Skip to main content

สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู


แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง


อาจดูน้อยจนไม่น่าเชื่อว่า คนดูเพียงแค่นี้ คณะลิเกจะยอมเล่น ทว่า ด้วยจำนวนคนเพียงแค่นี้นี่เอง ที่ทำให้รายได้ให้คณะฯ ทุกค่ำคืนอย่างที่เรียกได้ว่า “คุ้มค่าตัว”

ยายจัน - คนแก่ขี้เหงา ลูกสาวไปขายของทำเงินจนมีรถหลายคันมีบ้านหลังใหญ่ แต่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เลยปล่อยให้ยายจัน มาเป็นแม่ยกลิเก

ป้าย้อย – แม่ค้าขายผลไม้ตลาดในอำเภอ แผงของแกใหญ่ที่สุด ขายดีที่สุด ปล่อยให้ผัวกับลูกเฝ้าบ้าน มานั่งดูลิเกแทบจะทุกคืน

น้าวัน – แม่บ้าน สามีเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่มีเวลาให้ความสุขกับภรรยา แกเลยมาหาความสุขจากการดูลิเก สัปดาห์ละหลายคืน

ลุงกิจ – ชาวนาเพิ่งเกษียณ ปล่อยให้ลูกสาวกับลูกเขยดูแลที่สวนที่นาหลายสิบไร่ ตัวเองก็มานั่งดูลิเกทุกคืน ด้วยเหตุผลที่ว่า “เบื่อทีวี”

คุณนายตำรวจ – ไม่มีใครรู้ว่าแกชื่ออะไร แต่มีคนจำได้ว่าแกเป็นเมียนายตำรวจระดับสารวัตร แกจะมานั่งดูลิเก สัปดาห์หนึ่งแค่ครั้งสองครั้ง แต่ให้ค่าดูครั้งละไม่ต่ำกว่าห้าร้อย จัดเป็นแขกระดับ วี ไอ พี

พี่สวย – แม่ม่ายลูกสอง มาดูลิเกทุกคืน แต่ไม่เคยให้ค่าดู เพราะจริงๆ แล้วแกมานั่งขายลูกชิ้นปิ้ง กับน้ำอัดลม

ฯลฯ


รวมๆ แล้วแต่ละคืน ลิเกก็ได้เงินพอแบ่งชาวคณะกันคนละร้อยสองร้อย ดีกว่าอยู่ว่างๆ ถ้าคืนไหนลิเกงดเล่น ก็เป็นอันรู้กันว่า มีคนมาจ้างไปเล่นที่อื่น


คณะลิเกเก็บเงินได้มากแค่ไหน ? ... คำถามนี้ใครๆ ก็อยากรู้

...ก็ขนาดที่เอารถมาซ่อมได้ก็แล้วกัน...” พี่แหวง ช่างซ่อมรถยนต์แบบครบวงจร(เคาะ-พ่นสี-ซ่อมเครื่อง)ประจำหมู่บ้าน ตอบคำถามแบบยิ้มๆ


รถสี่ล้อคันใหญ่ของคณะมาจอดอยู่หน้าบ้านพี่แหวง รอให้แกทำสีใหม่ เปลี่ยนหลังคาใหม่

บางวันตอนบ่ายๆ หลังจากซ้อมเสร็จ ชาวคณะลิเก จะมาช่วยพี่แหวง ขูดๆ ขัดๆ สีรถ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น

ใครที่เคยตั้งแง่กับชาวคณะลิเก พอมาเห็นพวกเขาช่วยกันทำงาน ก็พลอยใจอ่อน

น้า...ไม่ไปดูพวกฉันเล่นบ้างหรือจ๊ะ คืนนี้เล่นเรื่องใหม่ด้วยนะ” นางเอกหน้าคมเอ่ยถาม

