Skip to main content

คืนหนึ่ง
ผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึง
สถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่ง
ผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่น
ตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง

ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวัน

ผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น และทำไมผมจึงรู้สึกอย่างนั้น บางที อาจเป็นเพราะความคุ้นชินบางอย่างที่ได้รับขณะที่อยู่ที่นั่น ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่อื่น และบางทีอาจเป็นเพราะลึกๆ แล้วผมปรารถนาจะได้ประสบการณ์แห่งความรู้สึกนั้นอีกครั้ง
ความสงบ, เงียบ ไม่มีเสียงพูดคุย ไม่มีเสียงผู้คน ไม่มีแม้เสียงของตัวเอง หากลองตั้งสมาธิให้ดีจะได้ยินกระทั่งเสียงลมหายใจและเสียงหัวใจเต้น เสียงใบไม้ไหว เสียงนกในป่าที่มองไม่เห็นตัว เสียงปลากระโดด เสียงลมพัด เงียบราวกับเป็นเวลากลางคืน แต่นี่คือเวลากลางวัน ในสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมร้อยคน ยากจะหาที่ไหนเหมือน, มีคนอยู่รวมกันมากขนาดนี้ แต่กลับเงียบขนาดนี้

เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมวิปัสสนาและกลับมาสู่วิถีชีวิตคนเมืองอีกครั้ง ผมเริ่มรู้สึกถึงความแปลกแยกบางอย่างที่ก่อตัวอยู่ภายใน ดูเหมือนจะเป็นความแปลกแยกกับ “เสียง”

เมืองคือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความสั่นสะเทือน มีแสงเจิดจ้าในยามค่ำ มีสีสันจากป้ายเรืองแสง มีสรรพเสียงจากทุกทิศทุกทางทุกเวลา เราอยู่กับแสงและเสียงแทบจะตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นลืมตาจนถึงล้มตัวลงนอน และอาจมากเสียจนไม่อาจคุ้นชินเมื่ออยู่ในสภาวะที่ปราศจากมัน

ความเงียบจึงคล้ายสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ ไม่ใช่แค่กำลังจะหายไปจากเมือง แต่มันกำลังจะหายไปจากใจมนุษย์ด้วย

“...เด็กยุคนี้ขี้เหงาเพราะเขาโตมากับเสียง ไม่เคยอยู่เงียบๆ ไม่รู้จักต้นไม้ว่าต้นไหนหน้าตาเป็นยังไง หลายคนเลี้ยงลูกด้วยทีวีซึ่งน่าเป็นห่วง สังคมเราร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็เป็นไปในเชิงบริโภคมากขึ้น ซื้อๆๆ เด็กมีโลกของตัวเอง มีที่ครอบหู ฟังเพลงตลอดเวลา ชอบความบันเทิงที่ใช้เสียง บันเทิงแบบเงียบๆ ไม่รู้จัก ทั้งที่จริงความเงียบก็เบิกบานได้ พอเปิดทีวีดัง ชอบเสียงดัง ใช้ชีวิตอยู่ในที่ที่เสียงดัง หูก็ตึงตั้งแต่เด็ก ตอนนี้เรากำลังสู้กับเด็กที่หูตึง เด็กจำนวนมากเป็นคนหูพิการไปแล้วโดยไม่รู้ตัว น่ากลัวมาก อันตราย

ประเทศกำลังอยู่ในวิกฤติ แต่ไม่มีใครรู้ เยาวชนฟังเพลงดังๆ ชอบดังๆ ฟังทั้งวัน ไม่สามารถอยู่เฉยได้ กลับถึงบ้านเปิดทีวี วิทยุ ไม่เคยได้อยู่เงียบๆ พรีเซนเตอร์ หรือคนอ่านสปอตทั้งหลายก็พูดเบาๆ หรือพูดปกติไม่เป็นแล้ว สังคมที่ไม่มีความสงบคือสังคมที่วิบัติ...”

(เสียงดังกำลังคุกคามถ้วยชาวิถี  ปานชลี สถิรศาสตร์ ,โลกของเราขาวไม่เท่ากัน : ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ และ วรพจน์ พันธุ์พงศ์)

หลายคนอาจคิดว่า ความสุขกับความสนุกนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นต่างออกไป
เสียงต่างๆ อาจทำให้เราสนุก รื่นรมย์ บันเทิง แต่ถ้ามากเกินไป บ่อยเกินไป เสียงใดก็แล้วแต่ไม่อาจให้ความสนุกได้อีกแล้ว มากๆ เข้าจากความสนุกก็จะกลายเป็นทุกข์

ความเงียบสงบต่างหากที่จะทำให้เราได้พบกับความสุขที่แท้จริง
เพราะความเงียบคือการลดทอนสิ่งฟุ่มเฟือยที่เราเรียกว่าเสียงเพื่อเราจะได้พบกับความสงบ
ความเงียบเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรากลับสู่ภายใน และเกิดสำนึกปรารถนาสันติ
ความเงียบคือการกลับสู่ธรรมชาติดั้งเดิม กลับสู่ความจริง

ในโลกปัจจุบัน
เราแต่ละคนยังเป็นปัจเจกชนที่ปรารถนาสิ่งเร้า และสั่นไหวไปตามสิ่งที่มาเร้า ในขณะที่สภาพแวดล้อมยังเต็มไปด้วยสรรพเสียง ซึ่งบางครั้งก็มากถึงขั้นมลภาวะ ชีวิตที่ดำเนินไปทำให้เราต้องพบกับเสียงมากมายในแต่ละวัน บ้างดัง บ้างเบา บ้างหยาบ บ้างไพเราะ ทั้งเสียงที่น่าพึงพอใจ ที่ไม่น่าพึงพอใจ และที่ไม่ทำให้รู้สึกอะไร แต่เราแทบไม่พบกับความเงียบเลย

บางคนคิดว่าความเงียบคือหายนะ เขาไม่อาจอยู่กับความเงียบได้แม้หนึ่งอึดใจและต้องดิ้นรนหาสรรพเสียงอยู่ตลอดเวลา เมื่อใจเขาไม่ปรารถนาความสงบ ก็ยากที่จะได้พบกับความสุขที่แท้

ความสนุกจากสรรพเสียง กับความสุขจากความเงียบมิใช่สิ่งเดียวกัน สุนทรียะจากการรังสรรค์ของมนุษย์คือความสนุก แต่สุนทรียะจากความสงบ คือความสุขที่ดี่มด่ำล้ำลึกกว่า

เมื่อได้มีประสบการณ์ถึงความเงียบยาวนานถึงสิบวัน ก็คงไม่แปลกที่ผมจะคิดถึงมัน
ถ้ามีใครสักคนบอกผมว่า “สวรรค์ คือสถานที่ที่เต็มไปด้วยความเงียบ” ผมคิดว่า ผมอาจจะเชื่อเขา

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…