Skip to main content

1

การที่คนคนหนึ่งจะอุทิศชีวิตเข้าสู่เส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองอย่างมุ่งมั่น พลังแห่งศรัทธานั้นมักจะเกิดขึ้นด้วย “จุดเปลี่ยน” อันเป็นช่วงชีวิตที่เขาได้มองเห็นความเป็นจริงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ความจริงที่แตกต่างออกไปจากแบบแผนหรือความเชื่อที่ผู้คนในสังคมบอกให้ทำตามๆกันมา จุดเปลี่ยนได้นำมาซึ่งแรงดลใจ ความมุ่งมั่น และศรัทธา บ่มเพาะเป็นความกล้าที่จะ “เอาชีวิตเข้าแลก” จนเส้นทางชีวิตของเขาได้ปรากฏเป็นประจักษ์พยานในตัวของมันเอง ชีวิตหนึ่งที่ทำผู้คนรอบข้างได้ตระหนักว่า สิ่งที่ดูจะเป็นไปไม่ได้สามารถเป็นไปได้

พลังแห่งศรัทธาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะภายใต้ความยิ่งใหญ่ย่อมแฝงไว้ด้วย “ทิฐิ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ ทิฐิ ที่ว่าหาได้มีความถูกหรือผิด “สัมมา” หรือ “มิจฉา” โดยสมบูรณ์ เพราะสิ่งเดียวที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงผลลัพธ์แห่งทิฐินั้น ก็คือการปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของบุคคลผู้นั้นนั่นเอง

ในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาก็เช่นเดียวกัน ที่ไม่ใช่ว่านักภาวนาจะต้องถูกปั๊มออกมาเป็นพิมพ์เดียวเหมือนกันหมด คนที่เลือกเข้าสู่เส้นทางการฝึกฝนทางจิตวิญญาณจำเป็นต้อง “critical” ในศรัทธาและความเชื่อของตนเองอยู่เสมอๆ มิฉะนั้นเราก็คงไม่สามารถเรียกเส้นทางสายนี้ว่าเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพ หรือเส้นทางแห่งการเรียนรู้ จนสามารถนำศักยภาพสูงสุดในตนเองออกมาเป็นประจักษ์พยานได้เลย

บนเส้นทางแห่งการฝึกตน เราจำเป็นจะต้องมีความกล้าที่จะเข้าไปเผชิญกับทุกขสัจ เพราะมีเพียงทุกขสัจเท่านั้นที่จะเป็นครูแห่งประสบการณ์ตรง ให้เรารู้จักที่จะติดดิน เรียนรู้ชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับผู้อื่น หากเส้นทางแห่งการฝึกตนเป็นไปเพื่อความสุขสงบจาก “การหนี” เราคงไม่สามารถรู้สึกถึงความเต็มเปี่ยมของการเติบโตทางจิตวิญญาณที่แท้ได้

ขอฝากถ้อยคำของหลวงพี่ไพศาล วิสาโลที่ผมได้ยินได้ฟังจากการเข้าร่วมประชุมจิตวิวัฒน์ ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา มาฝากเพื่อนๆทุกคน เป็นถ้อยคำที่ทำเอาผมน้ำตาเอ่อ ช่วยปลุกเร้าพลังแห่งศรัทธา และอุดมคติของชีวิตของคนเล็กๆบ้าๆ ที่คิดฝันจะทำอะไรแปลกๆได้อีกครั้ง

ขอขอบคุณพี่นัน (วรพงษ์ เวชมาลีนนท์) สำหรับไฟล์บันทึกเสียงของหลวงพี่ไพศาล ที่ส่งมาถึงผมตามคำขออย่างรวดเร็วทันใจนะครับ

พลังแห่งศรัทธา

พระไพศาล วิสาโล

ในการปฏิบัติธรรม คุณต้องเผชิญหน้ากับความกลัว เข้าไปในป่า เข้าไปเจอสิ่งเสียดแทงในชีวิตอย่างแรง จนคุณสามารถผ่านมันไปได้ พระอรหันต์หลายท่านได้สูญเสียลูก สูญเสียคนรัก เจ็บปวดทางใจมากมาย จนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของเขา

สำหรับถ้าเรามองเรื่องจิตวิวัฒน์ เราต้องมีความเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ อาตมาคิดว่าโอกาสแห่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่คนเราโดนบีบคั้นอย่างรุนแรง คือ พอมันตั้งจิตไว้ได้ถูก
ยิ่งเจอความรุนแรงมากเท่าไหร่ เจออุปสรรคในชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์มากเท่าไหร่ มันยิ่งเกิดศรัทธาในมนุษย์มากขึ้น มันยิ่งซาบซึ้งศรัทธาในเมตตาและความรักมากขึ้น และสิ่งนั้นจะเข้าไปชนะใจคนรอบข้างได้

วิวัฒนาการทางจิตไม่ใช่การนั่งในห้องสมาธิ หรือเพียงแต่สัมผัสกับฌาณสมาบัติ แต่เราต้องเข้าไปเผชิญกับการเสียดแทงร้อนแรงในประสบการณ์จริงของชีวิต

อีกอย่างก็คือเราต้องพร้อมที่จะเชื่อในความเป็นไปได้จากสภาวะการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ (thinking impossible) นี่คือศรัทธา ถ้าเราเชื่อในจิตวิวัฒน์ เราต้องมีศรัทธา กล้าที่จะคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร...เพราะคนที่เชื่อเรื่องความรุนแรง และความเกลียดชังมีความเชื่อมั่นในวิธีการของเขามาก จริงๆแล้วมันมีไม่กี่คนในโลก แต่เพราะคนพวกนี้มีความเชื่อความศรัทธาอย่างแรง คือ เอาตัวเองเป็นประจักษ์พยาน

จึงเป็นคำถามที่ว่า พวกที่เชื่อเรื่องสันติวิธีหรือเชื่อเรื่องจิตวิวัฒน์ เราจะอยู่แบบสบายๆ แฮ้ปปี้ๆ วันเด้อฟูล บิ้วตี้ฟุล แค่นั้นเหรอพอมั๊ย....ไม่พอ มันต้องมีความเชื่อมั่นที่แรงพอๆกัน แต่แรงในแบบของสันติวิธี  และเชื่อว่าในความเป็นไปไม่ได้นั้นมีโอกาสของความเป็นไปได้สูงมาก เพราะฉะนั้นอาตมาจึงไม่เชื่อในการจะปล่อยโลกให้เป็นไปตามยถากรรม เพราะนั่นมันไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดจิตวิวัฒน์ได้ เราต้องเข้าไปเผชิญด้วยความศรัทธาในการเปลี่ยนแปลงภายในของมนุษย์

อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า ในกลางเตาหลอมเหลว มีจุดที่เยือกเย็นอยู่ ในใจของเราพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในขั้นวิกฤติได้ท่ามกลางการบีบคั้นและกดดันอย่างแรง และเราก็เชื่อว่าความงอกงามในใจนั้นสามารถปลุกความหวังให้กับคนเล็กคนน้อยได้

เราต้องมีศรัทธาตรงนี้ ไม่ใช่ปล่อยโลกไปตามยถากรรม ปล่อยให้มันเป็นไปเถิด เพราะถ้าเราคิดเช่นนั้นเราก็ได้ปล่อยให้โลกถูกครอบงำโดยกลุ่มคนที่กำลังก่อสงครามและกำลังฆ่าฟันผู้คนมากมาย ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าอยู่ข้างเขา แล้วเขาสามารถจะทำอะไรก็ได้ แม้เขาจะมีคนแค่ ๑๐ คน ๒๐ คน เขาก็ยังกำลังเปลี่ยนแปลงโลกได้จริงๆ เพราะว่าพวกเราไม่มีความศรัทธาที่เข้มข้นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นเราต้องไม่กลัว ต้องกล้าที่จะหวัง และกล้าคิด และศรัทธาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ...ไม่น้อยไปกว่าเขา

(เรียบเรียงจาก ไฟล์บันทึกเสียงการประชุมจิตวิวัฒน์ วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

 

 

