Skip to main content

หลายต่อหลายครั้ง ที่ฉันจดจำภาพของสถานที่ เรื่องราว ผู้คน แม้ไม่เคยรู้จักกัน และไม่เคยไปพบเจอ แต่กลับฝังลึกลงความทรงจำถึงขนาดเก็บไปฝัน แน่นอนฝันนั้นเป็นฝันดี และพอตื่นจากฝัน ก็พบกับความจริงที่ว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ได้อยู่ไกลเกินไปนักหรอก



สิ่งที่พูดถึงความงาม ความพอดี เหมือนหยดน้ำใสบนคลองเล็กๆ ที่เลียบไปกับแม่น้ำใหญ่ หรือบางทีอาจเป็นดอกหญ้าต้นเล็กๆ ที่แทรกตัวอยู่ในสวนกุหลาบ แต่แท้จริงเป็นสมุนไพรเยียวยาโลกได้ด้วยซ้ำ สิ่งที่ฉันพูดถึงอยู่นี้ คือชีวิตของเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม จังหวัดระยอง

เด็กน้อยเหล่านี้ มีสิ่งที่พวกเขาได้รับจากการเรียนหนังสือมากกว่าการดูหนังสือ เพราะพวกเขาได้ทำความรู้จักดิน หญ้า น้ำ ซากพืช การดำรงชีวิตด้วยตัวพวกเขาเองจากการปลูกผักบนพื้นที่ของโรงเรียน พวกเขานำไปแบ่งขาย เก็บเงินไว้ซื้อของที่จำเป็น หอบผักกลับบ้านไปให้พ่อแม่ทำกับข้าวกลิ่นหอมฉุย แล้วชวนคนข้างบ้านมากินด้วยกัน ถ้าผักเหลือพวกเขาก็เอาไปทำอาหารให้หมูหลุมที่เลี้ยงไว้ในคอก หมูหลุมพวกนี้กินอาหารธรรมชาติ ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อ ร่างกายปลอดจากเคมี เป็นอาหารปลอดภัยที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชนด้วยระบบเศรษฐกิจที่ไม่ได้เอาเงินเป็นใหญ่ ไม่รู้สินะ ฟังดูเหมือนโลกในอุดมคติ แต่ฉันก็เชื่อว่ามีอยู่จริง

 



ภาพสวนกล้วยของเด็กๆ ในโรงเรียน



พวกเขาเติบโตอยู่ในนี้ เขตพื้นที่โรงเรียน
59 ไร่ มีสวนกล้วย ผักสวนครัว มีเขตทำปุ๋ยอินทรีย์ เขตเลี้ยงหมู เขตเผาถ่าน ทุกอย่างในพื้นที่นี้ราวกับเป็นอัญมณีไปหมด ไม่ใช่เพราะเขาเห็นมันเป็นเงินเป็นทองหรอก แต่เพราะเด็กๆ กำลังเสาะแสวงหาความหมายของคำว่า “พอเพียง” อย่างที่คุณครูสอนเขาอยู่ทุกวัน ว่าทุกอย่างในโลกนี้มีค่าเสมอหากเรารู้จักใช้


เด็กน้อยรู้ว่าเพื่อนข้างบ้านบางคนของเขาเมินหน้าที่จะมาเรียนโรงเรียนนี้ เพราะคิดว่าเป็นโรงเรียนเกรดบี วันๆ อยู่แต่กับป่า หญ้า และผัก ไม่เหมือนโรงเรียนในเมืองที่มีทุกอย่างพร้อม บางวันเด็กๆ ก็ร้องเพลง เดินเล่น กระโดดโลดเต้นไปมา มีผีเสื้อบินเริงร่ากินเกสรดอกไม้ ขณะที่ห่างออกถนนไปไม่กี่กิโลเมตรก็มีโลกอีกใบที่ก้าวเร็วกว่านี้ แต่พวกเขาบอกว่าพวกเขาเต็มใจจะอยู่ที่นี่





