Skip to main content
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที


ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา


กระนั้น ก็ยังมีคน "อยากขาย" จำนวนไม่น้อยที่พยายามแสดงให้เห็นว่าของพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็น

 

พี่ติ๋ม สาวลูกสอง อดีตพนักงานห้างฯ หันมาจับธุรกิจขายตรง หลังจากออกจากงานประจำ เพราะแกเชื่อว่า นี่แหละ คือหนทางของความมั่นคงของชีวิตแก


อาจเพราะ แกเคยขายเครื่องสำอางค์มาหลายยี่ห้อแล้ว พอมาจับธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น(MLM) ชื่อดังระดับโลก แกจึงไม่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากมายนัก


แกได้รับการชักชวนจากเพื่อนคนหนึ่ง โดยเน้นว่า เมื่อเข้ามาทำธุรกิจนี้แล้วจะทำงานกันเป็นทีม ช่วยเหลือกัน ทั้งในการขายและการขยายธุรกิจจากการหาสมาชิก

 

เช่นเดียวกับคนอื่นๆ พี่ติ๋ม เริ่มต้นจากคนใกล้ตัว ทั้งพ่อ แม่ พี่สาว พี่ชาย น้องสาว สามี น้องสามี เพื่อนบ้าน เพื่อนเก่า ฯลฯ

ซึ่งคนที่สมัครด้วยความเห็นใจและอยากช่วย ก็มีมากกว่า ที่สมัครเพราะเข้าใจและสนใจ

 

วันหนึ่ง พี่ติ๋มแวะไปกินลูกชิ้นปิ้งร้านพี่หวี คุยกันสัพเพเหระ พี่ติ๋มก็วกเข้าเรื่อง เอาแคตตาล็อกออกมาเสนอขาย

"...นี่นะพี่หวี น้ำยาซักผ้าตัวนี้นะ พี่หวีใช้แค่ฝาเดียวนะ เสื้อผ้าสกปรกๆ ซักสามสิบ สี่สิบชิ้นนี่รับรองว่าสะอาดเอี่ยมแน่นอน เพราะสินค้าตัวนี้ที่บ้านฉันก็ใช้อยู่ เพิ่งจะซักตากเมื่อเช้าก็มี ไม่เชื่อไปดูได้เลย..." พี่ติ๋ม โฆษณา

"...เออ...เข้าท่าว่ะ บ้านข้าคนเยอะเสียด้วย แล้วซักผ้าทีนะ เนื้อยเหนื่อย...ซักเสร็จต้องนอนพักสักชั่วโมงก่อนล่ะ ถึงจะไปทำอย่างอื่นได้...แล้วมันราคาเท่าไรวะ ?..." พี่หวี ชักสนใจ

"...ขวดนี้สองลิตรนะพี่หวี ราคาสี่ร้อยยี่สิบ..."


พี่หวีวางแคตตาล็อกทันที

"...โห...ทำมั้ยมันแพงจังวะ? ผงซักฟอกกล่องไม่กี่สิบบาทเอง..."

"...โธ่...พี่ นี่มันอย่างดีเลยนะ แล้วพี่ลองคำนวณดู เดือนหนึ่งพี่ใช้ผงซักฟอกกี่กล่อง แต่ขวดนี้พี่ใช้ได้นานตั้งห้าหกเดือน เวลาใช้ก็ใช้แค่นิดเดียว...สะอาดกว่า คุ้มกว่าด้วย จ่ายแพงตอนซื้อแต่ใช้ได้นานนะพี่..."


พี่หวีทำหน้าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไร เพราะถึงแม้สินค้าจะดีเลิสลอยแค่ไหน แต่ถ้าราคาแพงเกินไป มันก็ยากจะตัดสินใจ ทว่า ด้วยการหว่านล้อมของพี่ติ๋มเป็นเวลาเกือบชั่วโมง ในที่สุด พี่หวีก็จ่ายไปแบบตัดรำคาญ

 

หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน พี่ติ๋มผ่านมาเจอพี่หวีที่กำลังซื้อของอยู่เลยแวะคุย

"...ใช้ดีมั้ยพี่?..." พี่ติ๋มถามพี่หวีที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์

"...เออ...ใช้ดี ซักผ้าขาวดี สะอาดดี เกลี้ยงดี เงินในกระเป๋าข้าก็เกลี้ยงไปด้วย..." พี่หวีว่า

"...อะไรนะพี่?..."

"...เปล่าๆ ของดี ใช้ดี แต่เอ็งไม่ต้องมาขายบ่อยนะ ข้าไม่มีตังค์จะซื้อแล้ว..."

