Skip to main content

สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู


แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง


อาจดูน้อยจนไม่น่าเชื่อว่า คนดูเพียงแค่นี้ คณะลิเกจะยอมเล่น ทว่า ด้วยจำนวนคนเพียงแค่นี้นี่เอง ที่ทำให้รายได้ให้คณะฯ ทุกค่ำคืนอย่างที่เรียกได้ว่า “คุ้มค่าตัว”

ยายจัน - คนแก่ขี้เหงา ลูกสาวไปขายของทำเงินจนมีรถหลายคันมีบ้านหลังใหญ่ แต่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เลยปล่อยให้ยายจัน มาเป็นแม่ยกลิเก

ป้าย้อย – แม่ค้าขายผลไม้ตลาดในอำเภอ แผงของแกใหญ่ที่สุด ขายดีที่สุด ปล่อยให้ผัวกับลูกเฝ้าบ้าน มานั่งดูลิเกแทบจะทุกคืน

น้าวัน – แม่บ้าน สามีเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่มีเวลาให้ความสุขกับภรรยา แกเลยมาหาความสุขจากการดูลิเก สัปดาห์ละหลายคืน

ลุงกิจ – ชาวนาเพิ่งเกษียณ ปล่อยให้ลูกสาวกับลูกเขยดูแลที่สวนที่นาหลายสิบไร่ ตัวเองก็มานั่งดูลิเกทุกคืน ด้วยเหตุผลที่ว่า “เบื่อทีวี”

คุณนายตำรวจ – ไม่มีใครรู้ว่าแกชื่ออะไร แต่มีคนจำได้ว่าแกเป็นเมียนายตำรวจระดับสารวัตร แกจะมานั่งดูลิเก สัปดาห์หนึ่งแค่ครั้งสองครั้ง แต่ให้ค่าดูครั้งละไม่ต่ำกว่าห้าร้อย จัดเป็นแขกระดับ วี ไอ พี

พี่สวย – แม่ม่ายลูกสอง มาดูลิเกทุกคืน แต่ไม่เคยให้ค่าดู เพราะจริงๆ แล้วแกมานั่งขายลูกชิ้นปิ้ง กับน้ำอัดลม

ฯลฯ


รวมๆ แล้วแต่ละคืน ลิเกก็ได้เงินพอแบ่งชาวคณะกันคนละร้อยสองร้อย ดีกว่าอยู่ว่างๆ ถ้าคืนไหนลิเกงดเล่น ก็เป็นอันรู้กันว่า มีคนมาจ้างไปเล่นที่อื่น


คณะลิเกเก็บเงินได้มากแค่ไหน ? ... คำถามนี้ใครๆ ก็อยากรู้

...ก็ขนาดที่เอารถมาซ่อมได้ก็แล้วกัน...” พี่แหวง ช่างซ่อมรถยนต์แบบครบวงจร(เคาะ-พ่นสี-ซ่อมเครื่อง)ประจำหมู่บ้าน ตอบคำถามแบบยิ้มๆ


รถสี่ล้อคันใหญ่ของคณะมาจอดอยู่หน้าบ้านพี่แหวง รอให้แกทำสีใหม่ เปลี่ยนหลังคาใหม่

บางวันตอนบ่ายๆ หลังจากซ้อมเสร็จ ชาวคณะลิเก จะมาช่วยพี่แหวง ขูดๆ ขัดๆ สีรถ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น

ใครที่เคยตั้งแง่กับชาวคณะลิเก พอมาเห็นพวกเขาช่วยกันทำงาน ก็พลอยใจอ่อน

น้า...ไม่ไปดูพวกฉันเล่นบ้างหรือจ๊ะ คืนนี้เล่นเรื่องใหม่ด้วยนะ” นางเอกหน้าคมเอ่ยถาม

