Skip to main content
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเอง

สองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิด

จากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต ถึงวันที่เจ้าของสวนต้องล้มป่วยด้วยฤทธิ์ของสารเคมี สวนแห่งนี้จึงค่อยๆ ผ่านวันคืนแห่งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาสู่สภาพปัจจุบัน

ต้นมะพร้าวนั้นถูกปลูกขึ้นในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นเนื่องจากข้าวกำลังล้นตลาด
ปลาตัวโตในบ่อ เลี้ยงไว้แต่ไม่กิน เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ การเลี้ยงปลานั้นช่วยให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้น
พืชผักใกล้บ้านและที่ปลูกริมลำเหมืองใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ทำเอง ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น
“แล้วเรื่องโรคเรื่องแมลงละครับ ?” ผมถาม
“ก็มีบ้าง แต่เราปลูกหลายๆ อย่างรวมกัน มันก็ช่วยคุมกันไป ถ้ามีแมลงบ้างก็ถือว่าแบ่งกันกิน ให้มันกินบ้าง เรากินบ้าง ไม่เป็นไร”  
เครื่องสีข้าวแรงคน ตั้งอยู่กลางกองข้าวเปลือกใต้หลองข้าว สีแต่พอหุง เมื่อหมดจึงสีใหม่  การสีข้าวแบบนี้ทำให้จมูกข้าวไม่ถูกทำลาย ข้าวแต่ละเมล็ดจึงเปี่ยมด้วยสารอาหาร

สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นอยู่ในสวนแห่งนี้ ได้แก่บ้านพักหลังเล็กทั้งที่เป็นบ้านไม้ไผ่และบ้านดินที่ปลูกเรียงรายรอบบริเวณ อันเนื่องมาจากที่นี่ได้จัดกิจกรรมธรรมชาติบำบัดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นอกจากผู้ที่มาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับและผู้มาเข้ารับการรักษาแล้ว ยังมีผู้มาเข้าคอร์สบำบัดเรียนรู้เรื่องการรักษาสุขภาพวิถีไท ทำให้ต้องมีที่พักรองรับ

เอกชัย จินาจันทร์ เจ้าของสวนรุ่นที่สอง เล่าว่า แต่เดิมนั้น บิดาให้ความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติธรรม ต่อมาตนเองได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัด จนกระทั่งสามารถให้คำแนะนำและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ จึงได้ดำเนินกิจกรรมด้านนี้ควบคู่ไปกับการทำเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบัน สวนสายลมจอย อยู่ในเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเริ่มมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

หลังอาหารกลางวัน จำนวนผู้มาเข้ารับการบำบัดประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่มานวด,ฝังเข็ม,พอกโคลน ฯลฯ พวกเรานั่งฟัง เอกชัย และ พี่ต้อม ผู้จัดการสวนสายลมจอย บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองผ่านแผนผัง “นาฬิกาอวัยวะ” ซึ่งบอกช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะภายในแต่ละส่วน หากเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับนาฬิกาอวัยวะนี้ได้ ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปอย่างสมดุล ไม่โอนเอนไปมา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเสียสมดุล

03.00 – 05.00    ปอด         ตื่นนอนในช่วงนี้ได้ ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด
05.00 – 07.00    ลำไส้ใหญ่    ช่วงเวลาของการขับถ่าย เพราะลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด
07.00 – 09.00    กระเพาะอาหาร    หากได้ทานอาหารเช้าในช่วงนี้จะมีพลังงานตลอดวัน
09.00 – 11.00    ม้าม        อารมณ์โกรธ เครียด อิจฉา ริษยา มีผลต่อม้าม ซึ่งสร้างเม็ดเลือดขาว
คนที่ใช้อารมณ์ด้านลบเป็นประจำจึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
11.00 – 13.00    หัวใจ        ช่วงเวลาหลังอาหารเที่ยงควรงีบหลับสัก 20 นาที (cesta) จะทำให้                สดชื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
13.00 – 15.00    ลำไส้เล็ก    ช่วงนี้มีการดูดซึมอาหารมากทำให้หิว แต่ไม่ควรรับประทานอะไรมาก
15.00 – 17.00    กระเพาะปัสสาวะ  -
17.00 – 19.00    ไต        ช่วงนี้คนจำนวนมากมักจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ไต
ควรจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่ควรหักโหม
19.00 – 21.00    กล้ามเนื้อหัวใจ    ช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเตรียมนอน
21.00 – 23.00    พลังงานรวม    -
23.00 – 01.00    ถุงน้ำดี        -
01.00 – 03.00    ตับ        -


“เรื่องการดื่มกาแฟละครับ ?” ใครคนหนึ่งถาม
“กาแฟมีประโยชน์ คือช่วยกระตุ้นสมองและหัวใจ แต่ควรดื่มหลังอาหารและไม่ควรดื่มมาก เพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด” เอกชัย ตอบ

ตื่นตีสี่ มื้อเช้าเจ็ดนาฬิกา พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เข้านอนสามทุ่ม นี่คือวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ คือระบบที่พระพุทธองค์ทรงทราบ และนำปฏิบัติมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว

หลังจบการบรรยาย เราต่างมองหน้ากันแล้วยิ้ม เพราะเราต่างรู้ดีว่าแต่ละคนใช้ชีวิตผิดจากนาฬิกาอวัยวะ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย และเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากหากตั้งใจจะปฏิบัติจริง

หรือไม่ใช่?

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…