"...งั้นก็สมัครสมาชิกสิพี่ จะได้ซื้อของราคาถูกๆ แล้วก็ขายสินค้าได้ มีรายได้เสริมด้วยนะ ค่าสมัครแค่เก้าร้อยบาทเอง..."

"...เฮ้ย ! ไม่เอาๆ ข้าไม่มีตังค์แล้ว เดี๋ยวจะรีบซื้อกับข้าวกลับไปทำให้ลูกกิน..."

"...พี่รอแป๊บนึงเดี๋ยวฉันเอารายละเอียดให้นะ..."

ขณะที่พี่ติ๋ม หันไปค้นเอกสารเตรียมจะอธิบายให้พี่หวีฟังเรื่องการสมัครสมาชิก พี่หวีก็สตาร์ทรถเครื่องออกไปทันที

 

ตอนเย็น เจ้าปุ๊กเพื่อนรุ่นน้องคน(เคย)สนิทของพี่ติ๋ม มานั่งปรับทุกข์กับพี่หวี เรื่องพี่ติ๋มที่จ้องแต่จะขายของอย่างเดียว

"...มันเกินไปนะพี่หวี พี่ติ๋มแกกลายเป็นอะไรไปก็ไม่รู้ เมื่อก่อนขายเครื่องสำอางค์ยังไม่เท่าไรนะ มีอะไรก็คุยกันได้ แกก็แนะนำบางตัวให้ใช้ ตัวไหนไม่ดีแกก็ว่าไม่ดี เรื่องสัพเพเหระก็ยังคุยกันได้ แต่พอมาขายยี่ห้อนี้...สินค้าตัวไหนๆ แกก็โม้ได้เป็นคุ้งเป็นแควว่าดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ แต่ถามว่าแกใช้หรือเปล่า แกก็บอกว่าเปล่า แต่แกรู้ว่ามันดี...แล้วอย่าเปิดช่องให้เชียวนะ แกจ้องจะขายเลยล่ะ...วันก่อน แกโทรไปหาฉันที่ทำงาน นึกว่ามีเรื่องด่วนอะไร...เปล่า...แกพยายามจะให้ฉันซื้อเครื่องดูดฝุ่นให้ได้ แกบอกว่า...แค่เครื่องละสามหมื่นสองเอง คุ้มสุดๆ เลยนะ...โห...พูดยังกับว่าฉันเงินเดือนห้าหมื่น...ถ้าฉันมีเงินสามหมื่น ฉันจะซื้อเครื่องดูดฝุ่นมาทำไม ถอยรถเครื่องใหม่มาขับไม่ดีกว่าหรือพี่..." เจ้าปุ๊ก ระบายอย่างเซ็งเต็มทน


"...วันก่อน เจ้าเจี๊ยบมันบอกว่า มันเพิ่งตัดผักเสร็จ มือก็เปื้อนยางผัก ยังไม่ได้ล้าง พอไอ้ติ๋มแวะมานั่งเล่นที่บ้าน มันก็เลยมานั่งคุยด้วย...พอไอ้ติ๋มมันเห็นมือเจ้าเจี๊ยบเท่านั้นแหละ มันบอกเลยว่า ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดของมัน รับรองว่าขจัดได้ทุกคราบสะอาดสุดยอด...แต่ไอ้เจี๊ยบมันบอกว่า ใช้ทำไม แค่สบู่กับน้ำเปล่าก็ล้างออกแล้ว..."

พี่ติ๋มกับเจ้าปุ๊ก หัวเราะครืน แล้วก็ชวนกันนินทาเรื่องของพี่ติ๋มอีกหลายเรื่อง

 

ที่จริง พี่ติ๋มไม่ใช่คนไม่ดี เพียงแต่พฤติกรรมจ้องจะขายของจนเกือบจะกลายเป็นการยัดเยียด มันทำให้คนฟังอึดอัด


สินค้าน่ะดีจริง ไม่มีใครเถียง แต่ราคาที่สูงขนาดนั้น ชาวนาชาวไร่ไม่ได้มีรายได้แบบคนทำงานประจำ ใครล่ะจะซื้อมาใช้


ของฟุ่มเฟือยแถมราคาแพง คนขายต้องใช้ฝีมือหว่านล้อมมากกว่า ทั้งยังเสี่ยงต่อการที่จะทำให้ชาวบ้านเอือมมากกว่าอีกด้วย

 

ถ้าการไต่ขึ้นไปสู่จุดสุดยอดของความสำเร็จด้วยการเป็นยอดนักขาย คือสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเสียอะไรไปก็ตาม


บางที ลองมองกลับมาบ้างก็ดี ว่าการต้องเสีย "ความสัมพันธ์" กับคนที่เราเคยผูกพันธ์และรู้สึกดีด้วยนั้น

 

มันคุ้มกันจริงหรือเปล่า ?

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…