...ไว้ว่างๆ ข้าจะแวะไปดูมั่ง...ลุงย้อย คนไม่ดูลิเก คิดว่าคืนนี้จะลองแวะไปดูสักที


สุดท้าย คนที่ยังจงเกลียดจงชังคณะลิเกไม่เลิกก็คือ ตาไฉ

ตาไฉ เป็นอดีตช่างไม้ และนักเล่นไพ่ตัวยง แต่ปัจจุบันเป็นคนพิการเพราะตกจากนั่งร้านก่อสร้าง ตาไฉ ได้ยายภา สาวโรงงานวัยเกือบขึ้นคานเป็นเมีย มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน แต่พ่อตาของตาไฉ ต้อนรับเฉพาะคนมีเงิน ไม่ต้อนรับลูกเขยพิการที่ยังชีพด้วยเบี้ยคนพิการจากรัฐ และรับจดหวยเป็นรายได้เสริม ตาไฉเลยต้องระเห็จมานอนอยู่ที่ศาลาหมู่บ้าน เมียกับแม่ยาย ก็คอยส่งข้าวส่งน้ำให้


ที่ผ่านมา แม้จะเดินไม่ได้ ไปไหนมาไหนต้องเข็นรถ แต่ตาไฉก็พอได้รับความเมตตาจากชาวบ้าน พออยู่ได้ ยิ่งช่วงหลังๆ มีรถแม่ค้ามาขึ้นของที่ศาลา ตาไฉยิ่งได้รับความเมตตาทีละหลายสิบบาท


แต่พอคณะลิเก ย้ายมาประจำเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาไฉเคยได้ก็มลายหายไป


ใครต่อใครต่างก็เอาข้าวของมาให้ลิเก ทุกคนมองข้ามและลืมเลือนตาไฉผู้(พยายามอย่างสุดขีดที่จะ)น่าสงสาร ยิ่งคณะลิเกมาปักหลักอาศัยศาลาเป็นที่ทำงาน ที่นอน หุงข้าว ทำอาหาร ฯลฯ ตาไฉซึ่งเคยเป็นเจ้าที่เก่า ยิ่งเซ็งหนักขึ้นไปอีก


...ลูกคือความหวัง ความสุข และชีวิต ของพ่อแม่…”

คำพูดนี้ไม่มีใครเข้าใจลึกซึ้งไปกว่าตาไฉ เพราะชีวิตจิตใจของแกได้ทุ่มเทให้กับ ไอ้บอมบ์ ลูกชายของแกไปหมดแล้ว


ที่จริง ก่อนจะมาได้กับยายภา ตาไฉ ก็มีเมียมีลูกมาก่อน แต่พอแกเล่นไพ่จนแทบจะขายบ้าน ก็เลยถูกเมียไล่ตะเพิดออกมา แต่ตาไฉ ยังคิดว่าตัวเองแน่ เพราะหมอดูเคยทำนายไว้ว่า ตัวแกนั้นอนาคตจะได้ นั่งกินนอนกิน จนกระทั่งมาได้กับยายภา สาววัยเกือบขึ้นคาน สติไม่ค่อยจะเต็ม พอมีไอ้บอมบ์ แกก็ทั้งรักทั้งหลง แต่หลังจากที่ตกจากนั่งร้าน จนเดินไม่ได้ ต้องนั่งกินนอนกิน(หมอดูแม่นมากๆ) แกจึงพยายามให้ทุกอย่างที่แกคิดว่าดีที่สุด


และสิ่งที่ดีที่สุดที่แกรู้จักมาทั้งชีวิต ก็คือสิ่งที่เรียกว่า เงิน

ได้เงินมาเท่าไร ตาไฉ ก็ประเคนให้ไอ้บอมบ์ลูกชายสุดที่รักวัยห้าขวบ ไอ้บอมบ์จึงชินกับการถูกเลี้ยงด้วยเงินมาตั้งแต่น้อย


ก่อนลิเกจะมา ไอ้บอมบ์ก็ใช้เงินได้อย่างมากที่สุดก็คือซื้อขนม แต่พอลิเกมา ไอ้บอมบ์ก็รู้จักใช้เงินขึ้นมาอีกอย่างคือ ให้ลิเก


ยายภา เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นิยมลิเก แรกๆ ที่ลิเกมาเล่น ยายภา พาไอ้บอมบ์มาดูทุกคืน แต่ละคืนให้เงินลิเกไม่ต่ำกว่าร้อย แค่สามคืนแรกก็หมดไปห้าร้อยแล้ว


หนึ่งเดือนต่อมา ว่ากันว่า เงินโบนัสที่ยายภาได้จากโรงงาน ตั้งหมื่นกว่าบาทนั้น ลงกระเป๋าลิเกหมดเลย


ส่วนไอ้บอมบ์ ก็กลายเป็นขาประจำรุ่นเยาว์ของคณะลิเก วันไหนยายภาไม่พาไปดู จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้น หรือวันไหน ได้ไปดู แต่ยายภาไม่มีเงินให้ ไอ้บอมบ์ก็จะไปไถเอากับตาไฉ ถ้าไม่ได้ก็จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้นจนกว่าจะได้


ยายภาเอง หลังจากเป็นขาประจำระดับแม่ยกอยู่พักหนึ่ง ก็มีคนเห็น คนที่เล่นเป็นตัวโกงแวะไปหาถึงบ้าน ไปอ้อนขอให้ส่งข้าวปลาอาหารให้บ้าง


เป็นอันว่า ลูกและเมียของตาไฉ กลายเป็นพวกลิเกไปหมดแล้ว


ข้าต้องเก็บเงินพวกเอ็ง” ตาไฉ บอกกับหัวหน้าคณะลิเกตอนเย็นวันหนึ่ง

เก็บเงิน? เก็บค่าอะไรล่ะจ๊ะ?” หัวหน้าคณะงงว่าตาไฉจะมาไม้ไหน เพราะรู้ๆ อยู่ว่าตาไฉเกลียดคณะลิเก อาศัยศาลาอยู่ด้วยกันมาตั้งหลายเดือน ตาไฉแทบจะไม่พูดกับชาวคณะลิเกเลย

ก็ค่าที่ไงเล่า พวกเอ็งมาอาศัยศาลาอยู่ ข้าก็ต้องเก็บค่าที่น่ะสิ” ตาไฉบอกเหตุผล

อ้าว...นี่ศาลาของหมู่บ้านไม่ใช่หรือจ๊ะ?”

ก็ใช่”

แล้วพ่อไฉจะมาเก็บเงินฉันได้ยังไงล่ะจ๊ะ มันไม่ใช่ศาลาของพ่อไฉสักหน่อย”

ก็ข้าอยู่มาก่อน มีสิทธิ์ก่อน พวกเอ็งมาทีหลัง ก็ต้องให้ค่าที่ข้าสิ พวกเอ็งเล่นลิเกได้คืนละตั้งหลายร้อย แบ่งให้ข้าสักคืนละร้อยสองร้อยสิวะ” ตาไฉ เรียกเก็บค่าคุ้มครองหน้าตาเฉย


หัวหน้าคณะอึ้งไปพักหนึ่ง ก็บอกตาไฉว่า

จ๊ะ...ถ้าฉันเล่นได้เงินคืนละหมื่นเมื่อไรฉันจะแบ่งมาให้พ่อไฉสักสองร้อยนะจ๊ะ”

หัวหน้าคณะว่า แล้วก็หันหลังเดินกลับไป ปล่อยให้ตาไฉตะโกนด่าดังลั่น


เดี๋ยวนี้พอตกเย็น ไอ้บอมบ์เลิกเรียน มาวิ่งเล่นแถวศาลา มันก็ร้องรำลิเกของมันอยู่คนเดียว

ใครได้ยินก็หัวเราะ


แต่ตาไฉแอบร้องไห้อยู่คนเดียว

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…