...ไว้ว่างๆ ข้าจะแวะไปดูมั่ง...ลุงย้อย คนไม่ดูลิเก คิดว่าคืนนี้จะลองแวะไปดูสักที


สุดท้าย คนที่ยังจงเกลียดจงชังคณะลิเกไม่เลิกก็คือ ตาไฉ

ตาไฉ เป็นอดีตช่างไม้ และนักเล่นไพ่ตัวยง แต่ปัจจุบันเป็นคนพิการเพราะตกจากนั่งร้านก่อสร้าง ตาไฉ ได้ยายภา สาวโรงงานวัยเกือบขึ้นคานเป็นเมีย มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน แต่พ่อตาของตาไฉ ต้อนรับเฉพาะคนมีเงิน ไม่ต้อนรับลูกเขยพิการที่ยังชีพด้วยเบี้ยคนพิการจากรัฐ และรับจดหวยเป็นรายได้เสริม ตาไฉเลยต้องระเห็จมานอนอยู่ที่ศาลาหมู่บ้าน เมียกับแม่ยาย ก็คอยส่งข้าวส่งน้ำให้


ที่ผ่านมา แม้จะเดินไม่ได้ ไปไหนมาไหนต้องเข็นรถ แต่ตาไฉก็พอได้รับความเมตตาจากชาวบ้าน พออยู่ได้ ยิ่งช่วงหลังๆ มีรถแม่ค้ามาขึ้นของที่ศาลา ตาไฉยิ่งได้รับความเมตตาทีละหลายสิบบาท


แต่พอคณะลิเก ย้ายมาประจำเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาไฉเคยได้ก็มลายหายไป


ใครต่อใครต่างก็เอาข้าวของมาให้ลิเก ทุกคนมองข้ามและลืมเลือนตาไฉผู้(พยายามอย่างสุดขีดที่จะ)น่าสงสาร ยิ่งคณะลิเกมาปักหลักอาศัยศาลาเป็นที่ทำงาน ที่นอน หุงข้าว ทำอาหาร ฯลฯ ตาไฉซึ่งเคยเป็นเจ้าที่เก่า ยิ่งเซ็งหนักขึ้นไปอีก


...ลูกคือความหวัง ความสุข และชีวิต ของพ่อแม่…”

คำพูดนี้ไม่มีใครเข้าใจลึกซึ้งไปกว่าตาไฉ เพราะชีวิตจิตใจของแกได้ทุ่มเทให้กับ ไอ้บอมบ์ ลูกชายของแกไปหมดแล้ว


ที่จริง ก่อนจะมาได้กับยายภา ตาไฉ ก็มีเมียมีลูกมาก่อน แต่พอแกเล่นไพ่จนแทบจะขายบ้าน ก็เลยถูกเมียไล่ตะเพิดออกมา แต่ตาไฉ ยังคิดว่าตัวเองแน่ เพราะหมอดูเคยทำนายไว้ว่า ตัวแกนั้นอนาคตจะได้ นั่งกินนอนกิน จนกระทั่งมาได้กับยายภา สาววัยเกือบขึ้นคาน สติไม่ค่อยจะเต็ม พอมีไอ้บอมบ์ แกก็ทั้งรักทั้งหลง แต่หลังจากที่ตกจากนั่งร้าน จนเดินไม่ได้ ต้องนั่งกินนอนกิน(หมอดูแม่นมากๆ) แกจึงพยายามให้ทุกอย่างที่แกคิดว่าดีที่สุด


และสิ่งที่ดีที่สุดที่แกรู้จักมาทั้งชีวิต ก็คือสิ่งที่เรียกว่า เงิน

ได้เงินมาเท่าไร ตาไฉ ก็ประเคนให้ไอ้บอมบ์ลูกชายสุดที่รักวัยห้าขวบ ไอ้บอมบ์จึงชินกับการถูกเลี้ยงด้วยเงินมาตั้งแต่น้อย


