Skip to main content

สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู


แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง


อาจดูน้อยจนไม่น่าเชื่อว่า คนดูเพียงแค่นี้ คณะลิเกจะยอมเล่น ทว่า ด้วยจำนวนคนเพียงแค่นี้นี่เอง ที่ทำให้รายได้ให้คณะฯ ทุกค่ำคืนอย่างที่เรียกได้ว่า “คุ้มค่าตัว”

ยายจัน - คนแก่ขี้เหงา ลูกสาวไปขายของทำเงินจนมีรถหลายคันมีบ้านหลังใหญ่ แต่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เลยปล่อยให้ยายจัน มาเป็นแม่ยกลิเก

ป้าย้อย – แม่ค้าขายผลไม้ตลาดในอำเภอ แผงของแกใหญ่ที่สุด ขายดีที่สุด ปล่อยให้ผัวกับลูกเฝ้าบ้าน มานั่งดูลิเกแทบจะทุกคืน

น้าวัน – แม่บ้าน สามีเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่มีเวลาให้ความสุขกับภรรยา แกเลยมาหาความสุขจากการดูลิเก สัปดาห์ละหลายคืน

ลุงกิจ – ชาวนาเพิ่งเกษียณ ปล่อยให้ลูกสาวกับลูกเขยดูแลที่สวนที่นาหลายสิบไร่ ตัวเองก็มานั่งดูลิเกทุกคืน ด้วยเหตุผลที่ว่า “เบื่อทีวี”

คุณนายตำรวจ – ไม่มีใครรู้ว่าแกชื่ออะไร แต่มีคนจำได้ว่าแกเป็นเมียนายตำรวจระดับสารวัตร แกจะมานั่งดูลิเก สัปดาห์หนึ่งแค่ครั้งสองครั้ง แต่ให้ค่าดูครั้งละไม่ต่ำกว่าห้าร้อย จัดเป็นแขกระดับ วี ไอ พี

พี่สวย – แม่ม่ายลูกสอง มาดูลิเกทุกคืน แต่ไม่เคยให้ค่าดู เพราะจริงๆ แล้วแกมานั่งขายลูกชิ้นปิ้ง กับน้ำอัดลม

ฯลฯ


รวมๆ แล้วแต่ละคืน ลิเกก็ได้เงินพอแบ่งชาวคณะกันคนละร้อยสองร้อย ดีกว่าอยู่ว่างๆ ถ้าคืนไหนลิเกงดเล่น ก็เป็นอันรู้กันว่า มีคนมาจ้างไปเล่นที่อื่น


คณะลิเกเก็บเงินได้มากแค่ไหน ? ... คำถามนี้ใครๆ ก็อยากรู้

...ก็ขนาดที่เอารถมาซ่อมได้ก็แล้วกัน...” พี่แหวง ช่างซ่อมรถยนต์แบบครบวงจร(เคาะ-พ่นสี-ซ่อมเครื่อง)ประจำหมู่บ้าน ตอบคำถามแบบยิ้มๆ


รถสี่ล้อคันใหญ่ของคณะมาจอดอยู่หน้าบ้านพี่แหวง รอให้แกทำสีใหม่ เปลี่ยนหลังคาใหม่

บางวันตอนบ่ายๆ หลังจากซ้อมเสร็จ ชาวคณะลิเก จะมาช่วยพี่แหวง ขูดๆ ขัดๆ สีรถ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น

ใครที่เคยตั้งแง่กับชาวคณะลิเก พอมาเห็นพวกเขาช่วยกันทำงาน ก็พลอยใจอ่อน

น้า...ไม่ไปดูพวกฉันเล่นบ้างหรือจ๊ะ คืนนี้เล่นเรื่องใหม่ด้วยนะ” นางเอกหน้าคมเอ่ยถาม

