Skip to main content



คุณรู้ไหม
...
เขาว่ากันว่าโลกร้อน
น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย
น้ำกำลังจะท่วมกรุงเทพฯ

...


หลายคนเตือนมา

เขาว่าอีกไม่เกิน ๑๐ ปี
แต่บางคนบอกปีหน้า

...


วันก่อนผมหยุดคุยกับแม่ค้าที่ตลาด

เจ๊แกบอกว่า…
เศรษฐีเมืองกรุงมาซื้อที่บนดอย เตรียมไว้ปลูกบ้านกันแยะ”

....


เชียงรายเป็นหนึ่งในที่ลี้ภัยสินะ

...
ผมคิด

...


สำหรับผม

ผมไม่ได้คิดจะมาอยู่เชียงรายเพื่อหนีน้ำ
จึงยังไม่ได้เตรียมซื้อที่เนินไว้ปลูกบ้าน
ยังไม่ได้เตรียมซื้อเรือพาย
หรือห่วงยางไว้สำหรับลูกสาว

...


บางครั้งผมก็มานั่งคิด

ว่าเอ...
ทำไมเราจึงได้ชะล่าใจถึงเพียงนี้
ไม่รีบหาที่ทางกันเหนียวเอาไว้บ้าง

...


น้ำท่วมโลก

โลกวิปริต
ผมคิด...
เกิดขึ้นแน่ๆ
ตายแน่ๆ
ไม่ช้าก็เร็ว ไม่นานเกินรอ
หากผู้อยู่อาศัยในโลก
ยังบริโภคกันแบบนี้
ยังใช้น้ำมันกันแบบนี้
ยังผลิตขยะและของเสียกันแบบนี้
ยังแก่งแย่ง แข่งขันกันแบบนี้
เป็นพลโลกที่ปราศจากจิตสำนึกกันไปเรื่อยๆ แบบนี้

...


บอกตรงๆ

บางทีผมเห็นรถราในกรุงเทพฯ
เห็นวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ
เห็นคลองในกรุงเทพฯ
ผมยังคิดเล่นๆ ว่า
ให้น้ำพัดมาล้างกรุงเทพฯบ้างก็น่าจะดี
แต่มันจะล้างใจที่ด้านชาและสกปรกของคนออกไปได้บ้างไหมนะ
บางที
คงมีเพียงความทุกข์แสนสาหัสเท่านั้น
ที่จะทำให้คนตื่น
...
ผมคิด

....


สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เศรษฐกิจตกต่ำ

บ้านเมืองลุกเป็นไฟ คนไทยฆ่าฟันกัน
โลภ ...โกรธ ...หลง
กับโลกร้อน
คนป่วย โลกก็ป่วยได้
ฟ้าก็บ้าได้ ธรณีก็คลั่งได้
เกิดได้ ก็เจ็บได้ และตายได้เช่นกัน
คุณว่าไหม?

...


เขาว่าการเจริญมรณสติ

จะทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
การเจริญมรณสติในที่นี้ คงไม่ได้หมายถึง
การดำเนินชีวิตแบบกลัวตายหรือหนีตาย
แพนิค แอนด์ พารานอย (panic and paranoia)
ไม่ประมาทไว้ก่อน” จนลุกลี้ลุกลนไม่เป็นตัวของตัวเอง
แต่ผมว่า การเจริญมรณสติ น่าจะหมายถึงอะไรง่ายๆ
อย่างการตระหนักรู้ในทุกลมหายใจเข้าออกที่ว่า
ความตายมาเยือนเราได้ตลอดเวลา”
ภัยจะมาเมื่อไรก็ได้”
แล้วไงต่อ

...


