Skip to main content

(มะพร้าวกะทิ)

ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาด
ฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว

แต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผม
อาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก
แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆ

ผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี
มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ ราวกับกำลังเคี้ยวเนยก้อน จะว่าอร่อยก็ไม่เชิง จะว่าไม่อร่อยก็ไม่ใช่ เมื่อกินพร้อมกับน้ำตาลทราย กลับหวานมันเพลินปาก
ตอนนั้นผมคิดตามประสาเด็กว่า ทำไมจึงเรียกว่ามะพร้าวกะทิ น่าจะเรียกว่า มะพร้าวเนยมากกว่า

หลายปีต่อมา ผมได้พบเจอกับเจ้ามะพร้าวกะทิอีกครั้งสองครั้ง แต่ไม่ค่อยประทับใจนัก เพราะรสชาติ ออกจะมันเลี่ยนเกินบ้าง เก่าจนเหม็นหืนบ้าง ทั้งผมเองก็ไม่ได้ติดอกติดใจเป็นพิเศษ จึงไม่ได้ขวนขวาย

จนกระทั่ง วันหนึ่ง หลังจากจัดข้าวของเข้าที่เข้าทางแล้ว แม่บ้านของผมไปสอยมะพร้าวข้างบ้านมากองรวมกันไว้ เนื่องจากมีคนมาติดต่อขอซื้อมะพร้าว
เธอชี้ให้ผมดูมะพร้าวต้นที่อยู่หน้าบ้านด้านติดกับถนน
“ต้นนี้แหละ...มะพร้าวกะทิ”

ทราบกันดีว่า ถ้ามะพร้าวต้นไหน เคยให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิ ก็จะให้อยู่เรื่อยๆ อย่างนั้น ปะปนกับมะพร้าวธรรมดา ส่วนต้นไหนที่ไม่เคยให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิ ก็จะไม่มีทางได้มะพร้าวกะทิจากต้นนั้นเลย

จำนวนต้นมะพร้าวที่ให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิ ต่อ ต้นมะพร้าวธรรมดา จะเป็นสัดส่วนเท่าไร ผมไม่ทราบ แต่สำหรับราคารับซื้อนั้น มะพร้าวกะทิราคาผลละ 30-40 บาท ขณะที่มะพร้าวธรรมดาผลละ 5-7 บาทเท่านั้น

เมื่อแม่บ้านสอยมะพร้าวจากต้นนั้นลงมากองรวมกัน แม่ยายผมก็เดินมาสมทบ แกจับลูกมะพร้าวเขย่าทีละลูก ๆ เงี่ยหูฟังอย่างผู้ชำนาญการ
“ลูกนี้ไง มะพร้าวกะทิ พอเขย่าแล้วมันดังกล๊อกๆ”  แกส่งมะพร้าวกะทิให้ผมสองลูก
“สองลูก ก็ขายได้หกสิบ” ผมคำนวณอย่างรวดเร็ว
“อย่าขายเลย เก็บไว้กินเหอะ” แกบอก

ผมยิ้ม เดินเอามะพร้าวไปเก็บในครัว
แกทำให้ผมคิดได้
จะขายทำไม ของดีเราปลูกได้ ต้องเก็บไว้กินเองสิ

เย็นวันนั้น แม่บ้านตัดกล้วยกำลังสุกจากข้างบ้านมาทำ กล้วยบวชชีใส่มะพร้าวกะทิ เป็นของหวาน ที่ทั้งหวาน ทั้งมัน
อร่อยมาก...
หลังจากห่างเหินไปนาน การเจอกันระหว่างผมกับมะพร้าวกะทิครั้งนี้ ค่อนข้างน่าประทับใจ เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดี ก่อนจะต้องพบกันอีกหลายครั้ง
        
(แก๊งหาหอย)

สังคมชาวบ้าน ไปมาหาสู่กันทั้งด้วยธุระปะปังและกิจนอกการงานเป็นเรื่องปกติ บ่อยครั้งที่มีเพื่อนบ้านมาส่งข่าวกับแม่ยายของผม ว่าวันนี้ เวลานี้ ขึ้นรถที่ตรงนั้น จากนั้นแม่ยายของผมก็จะนั่งขัดนั่งลับเหล็กแท่งยาวคล้ายชะแลง แต่ปลายแหลมแบน ไว้รอท่า

เมื่อผมถามภรรยาก็ได้คำอธิบายว่า
แม่ยายของผม นอกจากทำสวนผัก และทำนาแล้ว แกยังมีงานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งคือการ “ ไปขุดหาหอย”

ขุดหาหอย ? ... ที่ไหน...? อย่างไร...?