...ไว้ว่างๆ ข้าจะแวะไปดูมั่ง...ลุงย้อย คนไม่ดูลิเก คิดว่าคืนนี้จะลองแวะไปดูสักที


สุดท้าย คนที่ยังจงเกลียดจงชังคณะลิเกไม่เลิกก็คือ ตาไฉ

ตาไฉ เป็นอดีตช่างไม้ และนักเล่นไพ่ตัวยง แต่ปัจจุบันเป็นคนพิการเพราะตกจากนั่งร้านก่อสร้าง ตาไฉ ได้ยายภา สาวโรงงานวัยเกือบขึ้นคานเป็นเมีย มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน แต่พ่อตาของตาไฉ ต้อนรับเฉพาะคนมีเงิน ไม่ต้อนรับลูกเขยพิการที่ยังชีพด้วยเบี้ยคนพิการจากรัฐ และรับจดหวยเป็นรายได้เสริม ตาไฉเลยต้องระเห็จมานอนอยู่ที่ศาลาหมู่บ้าน เมียกับแม่ยาย ก็คอยส่งข้าวส่งน้ำให้


ที่ผ่านมา แม้จะเดินไม่ได้ ไปไหนมาไหนต้องเข็นรถ แต่ตาไฉก็พอได้รับความเมตตาจากชาวบ้าน พออยู่ได้ ยิ่งช่วงหลังๆ มีรถแม่ค้ามาขึ้นของที่ศาลา ตาไฉยิ่งได้รับความเมตตาทีละหลายสิบบาท


แต่พอคณะลิเก ย้ายมาประจำเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาไฉเคยได้ก็มลายหายไป


ใครต่อใครต่างก็เอาข้าวของมาให้ลิเก ทุกคนมองข้ามและลืมเลือนตาไฉผู้(พยายามอย่างสุดขีดที่จะ)น่าสงสาร ยิ่งคณะลิเกมาปักหลักอาศัยศาลาเป็นที่ทำงาน ที่นอน หุงข้าว ทำอาหาร ฯลฯ ตาไฉซึ่งเคยเป็นเจ้าที่เก่า ยิ่งเซ็งหนักขึ้นไปอีก


...ลูกคือความหวัง ความสุข และชีวิต ของพ่อแม่…”

คำพูดนี้ไม่มีใครเข้าใจลึกซึ้งไปกว่าตาไฉ เพราะชีวิตจิตใจของแกได้ทุ่มเทให้กับ ไอ้บอมบ์ ลูกชายของแกไปหมดแล้ว


ที่จริง ก่อนจะมาได้กับยายภา ตาไฉ ก็มีเมียมีลูกมาก่อน แต่พอแกเล่นไพ่จนแทบจะขายบ้าน ก็เลยถูกเมียไล่ตะเพิดออกมา แต่ตาไฉ ยังคิดว่าตัวเองแน่ เพราะหมอดูเคยทำนายไว้ว่า ตัวแกนั้นอนาคตจะได้ นั่งกินนอนกิน จนกระทั่งมาได้กับยายภา สาววัยเกือบขึ้นคาน สติไม่ค่อยจะเต็ม พอมีไอ้บอมบ์ แกก็ทั้งรักทั้งหลง แต่หลังจากที่ตกจากนั่งร้าน จนเดินไม่ได้ ต้องนั่งกินนอนกิน(หมอดูแม่นมากๆ) แกจึงพยายามให้ทุกอย่างที่แกคิดว่าดีที่สุด


และสิ่งที่ดีที่สุดที่แกรู้จักมาทั้งชีวิต ก็คือสิ่งที่เรียกว่า เงิน

ได้เงินมาเท่าไร ตาไฉ ก็ประเคนให้ไอ้บอมบ์ลูกชายสุดที่รักวัยห้าขวบ ไอ้บอมบ์จึงชินกับการถูกเลี้ยงด้วยเงินมาตั้งแต่น้อย


