนส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนแปลงจากสิ่งแวดล้อม มากกว่าการเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง ชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยจึงดำเนินไปพร้อมกับคำถามว่า “ชีวิตคืออะไร?” หรือ “เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?” ผุดขึ้นมาในใจอยู่เสมอ

นานมาแล้วที่ผมเคยถามคำถามข้างต้น ถามและพยายามที่จะแสวงหาคำตอบ ได้คำตอบที่น่าคิดบ้าง ได้คำตอบที่เหลวไหลบ้าง เมื่อเวลาผ่านไป คำถามนี้ก็สำคัญน้อยกว่าคำถามที่ว่า พรุ่งนี้จะกินอะไร หรือ จะมีทางหาเงินได้มากกว่านี้อย่างไร จนไม่นานมานี้เอง ที่หลายสิ่งหลายอย่างได้ทำให้ผมเริ่มมองเห็นคำตอบของคำถามที่เกือบจะลืมเลือนไปแล้ว แม้จะไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนเหมือนหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่ก็รู้แล้วว่า ชีวิตไม่ได้ดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย ทุกชีวิตมาอยู่บนโลกด้วยเป้าหมายอะไรบางอย่าง ท่ามกลางทางเลือกและทางแยกมากมาย เราทุกคนมีสิทธิ์ เลือก ไม่ใช่เป็นเพียง ผู้ถูกเลือก

ความเชื่อของคนนั้น ก่อรูปขึ้นด้วยประสบการณ์ชีวิต การตั้งคำถาม ความขัดแย้ง จนประสบกับตัวตนที่ชัดเจนที่สุดของตนเอง จำเพาะเรื่องความเชื่อส่วนบุคคล กว้างไกลไปถึงความเชื่อเรื่องชีวิต ก็สามารถพูดคุยได้อย่างไม่รู้จบสิ้น คุณค่าของใครก็ของมัน หนทางของใครก็ของมัน ไม่ควรก้าวก่าย ไม่ควรหยามเหยียด ไม่ควรดูถูกกัน กระนั้น ก็ไม่อาจแกล้งทำเป็นลืมได้ว่า โลกนี้ก็มีหนทางของมันเองเช่นกัน และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำต่อโลก ผลของมันก็ย่อมสะท้อนแก่ตัวมนุษย์เอง

สัจธรรมประการหนึ่ง ที่พบได้ในคำสอนของหลายๆ ศาสนา ไม่จำเพาะเพียงศาสนาพุทธ นั่นคือคำสอนที่ว่าด้วยการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเท่านั้นที่เรามีชีวิตอยู่ อดีตนั้นล่วงเลยไปแล้ว และอนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันจึงสำคัญทุกขณะ แน่นอน เราไม่อาจยึดจับปัจจุบันได้ เพราะปัจจุบันย่อมเคลื่อนไปด้วยตรรกะของเวลา แต่สิ่งที่เชื่อมโยงตัวเรากับปัจจุบันขณะได้นั้นมีอยู่ นั่นคือ “สติ” ของเรานั่นเอง

ผมยกคำสอนของท่าน ติช นัท ฮันห์ ขึ้นในตอนต้นเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่า ชีวิตของเราจะไม่มีค่าอะไรเลยถ้าเราไม่ได้ดำรงชีวิตอย่างมีสติ รู้ในสิ่งที่เรากำลังทำ อยู่กับปัจจุบันขณะ เรื่องนี้ดูเหมือนจะง่ายแต่จริงๆ แล้วลึกซึ้งมาก หากพยายามทำความเข้าใจ เราจะรู้ถึงคุณค่าของปัจจุบันขณะของการมีชีวิต นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในโลกที่คนส่วนใหญ่ละเลยความสำคัญของปัจจุบันขณะ มุ่งแต่จะพุ่งไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้อยู่กับสิ่งที่ทำ บางคนห่วงกังวลถึงสิ่ง

ที่ล่วงไปแล้ว และบางคนก็มัวแต่คาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เราจึงมองไม่เห็นคุณค่าของปัจจุบัน ขณะที่ชีวิตเรายังดำรงอยู่ ขาดภูมิต้านทานการตระหนักรู้ความสุขในปัจจุบัน เมื่อทุกข์มากเข้าก็กลายเป็นว่ามองไม่เห็นคุณค่าของชีวิตตนเอง

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เพื่อจะสอนธรรมะนะครับ เพียงแค่อยากแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีสติ เห็นคุณค่าของสติ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างตระหนักรู้แล้ว ยังทำให้คนรอบข้างเราได้ตระหนักรู้ไปพร้อมกับเราด้วย

ก่อนหน้าที่คอลัมน์ “ทางใบไม้”จะเกิดขึ้น ผมเขียนคอลัมน์ “สถานการณ์ไม่ปกติ” มาประมาณปีกว่า แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะเขียนในกรอบเรื่องสังคม การเมือง เศรษฐกิจ แต่ไปๆ มาๆ ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้ทั้งหมด ชีวิตที่ดำเนินไป ทำให้ผมหันเหความสนใจไปในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมปัจจุบันมากกว่า คอลัมน์ของผมช่วงหลังๆ ก็มักจะมีเรื่องในแนวทางนี้ค่อนข้างมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในด้านคอลัมน์ของประชาไท ผมจึงขออนุญาตเปลี่ยนแนวทางการเขียนให้ตรงกับสิ่งที่ตั้งใจไว้

คำว่า ใช้ชีวิต ผมคิดว่าเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางและลึกซึ้ง เพราะทุกคนมีเพียงหนึ่งชีวิต หนึ่งชีวิตนี้คุณจะใช้อย่างไร เพื่อใคร เพื่ออะไร นี่เป็นคำถามสำคัญยิ่ง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ทั้งในระดับสังคม กระทั่งลึกซึ้งไปจนถึงระดับปรัชญาและศาสนา

ขึ้นต้นด้วยธรรมะ แต่ขอเรียนว่าคอลัมน์ “ทางใบไม้” ไม่ใช่คอลัมน์เกี่ยวกับธรรมะ เพราะผมไม่ใช่นักบวช ทั้งไม่มีความรู้มากพอจะสอนใครได้ แต่ผมสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ในเรื่องการใช้ชีวิตตามแนวทางที่มนุษย์ควรจะเดิน และคาดว่าด้วยกรอบเท่านี้ ก็น่าจะกว้างใหญ่พอที่จะไม่ทำให้ผมอับจนปัญญาในการหาเรื่องนำมาเสนอ ผมเริ่มต้นด้วยเรื่องของสติ เพราะเชื่อว่า ชีวิตจะมีคุณค่าเมื่อเราใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้มีสติรู้ตัวในสิ่งที่ทำ สิ่งที่รับผิดชอบ และสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะทำได้ในขณะนี้

ถ้าใช้ชีวิตอย่างหลับไหล หรือครึ่งหลับครึ่งตื่นอยู่ ก็น่าจะลองทบทวนดู ว่าที่ผ่านมาเราได้ใช้ชีวิต อย่างขาดสติ หรือมีสติ และต่อไป เราจะยังใช้ชีวิตแบบเดิม หรือ เปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม ผมไม่ใช่คนยิ่งใหญ่ขนาดจะปลุกใครให้ตื่นได้หรอกครับ คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นก็คือตัวท่านเองตัวท่านเองเท่านั้น ที่จะปลุกตัวท่านเองให้ตื่นขึ้นตัวท่านเองเท่านั้น ที่จะสร้างตัวท่านเองให้เป็นอย่างที่ท่านต้องการ

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…