น้ำท่วมโลกถือเป็นเรื่องใหญ่

อาจหมายถึง ความตายของอะไรหลายๆ อย่าง
ที่ใกล้เข้ามา รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ช้าก็เร็ว
เมื่อความตายอยู่ตรงหน้า คำถามที่ว่า
ถ้าพรุ่งนี้อเมริกาจะทิ้งระเบิดปรมาณูลงทั่วประเทศไทย คุณจะย้ายไปอยู่ประเทศไหน?”
หากคุณกำลังเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย คุณจะไปบำบัดรักษา ยืดเวลาชีวิตกันที่ไหน?”
และ “ถ้าพรุ่งนี้น้ำจะท่วมโลก คุณจะหนีน้ำไปอยู่ไหน?”
มองออกนอกตัวไป แล้วเห็นอะไรในใจบ้าง

...


ได้ยินไหม
...
ยังมีเสียงกระซิบอย่างแผ่วเบา เสียงด้านในที่ยังเฝ้าถามใจเราอยู่เสมอ
ถ้าพรุ่งนี้คุณอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนรอบข้างที่คุณรักอีกต่อไป คุณจะใช้เวลาของวันนี้อย่างไร?”
ผมว่า...
นั่นคือพลังแห่งการดำเนินชีวิตที่ความตายได้มอบให้


น้ำท่วมโลก”
คนไทยฆ่าฟันกัน”
สันติภาพกำลังจะสูญสิ้น”
ข้อความเหล่านี้ ไม่ได้เอาไว้เพียงเพื่อมองความเป็นไปในแง่ร้าย
ไม่ได้เอาไว้กระตุ้นต่อมความหวังและความกลัว
สร้างโลกขมุกขมัวให้ใจหมอง

...


คำถามเหล่านี้

เป็นคำถามแห่งความเป็นความตาย
เป็นคำถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบจากนักวิชาการ หรือผู้ (สู่) รู้
แต่มันคือ “คำถามแห่งการเปลี่ยนจิตสำนึก”
คำถามที่ปลุกให้คุณตื่น
ที่คำตอบอาจไม่ได้สำคัญเท่ากับการที่ได้ถาม
เราเกิดมาทำไม”
หากวันหนึ่งเราต้องตาย แล้ววันนี้เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร”
คนทุกคนควรจะได้มีเวลาถามตัวเอง ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที และทุกชั่วขณะ ทุกลมหายใจเข้าออกที่เรายังสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติไปได้ในแต่ละวัน
เป็นคำถามที่เราควรจะถามในทุกครั้งที่เราใช้จ่าย ทุกครั้งที่เราใช้รถ ทุกครั้งที่เราเลือกส..เข้าไปในสภา
ถือเป็นมรณานุสติ

...


น้ำจะท่วมโลกพรุ่งนี้แล้ว
...
วันนี้เราได้ทำอะไรเพื่อคนรอบข้าง และวิกฤตจิตสำนึกที่กำลังเกิดขึ้นบ้าง
น้ำท่วมหน้าบ้านคุณแล้ว...
คุณรู้สึกอะไรในใจบ้างกับความทุกข์ร่วมของเพื่อนมนุษย์ในครั้งนี้

...


อย่างน้อยก่อนจะหาทางหนีทีไล่

ขอได้เปิดพื้นที่ว่างๆ ของใจ
ไว้สำหรับการใคร่ครวญความรู้สึก ความหมาย และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ดูบ้าง
อย่าเอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาหนีน้ำ ขึ้นเรือพาย...
แล้วกลับไปใช้ชีวิตเวียนว่าย บริโภคเผลอไผลอย่างไร้สติ บนดอยแถวเชียงรายกันต่อไป

...


อย่างกะหนังไททานิค

ผมคิด...