ก่อนลิเกจะมา ไอ้บอมบ์ก็ใช้เงินได้อย่างมากที่สุดก็คือซื้อขนม แต่พอลิเกมา ไอ้บอมบ์ก็รู้จักใช้เงินขึ้นมาอีกอย่างคือ ให้ลิเก


ยายภา เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นิยมลิเก แรกๆ ที่ลิเกมาเล่น ยายภา พาไอ้บอมบ์มาดูทุกคืน แต่ละคืนให้เงินลิเกไม่ต่ำกว่าร้อย แค่สามคืนแรกก็หมดไปห้าร้อยแล้ว


หนึ่งเดือนต่อมา ว่ากันว่า เงินโบนัสที่ยายภาได้จากโรงงาน ตั้งหมื่นกว่าบาทนั้น ลงกระเป๋าลิเกหมดเลย


ส่วนไอ้บอมบ์ ก็กลายเป็นขาประจำรุ่นเยาว์ของคณะลิเก วันไหนยายภาไม่พาไปดู จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้น หรือวันไหน ได้ไปดู แต่ยายภาไม่มีเงินให้ ไอ้บอมบ์ก็จะไปไถเอากับตาไฉ ถ้าไม่ได้ก็จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้นจนกว่าจะได้


ยายภาเอง หลังจากเป็นขาประจำระดับแม่ยกอยู่พักหนึ่ง ก็มีคนเห็น คนที่เล่นเป็นตัวโกงแวะไปหาถึงบ้าน ไปอ้อนขอให้ส่งข้าวปลาอาหารให้บ้าง


เป็นอันว่า ลูกและเมียของตาไฉ กลายเป็นพวกลิเกไปหมดแล้ว


ข้าต้องเก็บเงินพวกเอ็ง” ตาไฉ บอกกับหัวหน้าคณะลิเกตอนเย็นวันหนึ่ง

เก็บเงิน? เก็บค่าอะไรล่ะจ๊ะ?” หัวหน้าคณะงงว่าตาไฉจะมาไม้ไหน เพราะรู้ๆ อยู่ว่าตาไฉเกลียดคณะลิเก อาศัยศาลาอยู่ด้วยกันมาตั้งหลายเดือน ตาไฉแทบจะไม่พูดกับชาวคณะลิเกเลย

ก็ค่าที่ไงเล่า พวกเอ็งมาอาศัยศาลาอยู่ ข้าก็ต้องเก็บค่าที่น่ะสิ” ตาไฉบอกเหตุผล

อ้าว...นี่ศาลาของหมู่บ้านไม่ใช่หรือจ๊ะ?”

ก็ใช่”

แล้วพ่อไฉจะมาเก็บเงินฉันได้ยังไงล่ะจ๊ะ มันไม่ใช่ศาลาของพ่อไฉสักหน่อย”

ก็ข้าอยู่มาก่อน มีสิทธิ์ก่อน พวกเอ็งมาทีหลัง ก็ต้องให้ค่าที่ข้าสิ พวกเอ็งเล่นลิเกได้คืนละตั้งหลายร้อย แบ่งให้ข้าสักคืนละร้อยสองร้อยสิวะ” ตาไฉ เรียกเก็บค่าคุ้มครองหน้าตาเฉย


หัวหน้าคณะอึ้งไปพักหนึ่ง ก็บอกตาไฉว่า

จ๊ะ...ถ้าฉันเล่นได้เงินคืนละหมื่นเมื่อไรฉันจะแบ่งมาให้พ่อไฉสักสองร้อยนะจ๊ะ”

หัวหน้าคณะว่า แล้วก็หันหลังเดินกลับไป ปล่อยให้ตาไฉตะโกนด่าดังลั่น


เดี๋ยวนี้พอตกเย็น ไอ้บอมบ์เลิกเรียน มาวิ่งเล่นแถวศาลา มันก็ร้องรำลิเกของมันอยู่คนเดียว

ใครได้ยินก็หัวเราะ


แต่ตาไฉแอบร้องไห้อยู่คนเดียว

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…