แปลงผักสาธิต เศรษฐกิจพอเพียง



หากคิดว่าเพราะที่นี่มีสิ่งที่สมบูรณ์อยู่รอพวกเขาแล้ว ก็กลับไม่ใช่ เพราะจริงๆ แต่เดิมที สถานที่ก่อนจะสร้างโรงเรียนนั้น เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง เสื่อมโทรม ไม่มีต้นไม้เหลือแม้แต่สักต้นเดียวด้วยซ้ำ นั่นเพราะเคยมีการเปิดสัมปทานขุดเปิดหน้าดินของนายทุนเมื่อ
14 ปีก่อน พื้นที่นี้เหมือนทำประโยชน์อะไรไม่ได้อีกแล้ว ไม่มีต้นไม้ ไม่มีสัตว์เลี้ยง มีแต่ดินสีแดงแห้งผากกับความคิดของพ่อแม่ที่จะต้องพาลูกออกไปเรียนหนังสือไกลๆ


แต่ในที่สุดที่ตรงนี้ก็กลายเป็นโรงเรียน เพราะลุงกำนันสมโภชน์ของตำบลชำฆ้อไปร่วมพิจารณาให้ที่ดินสาธารณะนี้สร้างเป็นโรงเรียนเสียดีกว่า จะได้เกิดแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในอนาคต





ผู้อำนวยการโรงเรียน สอนเด็กๆ ปลูกต้นไม้



เขาคิดไม่ผิดเลย และยังโชคดีที่มีคุณครูผู้อำนวยการชื่อ อาจารย์วีระวัธน์ สิงหาบุตร เข้ามาทำงาน ผู้อำนวยการท่านนี้มีหลักการสอนนักเรียนอยู่
3 ข้อ ที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ 1. ให้ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล 2. กินอยู่พอประมาณ และ 3. มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี ดูจะเป็นวิสัยโรงเรียนที่ต่างจากที่อื่นอย่างสิ้นเชิง ส่วนเรื่องความรู้ ครูบอกว่าสอนสาระ ทักษะ ทุกอย่างไม่ต่างจากที่อื่น แต่ที่นี่ นักเรียนทุกคนควรได้เรียนรู้ว่าสิ่งรอบตัวสำคัญอย่างไร พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ชุมชน คนข้างบ้าน จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันได้อย่างไร


นั่นเป็นเหตุผลที่ต้นผัก ต้นกล้วย ผักบุ้ง ผักกาด ข้าวโพด หรืออะไรที่พวกเขาปลูก มีคนหยิบไปกินได้โดยไม่หวง และยังกลายเป็น “สาร” ที่เชื่อมโยงให้ชาวบ้านกลับมาสนใจวิถีชีวิตเรียบง่าย ไม่ใช้เงิน ตระหนักถึงสุขภาพ รู้ตื่นถึงความสุข จนกลายเป็นสาระอันกว้างขวางออกไปอีก


น้องนักเรียนคนหนึ่งบอกว่า “ภูมิใจที่เป็นนักเรียนของที่ดี เพราะมีเพื่อนที่ดี มีครูที่ดี เรารักและเคารพครู สิ่งที่ครูสอนเอาไปใช้กับชีวิตได้ทุกเรื่อง”


ใครๆ ก็บอกว่า นักเรียนที่นี่ช่างสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน นั่นไม่ใช่บุคลิกของคนรู้น้อย และหวาดกลัวอย่างที่คนในสังคมเมืองคิด แต่พวกเขาถ่อมตนกับธรรมชาติ และเจียมตัวว่าที่พวกเราเรียนรู้อยู่เป็นแค่ครึ่งเดียวของความพอเพียง ซึ่งคุณครูบอกว่าถ้าโตขึ้นและได้นำไปติดตัว พวกเขาคงจะได้รู้มากกว่านี้


ฉันอ่านเรื่องนี้ ฟังเรื่องนี้ แล้วเขียนเรื่องนี้ ความรู้สึกดีดีที่ซ่อนตัวอยู่กลางพายุฝน บางทีเด็กๆ เหล่านี้ต่างหาก กำลังสอนให้เราลึกซึ้งกับคำว่า “พอเพียง” ผ่านการคิดและเรียบง่ายแบบที่พวกเขากำลังทำ


....