**
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑




บล็อกของ วิจักขณ์ พานิช

วิจักขณ์ พานิช
เมื่ออาทิตย์ก่อนเอแบ็คโพลได้รายงานผลสำรวจ ๑๐ อันดับแรกของแนวทางลดความเครียด (ของคนกรุงเทพ) ในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง  “อันดับแรก คือพยายามไม่ยึดติดกับกลุ่มการเมืองใดๆ อันดับสอง ปล่อยวาง ยอมรับสภาพความเป็นจริง อันดับสาม หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง อันดับที่สี่ ลด-งดพูดคุยเรื่องการเมืองกับคนอื่น และอันดับที่ห้า ลด งดติดตามข่าวสารทางการเมืองทางสื่อต่างๆ ส่วนรองๆ ลงไปคือ ติดตามรายการบันเทิงคลายเครียดให้มากขึ้น พูดคุยปรึกษาปัญหาความเครียดกับคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หาที่พึ่งทางศาสนา ฝึกสมาธิ และเลือกติดตามข่าวสารเฉพาะสื่อที่อยู่ฝ่ายเดียวกับตนเอง” (ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๓)
วิจักขณ์ พานิช
 โดยแก่นสาระของการฝึกสมาธิภาวนานั้นไม่มีอะไรมากมาย ขอเพียงผู้ฝึกมีความซื่อตรงและมั่นคงกับประสบการณ์การฝึกของตัวเอง อย่างที่เรียกว่า เรียลลิสติค (realistic) คือ ภาวนาเพื่อการขัดเกลาจิตใจตนเองจริงๆ ไม่ได้มาภาวนาเพื่อได้นั่นได้นี่ เห็นนั่นเห็นนี่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะหากความทะเยอทะยานยังติดเนื้อติดตัวเรามา การภาวนาก็จะเป็นไปในทิศทางของความทะเยอทะยานนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า "ภาวนา" เป็นคำกลางๆ ที่บ่งบอกถึงการเรียนรู้ใจตน ซึ่งในทางปฏิบัติก็จะแตกต่างกันไปตามอารมณ์ของผู้ฝึก  บ้างก็อาจจะมาด้วยอารมณ์หวังผล อารมณ์บรรลุเป้าหมาย อารมณ์อยากได้ความสงบ อยากมีความสุข …
วิจักขณ์ พานิช
เวลาผมไม่สบายใจ ผมมักจะแวะไปเจอเพื่อนสนิท กินข้าว กินเหล้า นั่งคุยกันไปเรื่อย แบบไม่มีจุดหมาย เพียงปล่อยให้ความไว้วางใจที่เพื่อนแท้มีให้แก่กัน ก็พอจะช่วยเยียวยาความคับข้องภายในให้คลี่คลายไปได้ แต่ผมยอมรับว่าในบางครั้ง เวลาที่ผมเจอเรื่องหนักๆ ผมมักจะมองหาเพื่อนที่มีความอาวุโสมากกว่าผม ใครสักคนที่ผมสามารถเคารพเขาได้อย่างสุดจิตสุดใจ เป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมรับฟังเด็กหัวแข็งอย่างผมที่ไม่ค่อยจะรู้จักความหมายของคำว่ากาลเทศะ สัมมาคารวะ หรือทักษะการประจบประแจงใดๆ ก็เรามีเพียงใจเปล่าๆที่อยากที่จะเข้าไปหา รับฟัง แลกเปลี่ยน ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่ไม่ดัดจริตซับซ้อน ผู้ใหญ่ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโชน…
วิจักขณ์ พานิช
คุณรู้ไหม...เขาว่ากันว่าโลกร้อนน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายน้ำกำลังจะท่วมกรุงเทพฯ ...
วิจักขณ์ พานิช