บล็อกของ วิจักขณ์ พานิช

วิจักขณ์ พานิช
เมื่ออาทิตย์ก่อนเอแบ็คโพลได้รายงานผลสำรวจ ๑๐ อันดับแรกของแนวทางลดความเครียด (ของคนกรุงเทพ) ในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง  “อันดับแรก คือพยายามไม่ยึดติดกับกลุ่มการเมืองใดๆ อันดับสอง ปล่อยวาง ยอมรับสภาพความเป็นจริง อันดับสาม หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง อันดับที่สี่ ลด-งดพูดคุยเรื่องการเมืองกับคนอื่น และอันดับที่ห้า ลด งดติดตามข่าวสารทางการเมืองทางสื่อต่างๆ ส่วนรองๆ ลงไปคือ ติดตามรายการบันเทิงคลายเครียดให้มากขึ้น พูดคุยปรึกษาปัญหาความเครียดกับคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หาที่พึ่งทางศาสนา ฝึกสมาธิ และเลือกติดตามข่าวสารเฉพาะสื่อที่อยู่ฝ่ายเดียวกับตนเอง” (ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๓)
วิจักขณ์ พานิช
 โดยแก่นสาระของการฝึกสมาธิภาวนานั้นไม่มีอะไรมากมาย ขอเพียงผู้ฝึกมีความซื่อตรงและมั่นคงกับประสบการณ์การฝึกของตัวเอง อย่างที่เรียกว่า เรียลลิสติค (realistic) คือ ภาวนาเพื่อการขัดเกลาจิตใจตนเองจริงๆ ไม่ได้มาภาวนาเพื่อได้นั่นได้นี่ เห็นนั่นเห็นนี่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะหากความทะเยอทะยานยังติดเนื้อติดตัวเรามา การภาวนาก็จะเป็นไปในทิศทางของความทะเยอทะยานนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า "ภาวนา" เป็นคำกลางๆ ที่บ่งบอกถึงการเรียนรู้ใจตน ซึ่งในทางปฏิบัติก็จะแตกต่างกันไปตามอารมณ์ของผู้ฝึก  บ้างก็อาจจะมาด้วยอารมณ์หวังผล อารมณ์บรรลุเป้าหมาย อารมณ์อยากได้ความสงบ อยากมีความสุข …
วิจักขณ์ พานิช
เวลาผมไม่สบายใจ ผมมักจะแวะไปเจอเพื่อนสนิท กินข้าว กินเหล้า นั่งคุยกันไปเรื่อย แบบไม่มีจุดหมาย เพียงปล่อยให้ความไว้วางใจที่เพื่อนแท้มีให้แก่กัน ก็พอจะช่วยเยียวยาความคับข้องภายในให้คลี่คลายไปได้ แต่ผมยอมรับว่าในบางครั้ง เวลาที่ผมเจอเรื่องหนักๆ ผมมักจะมองหาเพื่อนที่มีความอาวุโสมากกว่าผม ใครสักคนที่ผมสามารถเคารพเขาได้อย่างสุดจิตสุดใจ เป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมรับฟังเด็กหัวแข็งอย่างผมที่ไม่ค่อยจะรู้จักความหมายของคำว่ากาลเทศะ สัมมาคารวะ หรือทักษะการประจบประแจงใดๆ ก็เรามีเพียงใจเปล่าๆที่อยากที่จะเข้าไปหา รับฟัง แลกเปลี่ยน ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่ไม่ดัดจริตซับซ้อน ผู้ใหญ่ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโชน…
วิจักขณ์ พานิช
คุณรู้ไหม...เขาว่ากันว่าโลกร้อนน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายน้ำกำลังจะท่วมกรุงเทพฯ ...
วิจักขณ์ พานิช
 เขาเชื่อว่าโลกแบ่งเป็นสองขั้ว คือ โลกทางธรรมและโลกทางโลก (aka. โลกๆ) เขาเคยคิดว่าเขามั่นใจและเข้าใจ จนวันนี้ที่เขาได้ตระหนักแล้วว่า มันก็ยังเป็นเพียงแค่ "คิด" ว่าเข้าใจ หลายปีที่เขาพยายามขดตัวอยู่ในโลกทางธรรมที่เขาสร้างขึ้นจากอุดมคติของความเป็นคนสมบูรณ์แบบ เขารู้สึกถึงรสประหลาดของชีวิตที่เริ่มส่งกลิ่นเหม็นของความหมกมุ่น ไอเดือดของความรุ่มร้อน และผลึกอันเย็นเยือกของความด้านชา วันนี้...เขานั่งครุ่นคิด ทบทวน กับเส้นทางอันแสนประเสริฐที่เขาเลือกเดินไอคุกรุ่นเดือดดันฝากาให้กระเด็นออก เสียงหวีดร้องก้องดังอยู่ในความเงียบงัน…
วิจักขณ์ พานิช
เรจินัลด์ เรย์ เขียน วิจักขณ์ พานิช ถักทอและร้อยเรียงเชอเกียม ตรุงปะ เคยกล่าวไว้ว่า “หากคุณสามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางทางจิตวิญญาณได้ คุณก็ควรจะทำเสีย” การฝึกฝนทางจิตวิญญาณที่เข้มข้นจะนำพาคุณไปยังสถานที่ที่ซึ่งอัตตาของคุณถูกสั่นคลอนและถอนรากอย่างถึงที่สุด ราวกับกำลังถูกท้าทายด้วยเพลิงไฟแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณได้ย่างก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งการฝึกตน เรากำลังพูดถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่แท้ หาใช่ความเป็นศาสนาที่ฉาบฉวยหรือการโหยหาความสุขสงบด้วยการภาวนาวันละนิดวันละหน่อย เรากำลังพูดถึงการอุทิศตนบนธรรมแห่งการตื่นรู้ในทุกลมหายใจเข้าออก
วิจักขณ์ พานิช
การที่คนคนหนึ่งจะอุทิศชีวิตเข้าสู่เส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองอย่างมุ่งมั่น พลังแห่งศรัทธานั้นมักจะเกิดขึ้นด้วย “จุดเปลี่ยน” อันเป็นช่วงชีวิตที่เขาได้มองเห็นความเป็นจริงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ความจริงที่แตกต่างออกไปจากแบบแผนหรือความเชื่อที่ผู้คนในสังคมบอกให้ทำตามๆกันมา จุดเปลี่ยนได้นำมาซึ่งแรงดลใจ ความมุ่งมั่น และศรัทธา บ่มเพาะเป็นความกล้าที่จะ “เอาชีวิตเข้าแลก” จนเส้นทางชีวิตของเขาได้ปรากฏเป็นประจักษ์พยานในตัวของมันเอง ชีวิตหนึ่งที่ทำผู้คนรอบข้างได้ตระหนักว่า สิ่งที่ดูจะเป็นไปไม่ได้สามารถเป็นไปได้ พลังแห่งศรัทธาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะภายใต้ความยิ่งใหญ่ย่อมแฝงไว้ด้วย “ทิฐิ”…
วิจักขณ์ พานิช
ผมกลับเมืองไทยมาได้หนึ่งเดือนแล้วครับ หนนี้ถือเป็นการกลับอย่างถาวร คือ ตั้งใจจะกลับมาทำประโยชน์ที่เมืองไทย หยั่งรากและเติบโตบนผืนดินผืนนี้จริงๆ ตั้งแต่กลับมาวันแรกจนถึงวันนี้ ก็ได้ผ่านอุปสรรคทั้งภายนอกและภายในไปนับไม่ถ้วน เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางและหมิ่นเหม่ที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้ในช่วงเวลาที่การเดินทางด้านในโอนเอนแทบจะเอาตัวไม่รอดในหลายต่อหลายครั้ง  การเดินทางด้านนอกก็ยังคงดำเนินกันต่อไปตามครรลอง ผมได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยพบปะกับผู้คนในแวดวงการศึกษามากมาย ทั้งกับคนที่เคยได้อ่านงานเขียนของผม หรือกับกัลยาณมิตรที่รู้จักมักจี่กันเป็นการส่วนตัว ผมก็ยังเป็นผม…