ก่อนลิเกจะมา ไอ้บอมบ์ก็ใช้เงินได้อย่างมากที่สุดก็คือซื้อขนม แต่พอลิเกมา ไอ้บอมบ์ก็รู้จักใช้เงินขึ้นมาอีกอย่างคือ ให้ลิเก


ยายภา เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นิยมลิเก แรกๆ ที่ลิเกมาเล่น ยายภา พาไอ้บอมบ์มาดูทุกคืน แต่ละคืนให้เงินลิเกไม่ต่ำกว่าร้อย แค่สามคืนแรกก็หมดไปห้าร้อยแล้ว


หนึ่งเดือนต่อมา ว่ากันว่า เงินโบนัสที่ยายภาได้จากโรงงาน ตั้งหมื่นกว่าบาทนั้น ลงกระเป๋าลิเกหมดเลย


ส่วนไอ้บอมบ์ ก็กลายเป็นขาประจำรุ่นเยาว์ของคณะลิเก วันไหนยายภาไม่พาไปดู จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้น หรือวันไหน ได้ไปดู แต่ยายภาไม่มีเงินให้ ไอ้บอมบ์ก็จะไปไถเอากับตาไฉ ถ้าไม่ได้ก็จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้นจนกว่าจะได้


ยายภาเอง หลังจากเป็นขาประจำระดับแม่ยกอยู่พักหนึ่ง ก็มีคนเห็น คนที่เล่นเป็นตัวโกงแวะไปหาถึงบ้าน ไปอ้อนขอให้ส่งข้าวปลาอาหารให้บ้าง


เป็นอันว่า ลูกและเมียของตาไฉ กลายเป็นพวกลิเกไปหมดแล้ว


ข้าต้องเก็บเงินพวกเอ็ง” ตาไฉ บอกกับหัวหน้าคณะลิเกตอนเย็นวันหนึ่ง

เก็บเงิน? เก็บค่าอะไรล่ะจ๊ะ?” หัวหน้าคณะงงว่าตาไฉจะมาไม้ไหน เพราะรู้ๆ อยู่ว่าตาไฉเกลียดคณะลิเก อาศัยศาลาอยู่ด้วยกันมาตั้งหลายเดือน ตาไฉแทบจะไม่พูดกับชาวคณะลิเกเลย

ก็ค่าที่ไงเล่า พวกเอ็งมาอาศัยศาลาอยู่ ข้าก็ต้องเก็บค่าที่น่ะสิ” ตาไฉบอกเหตุผล

อ้าว...นี่ศาลาของหมู่บ้านไม่ใช่หรือจ๊ะ?”

ก็ใช่”

แล้วพ่อไฉจะมาเก็บเงินฉันได้ยังไงล่ะจ๊ะ มันไม่ใช่ศาลาของพ่อไฉสักหน่อย”

ก็ข้าอยู่มาก่อน มีสิทธิ์ก่อน พวกเอ็งมาทีหลัง ก็ต้องให้ค่าที่ข้าสิ พวกเอ็งเล่นลิเกได้คืนละตั้งหลายร้อย แบ่งให้ข้าสักคืนละร้อยสองร้อยสิวะ” ตาไฉ เรียกเก็บค่าคุ้มครองหน้าตาเฉย


หัวหน้าคณะอึ้งไปพักหนึ่ง ก็บอกตาไฉว่า

จ๊ะ...ถ้าฉันเล่นได้เงินคืนละหมื่นเมื่อไรฉันจะแบ่งมาให้พ่อไฉสักสองร้อยนะจ๊ะ”

หัวหน้าคณะว่า แล้วก็หันหลังเดินกลับไป ปล่อยให้ตาไฉตะโกนด่าดังลั่น


เดี๋ยวนี้พอตกเย็น ไอ้บอมบ์เลิกเรียน มาวิ่งเล่นแถวศาลา มันก็ร้องรำลิเกของมันอยู่คนเดียว

ใครได้ยินก็หัวเราะ


แต่ตาไฉแอบร้องไห้อยู่คนเดียว

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก