Skip to main content
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที


ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา


กระนั้น ก็ยังมีคน "อยากขาย" จำนวนไม่น้อยที่พยายามแสดงให้เห็นว่าของพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็น

 

พี่ติ๋ม สาวลูกสอง อดีตพนักงานห้างฯ หันมาจับธุรกิจขายตรง หลังจากออกจากงานประจำ เพราะแกเชื่อว่า นี่แหละ คือหนทางของความมั่นคงของชีวิตแก


อาจเพราะ แกเคยขายเครื่องสำอางค์มาหลายยี่ห้อแล้ว พอมาจับธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น(MLM) ชื่อดังระดับโลก แกจึงไม่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากมายนัก


แกได้รับการชักชวนจากเพื่อนคนหนึ่ง โดยเน้นว่า เมื่อเข้ามาทำธุรกิจนี้แล้วจะทำงานกันเป็นทีม ช่วยเหลือกัน ทั้งในการขายและการขยายธุรกิจจากการหาสมาชิก

 

เช่นเดียวกับคนอื่นๆ พี่ติ๋ม เริ่มต้นจากคนใกล้ตัว ทั้งพ่อ แม่ พี่สาว พี่ชาย น้องสาว สามี น้องสามี เพื่อนบ้าน เพื่อนเก่า ฯลฯ

ซึ่งคนที่สมัครด้วยความเห็นใจและอยากช่วย ก็มีมากกว่า ที่สมัครเพราะเข้าใจและสนใจ

 

วันหนึ่ง พี่ติ๋มแวะไปกินลูกชิ้นปิ้งร้านพี่หวี คุยกันสัพเพเหระ พี่ติ๋มก็วกเข้าเรื่อง เอาแคตตาล็อกออกมาเสนอขาย

"...นี่นะพี่หวี น้ำยาซักผ้าตัวนี้นะ พี่หวีใช้แค่ฝาเดียวนะ เสื้อผ้าสกปรกๆ ซักสามสิบ สี่สิบชิ้นนี่รับรองว่าสะอาดเอี่ยมแน่นอน เพราะสินค้าตัวนี้ที่บ้านฉันก็ใช้อยู่ เพิ่งจะซักตากเมื่อเช้าก็มี ไม่เชื่อไปดูได้เลย..." พี่ติ๋ม โฆษณา

"...เออ...เข้าท่าว่ะ บ้านข้าคนเยอะเสียด้วย แล้วซักผ้าทีนะ เนื้อยเหนื่อย...ซักเสร็จต้องนอนพักสักชั่วโมงก่อนล่ะ ถึงจะไปทำอย่างอื่นได้...แล้วมันราคาเท่าไรวะ ?..." พี่หวี ชักสนใจ

"...ขวดนี้สองลิตรนะพี่หวี ราคาสี่ร้อยยี่สิบ..."


พี่หวีวางแคตตาล็อกทันที

"...โห...ทำมั้ยมันแพงจังวะ? ผงซักฟอกกล่องไม่กี่สิบบาทเอง..."

"...โธ่...พี่ นี่มันอย่างดีเลยนะ แล้วพี่ลองคำนวณดู เดือนหนึ่งพี่ใช้ผงซักฟอกกี่กล่อง แต่ขวดนี้พี่ใช้ได้นานตั้งห้าหกเดือน เวลาใช้ก็ใช้แค่นิดเดียว...สะอาดกว่า คุ้มกว่าด้วย จ่ายแพงตอนซื้อแต่ใช้ได้นานนะพี่..."


พี่หวีทำหน้าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไร เพราะถึงแม้สินค้าจะดีเลิสลอยแค่ไหน แต่ถ้าราคาแพงเกินไป มันก็ยากจะตัดสินใจ ทว่า ด้วยการหว่านล้อมของพี่ติ๋มเป็นเวลาเกือบชั่วโมง ในที่สุด พี่หวีก็จ่ายไปแบบตัดรำคาญ

 

หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน พี่ติ๋มผ่านมาเจอพี่หวีที่กำลังซื้อของอยู่เลยแวะคุย

"...ใช้ดีมั้ยพี่?..." พี่ติ๋มถามพี่หวีที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์

"...เออ...ใช้ดี ซักผ้าขาวดี สะอาดดี เกลี้ยงดี เงินในกระเป๋าข้าก็เกลี้ยงไปด้วย..." พี่หวีว่า

"...อะไรนะพี่?..."

"...เปล่าๆ ของดี ใช้ดี แต่เอ็งไม่ต้องมาขายบ่อยนะ ข้าไม่มีตังค์จะซื้อแล้ว..."

"...งั้นก็สมัครสมาชิกสิพี่ จะได้ซื้อของราคาถูกๆ แล้วก็ขายสินค้าได้ มีรายได้เสริมด้วยนะ ค่าสมัครแค่เก้าร้อยบาทเอง..."

"...เฮ้ย ! ไม่เอาๆ ข้าไม่มีตังค์แล้ว เดี๋ยวจะรีบซื้อกับข้าวกลับไปทำให้ลูกกิน..."

"...พี่รอแป๊บนึงเดี๋ยวฉันเอารายละเอียดให้นะ..."

ขณะที่พี่ติ๋ม หันไปค้นเอกสารเตรียมจะอธิบายให้พี่หวีฟังเรื่องการสมัครสมาชิก พี่หวีก็สตาร์ทรถเครื่องออกไปทันที

 

ตอนเย็น เจ้าปุ๊กเพื่อนรุ่นน้องคน(เคย)สนิทของพี่ติ๋ม มานั่งปรับทุกข์กับพี่หวี เรื่องพี่ติ๋มที่จ้องแต่จะขายของอย่างเดียว

"...มันเกินไปนะพี่หวี พี่ติ๋มแกกลายเป็นอะไรไปก็ไม่รู้ เมื่อก่อนขายเครื่องสำอางค์ยังไม่เท่าไรนะ มีอะไรก็คุยกันได้ แกก็แนะนำบางตัวให้ใช้ ตัวไหนไม่ดีแกก็ว่าไม่ดี เรื่องสัพเพเหระก็ยังคุยกันได้ แต่พอมาขายยี่ห้อนี้...สินค้าตัวไหนๆ แกก็โม้ได้เป็นคุ้งเป็นแควว่าดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ แต่ถามว่าแกใช้หรือเปล่า แกก็บอกว่าเปล่า แต่แกรู้ว่ามันดี...แล้วอย่าเปิดช่องให้เชียวนะ แกจ้องจะขายเลยล่ะ...วันก่อน แกโทรไปหาฉันที่ทำงาน นึกว่ามีเรื่องด่วนอะไร...เปล่า...แกพยายามจะให้ฉันซื้อเครื่องดูดฝุ่นให้ได้ แกบอกว่า...แค่เครื่องละสามหมื่นสองเอง คุ้มสุดๆ เลยนะ...โห...พูดยังกับว่าฉันเงินเดือนห้าหมื่น...ถ้าฉันมีเงินสามหมื่น ฉันจะซื้อเครื่องดูดฝุ่นมาทำไม ถอยรถเครื่องใหม่มาขับไม่ดีกว่าหรือพี่..." เจ้าปุ๊ก ระบายอย่างเซ็งเต็มทน


"...วันก่อน เจ้าเจี๊ยบมันบอกว่า มันเพิ่งตัดผักเสร็จ มือก็เปื้อนยางผัก ยังไม่ได้ล้าง พอไอ้ติ๋มแวะมานั่งเล่นที่บ้าน มันก็เลยมานั่งคุยด้วย...พอไอ้ติ๋มมันเห็นมือเจ้าเจี๊ยบเท่านั้นแหละ มันบอกเลยว่า ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดของมัน รับรองว่าขจัดได้ทุกคราบสะอาดสุดยอด...แต่ไอ้เจี๊ยบมันบอกว่า ใช้ทำไม แค่สบู่กับน้ำเปล่าก็ล้างออกแล้ว..."

พี่ติ๋มกับเจ้าปุ๊ก หัวเราะครืน แล้วก็ชวนกันนินทาเรื่องของพี่ติ๋มอีกหลายเรื่อง

 

ที่จริง พี่ติ๋มไม่ใช่คนไม่ดี เพียงแต่พฤติกรรมจ้องจะขายของจนเกือบจะกลายเป็นการยัดเยียด มันทำให้คนฟังอึดอัด


สินค้าน่ะดีจริง ไม่มีใครเถียง แต่ราคาที่สูงขนาดนั้น ชาวนาชาวไร่ไม่ได้มีรายได้แบบคนทำงานประจำ ใครล่ะจะซื้อมาใช้


ของฟุ่มเฟือยแถมราคาแพง คนขายต้องใช้ฝีมือหว่านล้อมมากกว่า ทั้งยังเสี่ยงต่อการที่จะทำให้ชาวบ้านเอือมมากกว่าอีกด้วย

 

ถ้าการไต่ขึ้นไปสู่จุดสุดยอดของความสำเร็จด้วยการเป็นยอดนักขาย คือสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเสียอะไรไปก็ตาม


บางที ลองมองกลับมาบ้างก็ดี ว่าการต้องเสีย "ความสัมพันธ์" กับคนที่เราเคยผูกพันธ์และรู้สึกดีด้วยนั้น

 

มันคุ้มกันจริงหรือเปล่า ?

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…