หมายเหตุ

  1. ปัจจุบัน โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม จ.ระยอง เป็น 1 ใน 135 โรงเรียนที่เป็น “สถานศึกษาพอเพียง 2550” และเป็น 1 ใน 68 โรงเรียนที่เข้าร่วมขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการ “เสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน” ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัลป์มาจล ธนาคารไทยพาณิชย์

  2. เรื่องราวของพวกเขากำลังได้รับการเผยแพร่ในหนังสือ “สังคมแห่งไมตรีจิต ความสุขในชีวิตเบ่งบาน” ในเวทีเติมน้ำใจให้สังคม ครั้งที่ 6 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช)

  3. ภาพถ่ายจากโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม


บล็อกของ วาดวลี

วาดวลี
ความชื้นแฉะเหล่านั้นคงไม่เป็นไรหรอกกระมัง หยดน้ำที่ทำให้พื้นดินที่สีดำขึ้นมากกว่าปกติ ดินที่นุ่มลง หญ้าที่ปกคลุมไปถ้วนทั่ว ฉันว่ามันชุ่มฉ่ำดีเหมือนกัน เมื่อฤดูฝนยาวกว่าที่เราคิด และปีนี้ ฝนก็ตกบ่อยกว่าปีที่ผ่านมา
วาดวลี
ท้องฟ้าอ้อยสร้อยแบบนั้นแหละ ที่คนแถวบ้านฉันรำพึงกันว่า เป็นความชุ่มฉ่ำต้อนรับเทศกาลเข้าพรรษา ฝนตกเอื่อยๆ พรมความชื้นไปทั่วถนนเล็กๆ ของหมู่บ้านเรา แต่ก็ไม่มีใครย่อท้อที่จะออกไปทำบุญ ดอกไม้ธูปเทียน อาหารคาวหวาน ข้าวตอกดอกไม้ คนข้างบ้านของฉันซึ่งเป็นครอบครัวที่ขยันทำงานไม่มีวันหยุด ก็ยังเอ่ยปากบอกว่า หยุดงานสักวันสองวันดีกว่า นอกจากไปทำบุญแล้ว ก็ยังได้หยุดอยู่บ้านกับครอบครัวอีกด้วย
วาดวลี
นานมาแล้วที่ฉันเคยได้ยินประโยคที่ว่า “แค่กระพริบตา โลกก็เปลี่ยน” แล้วเคยคิดเล่นๆ ว่า อะไรก็ตามที่เปลี่ยนไปแบบฉับพลัน หรือ เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังนั้น คงไม่ได้เกิดบ่อยนัก และหากจะเกิดขึ้นจริง ทุกอย่างล้วนมีสาเหตุ มีสัญญาณเตือนมาก่อน อยู่ที่เราจะสังเกตหรือไม่ก็เท่านั้น แต่สำหรับเรื่องของพี่ชาย พอจะทำให้ฉันเชื่อได้บ้างว่า กับเรื่องบางเรื่องนั้น การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้มีอะไรมาเตือนล่วงหน้า
วาดวลี
 “รักของพี่กับเขาเริ่มตรงนี้”ตรงที่พี่ชายพูด มันคือถนนเส้นหนึ่ง ที่ตัดผ่านกลางระหว่างคูเมืองด้านในของเชียงใหม่ ไปยังชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่ง รอบๆ ถนนมีอาหารพื้นเมืองขาย มีส้มตำ ไก่ย่าง ร้านรวง บริษัท รวมทั้งวัดเก่าแก่สวยงาม   ฉันก้มลงไปมองตามนิ้วชี้ของเขา ที่ตรงนั้น คือฝาท่อกลมๆ เก่าๆ ปิดรอยโหว่ขี้เหร่ของถนนเอาไว้“ตรงนี้น่ะหรือ จุดเริ่มต้นของความรัก”ฉันทำหน้าไม่อยากเชื่อ พี่ชายยิ้มที่มุมปาก แล้วพยักหน้า “มีอยู่วันหนึ่ง พี่มาก้มๆ เงยๆ ผูกเชือกรองเท้าตรงนี้ ว่าจะเดินไปเยี่ยมเพื่อนที่ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าข้างหน้านั่น ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินมา ผมยาว ผิวขาว หน้าตาก็ไม่สวยมาก…
วาดวลี
“บ้านพอมีที่เหลือว่างไหม” คนถามฉันเป็นชายหนุ่ม ที่นับนามว่าเป็น “เพื่อน” กัน มาได้ 4 ปีแล้ว ความจริง เขาเป็นเพื่อนของเพื่อน เมื่อรู้จักกันได้นับปี ก็ตัดสินใจได้ว่าเขาน่าจะเป็น “คนดี” พอในแบบที่ร้องขออะไร แล้วเราไม่กล้าที่จะไม่ให้ หากไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย หรือลำบากใจกันจริงๆ มาครั้งนี้ บนถ้อยคำอาวรณ์ น้ำเสียงเขาหม่นเศร้า แววตาก็หม่นเศร้า เกิดอะไรขึ้นกับเขาหรือ เช้าวันอาทิตย์ที่แสงแดดสายสาดส่องให้อบอุ่น บนฟ้ามีก้อนเมฆปุกปุยสีขาว ไหลไปมาบนพื้นสีคราม สวยยิ่งกว่าสวย แต่เขาคนนี้มีแววเหมือนคนที่เพิ่งผ่านการร้องไห้มา
วาดวลี
 ๑. จะมี อะไรบ้าง ยั่งยืน ? กลางวัน กลางคืน แดด ฝน ลม หนาว มนุษย์ สมมุติ ชั่วคราว ว่าเรา ครอบครอง เพื่อ "ของเรา" ๒. ไยแย่งโอบกอดอนาคต แล้วเอ่ยกล่าวโทษวันเก่า ไยถก ไยเถียง เรื่องเงา ที่ลาลับ ล่วงกับ ดวงตะวัน 
วาดวลี
เชียงใหม่ในวันที่ฝนซา เพื่อนที่แวะมาเยี่ยมต่อสายบอกว่ากลับถึงบางกอกเรียบร้อยดีแล้ว เสียงอึกทึกครึกโครมที่รายล้อมตัวเธอบอกฉันว่า เธอไม่ได้อยู่ลำพังขณะคุยโทรศัพท์ ฉันแซวเธอเล่นๆ ว่ากำลังอยู่ในถิ่นอโคจรหรือเปล่านะ ก็เราคุยกันแทบจะไม่ได้ยินอะไรนอกจากเสียงเพลง เสียงรถ และเสียงคนมากมายเธอหัวเราะชอบใจ แล้วตอบว่า "ใช่ ฉันอยู่ในถิ่นอะโคจร" แล้วย้อนสวนมาว่า"ก็ดีกว่าอยู่ในแดนสนธยาเหมือนเธอ"ดอกหญ้าในสวนหลังบ้าน รกร้าง แต่ก็สวยงามในความรู้สึก 
วาดวลี
ฉันรู้สึกเหมือนกำลังเดินทางไปประเทศจีน เดินทางโดยยังไม่ได้ก้าวขาออกจากบ้านเสียด้วยซ้ำ มันเป็นการเดินทางด้วยจิตใจและจินตนาการ เมื่อน้องสาวที่น่ารักคนหนึ่งของฉัน เธอเดินทางไปเป็นครูสอนภาษาไทยอยู่ที่เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสีตั้งแต่ 1 ปีที่แล้ว อีกไม่กี่เดือนก็จะย่างครบ 1 ปี เธอบอกว่าคิดถึงเมืองไทยเป็นที่สุด และนับจากวันนี้ไปอีกแค่ 8 วันเท่านั้นเธอก็จะได้กลับมาเหยียบผืนดินไทยอีกครั้งแล้ว“ดีใจนะที่ปลอดภัย”จำได้ว่าเอ่ยกับเธอด้วยประโยคนี้ หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศจีนไม่นาน ฉันนึกถึงใบหน้าของเธอ แก้มยุ้ยๆ  และแววตาวาบวับที่ระยิบระยับเสมอ…
วาดวลี
"เธอว่าเราจะไปไหน ?"ฉันถาม แล้วก็ก้าวขึ้นซ้อนมอเตอร์ไซค์ โดยไม่รอคำตอบมาถึง เสียงติดเครื่องของรถคันเก่าดั่งกระหึ่ม ยามบ่ายๆ ของวันหยุดที่เราควรจะได้เดินทางบ้าง แม้จะเป็นระยะทางสั้นๆ หรือยามว่างอันน้อยนิด ฉันอยากออกไปสูดอากาศ ส่วนเธออยากขี่รถเล่นเงยหน้ามองท้องฟ้า วันนี้ไม่มีฝน แม้จะไม่มีแดด แต่ก้อนเมฆยามบ่ายขับเคลื่อนราวว่า อีกนานกว่าพายุจะคลุมเมืองไว้อีกครั้ง
วาดวลี
ท้องฟ้าในเมืองของเรายังสวยเสมอ โดยเฉพาะยามที่เพื่อนเก่าของฉันรีบจอดจักรยานไว้ข้างตลาด แล้วเดินเข้ามาจับมือ เธอเงยหน้าขึ้นแล้วมองไปทางทิศตะวันตก ก้อนเมฆพวกนั้นเลื้อยตัวมากอดภูเขาเอาไว้ มองไกลๆ เหมือนใครเอาผ้าขนหนูสีขาวนุ่มๆ ไปพันทิ้งไว้(เมืองเล็กๆ ของเราหลังฝนตก)
วาดวลี
ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก ฉันและแม่มีกฎร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งว่า หากไปเยี่ยมบ้านใครแล้วเขาให้ขนมกิน ก็ให้ยกมือไหว้ขอบคุณ แต่ไม่จำเป็นต้องรับไปเสียทั้งหมด แม่เคยเปรยๆ ว่า ถึงครอบครัวเราจะยากจนแต่แม่สามารถทำอาหารอร่อยๆ ให้กินได้ทุกมื้อ อีกอย่างก็คือบางคนเขาไม่ได้ตั้งใจทำเผื่อเราหรอก แต่เป็นการให้โดยมารยาทเท่านั้น หากรับไว้เสียหมดก็กลายเป็นการรบกวนเขาไปก็เป็นได้แม้แม่จะบอกแบบนี้ แต่ฉันและแม่ก็รู้ดีว่า ผู้คนรอบตัวที่ใจดีมีน้ำใจกับเรานั้นมีมากมายเพียงใด พ่อเล่าว่าฉันเป็นเด็กอ้วนแก้มยุ้ย ใครเห็นก็เอ็นดู มักเรียกให้ไปกินขนมอยู่ร่ำไป ดังนั้นข้อตกลงของฉันกับแม่ จึงกลายเป็นว่า หากมีคนยื่นให้…
วาดวลี
ฝนยังโปรยลงมาไม่ขาดสาย แม้จะเพิ่งผ่านเดือนเมษายนมาได้ไม่เท่าไหร่  ท้องทุ่งฉ่ำไปด้วยฝนและดูจะมากไปจนน่าวิตก ลานกว้างหน้าบ้านของยายปลีวันนี้จึงไม่มีเด็กๆ มาวิ่งเล่น แต่หลบฝนกันไปวาดรูปเล่นอยู่ตรงชานเรือน หลานอีกคนทำหน้าตาเบื่อเพราะอยากออกไปเที่ยวเล่นบ้านเพื่อน นี่เป็นวันธรรมดาที่อาจมีทั้งความหมายหรือไม่มี สำหรับยายปลี เพราะหลังจากแกเก็บผ้าเข้าไปตากใต้ยุ้งข้าวเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมานั่งอยู่ประจำที่ อยู่กับเครื่องทอด้ายแบบสมัยโบราณ มันทำจากไม้ และไม่รู้ว่ามันมีอายุมาแล้วเท่าไหร่