 เขาเชื่อว่าโลกแบ่งเป็นสองขั้ว คือ โลกทางธรรมและโลกทางโลก (aka. โลกๆ) เขาเคยคิดว่าเขามั่นใจและเข้าใจ จนวันนี้ที่เขาได้ตระหนักแล้วว่า มันก็ยังเป็นเพียงแค่ "คิด" ว่าเข้าใจ หลายปีที่เขาพยายามขดตัวอยู่ในโลกทางธรรมที่เขาสร้างขึ้นจากอุดมคติของความเป็นคนสมบูรณ์แบบ เขารู้สึกถึงรสประหลาดของชีวิตที่เริ่มส่งกลิ่นเหม็นของความหมกมุ่น ไอเดือดของความรุ่มร้อน และผลึกอันเย็นเยือกของความด้านชา วันนี้...เขานั่งครุ่นคิด ทบทวน กับเส้นทางอันแสนประเสริฐที่เขาเลือกเดินไอคุกรุ่นเดือดดันฝากาให้กระเด็นออก เสียงหวีดร้องก้องดังอยู่ในความเงียบงัน…
วิจักขณ์ พานิช
เรจินัลด์ เรย์ เขียน วิจักขณ์ พานิช ถักทอและร้อยเรียงเชอเกียม ตรุงปะ เคยกล่าวไว้ว่า “หากคุณสามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางทางจิตวิญญาณได้ คุณก็ควรจะทำเสีย” การฝึกฝนทางจิตวิญญาณที่เข้มข้นจะนำพาคุณไปยังสถานที่ที่ซึ่งอัตตาของคุณถูกสั่นคลอนและถอนรากอย่างถึงที่สุด ราวกับกำลังถูกท้าทายด้วยเพลิงไฟแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณได้ย่างก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งการฝึกตน เรากำลังพูดถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่แท้ หาใช่ความเป็นศาสนาที่ฉาบฉวยหรือการโหยหาความสุขสงบด้วยการภาวนาวันละนิดวันละหน่อย เรากำลังพูดถึงการอุทิศตนบนธรรมแห่งการตื่นรู้ในทุกลมหายใจเข้าออก
วิจักขณ์ พานิช
การที่คนคนหนึ่งจะอุทิศชีวิตเข้าสู่เส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองอย่างมุ่งมั่น พลังแห่งศรัทธานั้นมักจะเกิดขึ้นด้วย “จุดเปลี่ยน” อันเป็นช่วงชีวิตที่เขาได้มองเห็นความเป็นจริงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ความจริงที่แตกต่างออกไปจากแบบแผนหรือความเชื่อที่ผู้คนในสังคมบอกให้ทำตามๆกันมา จุดเปลี่ยนได้นำมาซึ่งแรงดลใจ ความมุ่งมั่น และศรัทธา บ่มเพาะเป็นความกล้าที่จะ “เอาชีวิตเข้าแลก” จนเส้นทางชีวิตของเขาได้ปรากฏเป็นประจักษ์พยานในตัวของมันเอง ชีวิตหนึ่งที่ทำผู้คนรอบข้างได้ตระหนักว่า สิ่งที่ดูจะเป็นไปไม่ได้สามารถเป็นไปได้ พลังแห่งศรัทธาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะภายใต้ความยิ่งใหญ่ย่อมแฝงไว้ด้วย “ทิฐิ”…
วิจักขณ์ พานิช
ผมกลับเมืองไทยมาได้หนึ่งเดือนแล้วครับ หนนี้ถือเป็นการกลับอย่างถาวร คือ ตั้งใจจะกลับมาทำประโยชน์ที่เมืองไทย หยั่งรากและเติบโตบนผืนดินผืนนี้จริงๆ ตั้งแต่กลับมาวันแรกจนถึงวันนี้ ก็ได้ผ่านอุปสรรคทั้งภายนอกและภายในไปนับไม่ถ้วน เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางและหมิ่นเหม่ที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้ในช่วงเวลาที่การเดินทางด้านในโอนเอนแทบจะเอาตัวไม่รอดในหลายต่อหลายครั้ง  การเดินทางด้านนอกก็ยังคงดำเนินกันต่อไปตามครรลอง ผมได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยพบปะกับผู้คนในแวดวงการศึกษามากมาย ทั้งกับคนที่เคยได้อ่านงานเขียนของผม หรือกับกัลยาณมิตรที่รู้จักมักจี่กันเป็นการส่วนตัว ผมก็ยังเป็นผม…