Skip to main content

วันนี้ว่าจะไม่เขียนสเตตัส กะว่าจะต้องจัดการงานคั่งค้างมากมาย แต่พอได้ข่าวการจากไปของอังคาร กัลยาณพงศ์ ก็อดไม่ได้ ไม่ว่าทัศนะทางการเมืองของท่านจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังนับถือผลงานและความเป็นปัจเจกศิลปินของอังคาร

ผมรู้จักภาพเขียนของอังคารก่อนงานกวีนิพนธ์ สมัยยังเป็นวัยรุ่น ผมไม่มีชีวิตเหมือนเพื่อนๆ ร่วมรุ่น เพราะดันไปขลุกอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และตระเวนดูนิทรรศการต่างๆ ด้วยว่าอยากจะเป็นจิตรกรกับเขาบ้าง

ผมชอบงานอังคารตั้งแต่ตอนนั้น ที่ชอบมากคืองานลายเส้นที่เขียนด้วยเครยอง   แล้วมาพบว่าท่านยังมีกวีนิพนธ์ด้วย  จึงเริ่มอ่านจากปณิธานกวี ไล่ไปเรื่อย แล้วก็เที่ยวเพ้อไปตามประสาคนหนุ่มที่เพิ่งเจอโลกหนังสือ

ผมไม่เคยพบเจอะเจอหรือแม้แต่จะเฉียดใกล้หรือรู้จักใครที่ใกล้ชิดท่านแม้แต่น้อย แต่มีช่วงหนึ่งที่ได้คบหากับพวกศิลปินรุ่นใหม่ๆ ที่ศิลปากรขณะนั้น แล้วก็ได้ยิน "ตำนาน" เกี่ยวกับอังคารมาบ้าง

พวกศิลปากรเล่าว่า "อังคารเรียนไม่จบปริญญาตรี เพราะความดื้อรั้น และมีฝีมือดีเกินไป... 

"อังคารเกรี้ยวกราดมาก มีคราวหนึ่งแกโกรธอาจารย์อะไรไม่ทราบ เลยเอาขี้ไปป้ายประตูห้องอาจารย์ เรื่องรู้ไปถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรี...

"อาจารย์ศิลป์เรียกอังคารมา แล้วบอกว่า นายควรไปช่วยอาจารย์เฟื้อ (หริพิทักษ์) รีเสิร์ชจิตรกรรมไทย แล้วอังคารก็ไปทำงานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ"

งานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังหอไตรวัดระฆังเป็นตัวอย่างของงานคัดลอกชั้นครูของเฟื้อ ที่อังคารอาจมีส่วนร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ ผมไม่รู้แน่ ภายหลัง มีผลงานชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งที่ว่ากันว่าท่านทำไม่เสร็จดี คือจิตรกรรมฝาผนังวัดศรีโคมคำ ที่พะเยา 

เส้นทางจิตรกรรมของอังคารจึงเดินรอยตามเฟื้อ ที่ผันจากการเขียนภาพ "ร่วมสมัย" ไปเป็น "แนวประเพณี" กลายเป็นแนวทางศิลปะใหม่ในประเทศไทย ที่ศิลปินรุ่นใหม่จำนวนมากเลือกก้าวตาม

เป็นที่รู้กันดีว่าผลงานจิตรกรรมของอังคารมีราคาแพงมาก ภาพเขียนสีของท่านเป็นผลงานสะสมของนักสะสมมือเติบ ทำให้คนสามัญทั่วไปแทบไม่มีโอกาสได้ชื่นชมผลงานท่าน

แต่ผมก็ไม่ชอบภาพเขียนสีพวกนั้นเท่ากับภาพเครยอง เพราะภาพเครยองมันตัดทองหยอง ตัดความหรูหราแพรวพราวของอังคารลงไป เวลาดูภาพเขียนสีของท่าน ผมเห็นอังคารแบบในปณิธานกวี คือรุงรังหรูหราฟุ่มเฟือย

ส่วนภาพเครยองของท่าน มันเคลื่อนไหว มีมิติทับซ้อน ชวนให้นึกถึง "หญิงเปลือยลงบันได" ของดูชองป์ แต่ก็มีความระยิบระยับของเส้นสาย

ขออาลัยอังคาร กัลยาณพงศ์ ในฐานะที่ท่านมีส่วนสร้างปณิธานให้คนรุ่นหลัง

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ค Yukti Mukdawijitra 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยุกติ มุกดาวิจิตร  
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 สุนทรียศาสตร์และการเมืองของสิ่งไร้รสนิยม (aesthetics and politics of kitsch)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 หากจำเป็นต้องหักหาญมิตรภาพกัน ก็ขอให้แน่ใจว่ามิตรสหายเราได้ละเมิดหลักการใหญ่ๆ ที่มิตรภาพไม่ควรได้รับการปลอบประโลมโอบอุ้มกันอีกต่อไป แต่หากเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไป ก็โปรดอย่าเปิดแนวรบจิกกัดมิตรสหายที่แทบไม่มีที่ยืนอยู่บนผืนหนังเดียวกันไปเสียทุกอนูความหมายเลยครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทต่อไป เมื่อนักมานุษยวิทยามานั่งศึกษาชุมชนเกรียนออนไลน์ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี