Skip to main content

สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู


แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง


อาจดูน้อยจนไม่น่าเชื่อว่า คนดูเพียงแค่นี้ คณะลิเกจะยอมเล่น ทว่า ด้วยจำนวนคนเพียงแค่นี้นี่เอง ที่ทำให้รายได้ให้คณะฯ ทุกค่ำคืนอย่างที่เรียกได้ว่า “คุ้มค่าตัว”

ยายจัน - คนแก่ขี้เหงา ลูกสาวไปขายของทำเงินจนมีรถหลายคันมีบ้านหลังใหญ่ แต่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เลยปล่อยให้ยายจัน มาเป็นแม่ยกลิเก

ป้าย้อย – แม่ค้าขายผลไม้ตลาดในอำเภอ แผงของแกใหญ่ที่สุด ขายดีที่สุด ปล่อยให้ผัวกับลูกเฝ้าบ้าน มานั่งดูลิเกแทบจะทุกคืน

น้าวัน – แม่บ้าน สามีเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่มีเวลาให้ความสุขกับภรรยา แกเลยมาหาความสุขจากการดูลิเก สัปดาห์ละหลายคืน

ลุงกิจ – ชาวนาเพิ่งเกษียณ ปล่อยให้ลูกสาวกับลูกเขยดูแลที่สวนที่นาหลายสิบไร่ ตัวเองก็มานั่งดูลิเกทุกคืน ด้วยเหตุผลที่ว่า “เบื่อทีวี”

คุณนายตำรวจ – ไม่มีใครรู้ว่าแกชื่ออะไร แต่มีคนจำได้ว่าแกเป็นเมียนายตำรวจระดับสารวัตร แกจะมานั่งดูลิเก สัปดาห์หนึ่งแค่ครั้งสองครั้ง แต่ให้ค่าดูครั้งละไม่ต่ำกว่าห้าร้อย จัดเป็นแขกระดับ วี ไอ พี

พี่สวย – แม่ม่ายลูกสอง มาดูลิเกทุกคืน แต่ไม่เคยให้ค่าดู เพราะจริงๆ แล้วแกมานั่งขายลูกชิ้นปิ้ง กับน้ำอัดลม

ฯลฯ


รวมๆ แล้วแต่ละคืน ลิเกก็ได้เงินพอแบ่งชาวคณะกันคนละร้อยสองร้อย ดีกว่าอยู่ว่างๆ ถ้าคืนไหนลิเกงดเล่น ก็เป็นอันรู้กันว่า มีคนมาจ้างไปเล่นที่อื่น


คณะลิเกเก็บเงินได้มากแค่ไหน ? ... คำถามนี้ใครๆ ก็อยากรู้

...ก็ขนาดที่เอารถมาซ่อมได้ก็แล้วกัน...” พี่แหวง ช่างซ่อมรถยนต์แบบครบวงจร(เคาะ-พ่นสี-ซ่อมเครื่อง)ประจำหมู่บ้าน ตอบคำถามแบบยิ้มๆ


รถสี่ล้อคันใหญ่ของคณะมาจอดอยู่หน้าบ้านพี่แหวง รอให้แกทำสีใหม่ เปลี่ยนหลังคาใหม่

บางวันตอนบ่ายๆ หลังจากซ้อมเสร็จ ชาวคณะลิเก จะมาช่วยพี่แหวง ขูดๆ ขัดๆ สีรถ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น

ใครที่เคยตั้งแง่กับชาวคณะลิเก พอมาเห็นพวกเขาช่วยกันทำงาน ก็พลอยใจอ่อน

น้า...ไม่ไปดูพวกฉันเล่นบ้างหรือจ๊ะ คืนนี้เล่นเรื่องใหม่ด้วยนะ” นางเอกหน้าคมเอ่ยถาม

...ไว้ว่างๆ ข้าจะแวะไปดูมั่ง...ลุงย้อย คนไม่ดูลิเก คิดว่าคืนนี้จะลองแวะไปดูสักที


สุดท้าย คนที่ยังจงเกลียดจงชังคณะลิเกไม่เลิกก็คือ ตาไฉ

ตาไฉ เป็นอดีตช่างไม้ และนักเล่นไพ่ตัวยง แต่ปัจจุบันเป็นคนพิการเพราะตกจากนั่งร้านก่อสร้าง ตาไฉ ได้ยายภา สาวโรงงานวัยเกือบขึ้นคานเป็นเมีย มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน แต่พ่อตาของตาไฉ ต้อนรับเฉพาะคนมีเงิน ไม่ต้อนรับลูกเขยพิการที่ยังชีพด้วยเบี้ยคนพิการจากรัฐ และรับจดหวยเป็นรายได้เสริม ตาไฉเลยต้องระเห็จมานอนอยู่ที่ศาลาหมู่บ้าน เมียกับแม่ยาย ก็คอยส่งข้าวส่งน้ำให้


ที่ผ่านมา แม้จะเดินไม่ได้ ไปไหนมาไหนต้องเข็นรถ แต่ตาไฉก็พอได้รับความเมตตาจากชาวบ้าน พออยู่ได้ ยิ่งช่วงหลังๆ มีรถแม่ค้ามาขึ้นของที่ศาลา ตาไฉยิ่งได้รับความเมตตาทีละหลายสิบบาท


แต่พอคณะลิเก ย้ายมาประจำเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาไฉเคยได้ก็มลายหายไป


ใครต่อใครต่างก็เอาข้าวของมาให้ลิเก ทุกคนมองข้ามและลืมเลือนตาไฉผู้(พยายามอย่างสุดขีดที่จะ)น่าสงสาร ยิ่งคณะลิเกมาปักหลักอาศัยศาลาเป็นที่ทำงาน ที่นอน หุงข้าว ทำอาหาร ฯลฯ ตาไฉซึ่งเคยเป็นเจ้าที่เก่า ยิ่งเซ็งหนักขึ้นไปอีก


...ลูกคือความหวัง ความสุข และชีวิต ของพ่อแม่…”

คำพูดนี้ไม่มีใครเข้าใจลึกซึ้งไปกว่าตาไฉ เพราะชีวิตจิตใจของแกได้ทุ่มเทให้กับ ไอ้บอมบ์ ลูกชายของแกไปหมดแล้ว


ที่จริง ก่อนจะมาได้กับยายภา ตาไฉ ก็มีเมียมีลูกมาก่อน แต่พอแกเล่นไพ่จนแทบจะขายบ้าน ก็เลยถูกเมียไล่ตะเพิดออกมา แต่ตาไฉ ยังคิดว่าตัวเองแน่ เพราะหมอดูเคยทำนายไว้ว่า ตัวแกนั้นอนาคตจะได้ นั่งกินนอนกิน จนกระทั่งมาได้กับยายภา สาววัยเกือบขึ้นคาน สติไม่ค่อยจะเต็ม พอมีไอ้บอมบ์ แกก็ทั้งรักทั้งหลง แต่หลังจากที่ตกจากนั่งร้าน จนเดินไม่ได้ ต้องนั่งกินนอนกิน(หมอดูแม่นมากๆ) แกจึงพยายามให้ทุกอย่างที่แกคิดว่าดีที่สุด


และสิ่งที่ดีที่สุดที่แกรู้จักมาทั้งชีวิต ก็คือสิ่งที่เรียกว่า เงิน

ได้เงินมาเท่าไร ตาไฉ ก็ประเคนให้ไอ้บอมบ์ลูกชายสุดที่รักวัยห้าขวบ ไอ้บอมบ์จึงชินกับการถูกเลี้ยงด้วยเงินมาตั้งแต่น้อย


ก่อนลิเกจะมา ไอ้บอมบ์ก็ใช้เงินได้อย่างมากที่สุดก็คือซื้อขนม แต่พอลิเกมา ไอ้บอมบ์ก็รู้จักใช้เงินขึ้นมาอีกอย่างคือ ให้ลิเก


ยายภา เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นิยมลิเก แรกๆ ที่ลิเกมาเล่น ยายภา พาไอ้บอมบ์มาดูทุกคืน แต่ละคืนให้เงินลิเกไม่ต่ำกว่าร้อย แค่สามคืนแรกก็หมดไปห้าร้อยแล้ว


หนึ่งเดือนต่อมา ว่ากันว่า เงินโบนัสที่ยายภาได้จากโรงงาน ตั้งหมื่นกว่าบาทนั้น ลงกระเป๋าลิเกหมดเลย


ส่วนไอ้บอมบ์ ก็กลายเป็นขาประจำรุ่นเยาว์ของคณะลิเก วันไหนยายภาไม่พาไปดู จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้น หรือวันไหน ได้ไปดู แต่ยายภาไม่มีเงินให้ ไอ้บอมบ์ก็จะไปไถเอากับตาไฉ ถ้าไม่ได้ก็จะแหกปากร้องไห้ดิ้นพราดๆ กับพื้นจนกว่าจะได้


ยายภาเอง หลังจากเป็นขาประจำระดับแม่ยกอยู่พักหนึ่ง ก็มีคนเห็น คนที่เล่นเป็นตัวโกงแวะไปหาถึงบ้าน ไปอ้อนขอให้ส่งข้าวปลาอาหารให้บ้าง


เป็นอันว่า ลูกและเมียของตาไฉ กลายเป็นพวกลิเกไปหมดแล้ว


ข้าต้องเก็บเงินพวกเอ็ง” ตาไฉ บอกกับหัวหน้าคณะลิเกตอนเย็นวันหนึ่ง

เก็บเงิน? เก็บค่าอะไรล่ะจ๊ะ?” หัวหน้าคณะงงว่าตาไฉจะมาไม้ไหน เพราะรู้ๆ อยู่ว่าตาไฉเกลียดคณะลิเก อาศัยศาลาอยู่ด้วยกันมาตั้งหลายเดือน ตาไฉแทบจะไม่พูดกับชาวคณะลิเกเลย

ก็ค่าที่ไงเล่า พวกเอ็งมาอาศัยศาลาอยู่ ข้าก็ต้องเก็บค่าที่น่ะสิ” ตาไฉบอกเหตุผล

อ้าว...นี่ศาลาของหมู่บ้านไม่ใช่หรือจ๊ะ?”

ก็ใช่”

แล้วพ่อไฉจะมาเก็บเงินฉันได้ยังไงล่ะจ๊ะ มันไม่ใช่ศาลาของพ่อไฉสักหน่อย”

ก็ข้าอยู่มาก่อน มีสิทธิ์ก่อน พวกเอ็งมาทีหลัง ก็ต้องให้ค่าที่ข้าสิ พวกเอ็งเล่นลิเกได้คืนละตั้งหลายร้อย แบ่งให้ข้าสักคืนละร้อยสองร้อยสิวะ” ตาไฉ เรียกเก็บค่าคุ้มครองหน้าตาเฉย


หัวหน้าคณะอึ้งไปพักหนึ่ง ก็บอกตาไฉว่า

จ๊ะ...ถ้าฉันเล่นได้เงินคืนละหมื่นเมื่อไรฉันจะแบ่งมาให้พ่อไฉสักสองร้อยนะจ๊ะ”

หัวหน้าคณะว่า แล้วก็หันหลังเดินกลับไป ปล่อยให้ตาไฉตะโกนด่าดังลั่น


เดี๋ยวนี้พอตกเย็น ไอ้บอมบ์เลิกเรียน มาวิ่งเล่นแถวศาลา มันก็ร้องรำลิเกของมันอยู่คนเดียว

ใครได้ยินก็หัวเราะ


แต่ตาไฉแอบร้องไห้อยู่คนเดียว

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…