จากบ้านแหลมถึงชะอำ ชายหาดทอดตัวยาวหลายสิบกิโลเมตร ทั้งหาดที่เป็นทราย และหาดที่เป็นเลน ตลอดความยาวของแผ่นดินริมทะเลจะมีบริเวณที่หอยน้ำเค็มนานาชนิด ผลัดกันขึ้นมานอนอาบแดดตลอดทั้งปี

คนที่รู้แหล่ง ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาหากินอยู่กับทะเล พอทราบว่าหอยขึ้นที่ไหนก็จะมาบอกพี่น้องพวกพ้อง ให้ไปขุดหาหอยกัน  บรรดาผู้นิยมการขุดหาหอย ไม่ว่าจุดที่หอยขึ้นนั้นจะอยู่ไกลแค่ไหน ก็จะต้องดั้งด้นไปกันจนได้

สมาชิกชมรมนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย ว่ากันว่า จุดที่หอยขึ้น และมีคนไปขุดหานั้น ครึกครื้นระดับงานวัดย่อมๆ เลยทีเดียว
กิจกรรมที่ว่านี้ แม่ยายผมไม่เคยพลาดสักครั้ง ต่อให้ติดงานอะไรก็ต้องหาเวลาว่างไปจนได้ ผมเลยขนานนาม กลุ่มผู้นิยมการขุดหาหอยนี้ว่า  “แก๊งหาหอย”    
    
วันไหนจะไปหาหอย จะมีเพื่อนบ้านร่วมแก๊งเดินมาบอกแม่ยายผมล่วงหน้า พอถึงวันนัด เช้าตรู่ก็ขึ้นรถกันไป ตกบ่าย แม่ยายผมก็จะหอบผลงานเป็นกระสอบใส่หอยทะเลสารพัดชนิดมาวางที่ข้างครัว น้ำหนักก็ไม่มากไม่มาย แค่ครั้งละสิบกว่ากิโลกรัม เท่านั้น

หอยที่มายกพลขึ้นบกนั้นมีสารพัดชนิด ใครชอบหอยอะไรก็หาขุดหากันตามรสนิยม ส่วนใหญ่ ที่แม่ยายผมเอามาทุกครั้ง จะต้องมีหอยแครง,หอยคราง,หอยเสียบ และหอยตลับ บางครั้งก็จะได้หอยหวาน และหอยแมงภู่ติดมาด้วย

เมื่อผมถามถึงการขุดหา แม่ยายผมเล่าว่า หอยแต่ละชนิดก็มีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไป วิธีการและความยากง่ายในการขุดหาก็ไม่เท่ากันด้วย หอยบางชนิดอยู่ไม่ลึก ก็ค่อยๆ คราดทรายหา แต่
อย่างหอยเสียบซึ่งเนื้อเยอะ รสชาติดี แต่ต้องใช้วิธีขุดหา ขุดๆ ไป บางทีหอยมันก็ดำทรายหนีไปได้

เมื่อมีหอยมากมายทั้งปริมาณและชนิดขนาดนี้ เมนูอาหารหลายวันต่อมาจึงเต็มไปด้วยหอย
ทั้งหอยแครงลวง ,ยำหอยแครง,หอยเสียบผัดฉ่า,หอยเสียบผัดมะพร้าว,หอยตลับผัดพริกเผา,แกงหอยใส่ใบมะขาม ฯลฯ

น่าแปลกที่กินหอยติดกันทุกมื้อ ผมก็ยังไม่รู้สึกเบื่อ อาจเพราะเป็นของสดกระมัง
ทีแรกผมเห็นปริมาณหอยที่แม่ยายจับมาแต่ละครั้งมากมาย ผมก็คิดอย่างที่หลายคนคิด นั่นคือ ถ้าเอาไปขาย คงได้ราคาคงไม่น้อย     ทว่า เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องมะพร้าวกะทิ คือ จะขายทำไม ของดีเราหามาได้ เก็บไว้กินเองไม่ดีกว่าหรือ ?

ครอบครัวของเราได้กินของอร่อย หากมีมากก็แบ่งให้ญาติพี่น้องให้บ้านใกล้เรือนเคียง
เงินนั้นเป็นเรื่องรอง ปล่อยให้น้ำใจ ไหลไปสู่กันและกัน
จิตใจคนก็ชุ่มชื่นเหมือนแผ่นดินหลังฝนตก
    
เมื่อกลับมาอยู่ในสังคมที่ของกินแทบไม่ต้องซื้อ
ผมคิดถึง ข้าวสาร และ น้ำมัน(ทั้งที่ปรุงอาหารและที่เติมรถยนต์) ที่ราคาขึ้นแทบทุกวัน ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
ของดีเรามี แต่เราไม่เก็บไว้กินเอง ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน คิดแต่จะส่งขายเอากำไร
สังคมเดือดร้อน เพราะคนที่มีมาก กั๊กไว้ไม่ยอมแบ่งปัน
ก็แล้วใครจะไปพูดให้เขาเข้าใจเรื่องความเห็นแก่ตัว และ การเห็นแก่ประโยชน์สุขของสังคม

ในเมื่อเงินและอำนาจมันบังตาเขาหมดแล้ว

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…