Skip to main content

เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน

เวลาย่างเนื้อ ให้กลับทีเดียว พอเอาส้อมจิ้มลงไปแล้วน้ำใสๆ ย้ำว่าต้องใสๆ พุ่งออกมาก็ให้รีบยกเนื้อลงทันที จะได้เนื้อนุ่ม ชุ่มฉ่ำ ยังไม่แห้ง สีอมชมพู ไม่ถึงกับดิบข้างใน 

แล้วอบขนมปังที่ซื้อมา ทาเนย กินกับสลัดผักสดน้ำใส แกล้มด้วยเบียร์กระป๋องนึง โอย...

หมักเนื้อกับอะไรน่ะเหรอ ไม่ต้องหมัก โรยเกลือกับพริกไทยพอ ไม่งั้นจะทำลายรสเนื้อหมด ตอนนี้กลิ่นเนื้อย่างยังติดจมูกอยู่เลย

เลยชวนให้นึกย้อนกลับไปสมัยอยู่อเมริกา ตอนนั้นทำอาหารบ่อย เพราะมันถูกกว่าไปหากินนอกบ้าน ยิ่งที่วิสคอนซินเลี้ยงวัวอย่างดีของอเมริกา คือวัวดำ "แองกัส" ราคาที่นั่นถูกมาก เคยซื้อชิ้นที่ดีที่สุดคือ "นิวยอร์คสตริป" แบบที่มีริ้วมันวัวแทรกอยู่ในเนื้อ

เนื้อหนาสักสองเซ็นต์ได้ หนักสักสามขีด ราคาเนื้อสดๆ กดเข้าไปสองร้อยกว่าบาท แต่พอย่างด้วยกะทะเหล็กที่ว่านี่แล้ว แค่เนื้อสัมผัสกะทะก็รู้แล้วว่า "อร่อยแน่คุณเอ้ย!"

ผมเคยเก็บข้อมูลเรื่องตำราอาหารจากเพื่อนชาวอเมริกันตอนเรียนอยู่ที่วิสคอนซิน อเมริกา เพื่อนคนนี้ชื่อเบ็ทที่ อายุตอนนั้น 65 เป็นแม่ครัวประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง เธอเล่าเรื่องราวชีวิตเธอจนกลายมาเป็นแม่ครัว

เบ็ทที่มีตำราอาหารคู่มืออยู่เล่มหนึ่ง เธอหยิบมันใช้ประจำ เป็นตำราจากโบสถ์แถวบ้านเกิดเธอ เป็นโบสถ์ในชนบทห่างไกลที่เธอแต่งงาน ที่มีหลุมฝังพ่อแม่เธอและตระกูลเธอ 

ในสมัยก่อน เธอเล่าว่าโบสถ์จะระดมทุนด้วยการจัดงานสังสรรค์ ขายบัตรให้ชาวบ้านมากัน คนที่มีฝีมือก็จะมาทำอาหาร แล้วเมื่ออาหารใครอร่อย คนก็จะอยากได้สูตรอาหาร เขาก็จะรวบรวมสูตรเหล่านั้นเป็นเล่ม พิมพ์ขายเอาเงินเข้าโบสถ์ 

สูตรอาหารก็ไม่ได้พิสดารอะไร บางทีเป็นอาหารพื้นๆ ที่เขาทำกินกันเป็นประจำวัน เช่น สูตรทำ "ฮาชบราวน์" คือมันฝรั่งทั้งเปลือก ล้าง ต้มจนสุก แล้วขูดหยาบๆ เอามาคลุกหอมใหญ่ซอยหยาบ ใส่เกลือ พริกไทย นาบกะทะร้อนๆ ใส่เนย กินเป็นอาหารเช้า หรือสูตรทำขนมปัง ที่แม่บ้านยุคเบ็ทที่ทำกินกันเองในครอบครัวแทบทุกวัน 

ตอนอยู่ที่นั่น ผมเลยตระเวนเก็บตำราพวกนี้มาได้บ้าง ที่จริงหาได้ไม่ยากในร้านหนังสือเก่า มีเยอะ และราคาถูกมาก

ผมก็เลยเขียนเรื่องตำราอาหารเป็นรายงานชิ้นหนึ่ง ส่งอาจารย์วิชา "มานุษยวิทยาโดยผู้หญิง" วิชาที่มีผู้ชายเรียนเพียงสองคนในชั้นเรียนร่วม 30 คน ผมเขียนและค้นคว้างานนี้อย่างสนุกสนาน  เสนอว่าตำราอาหารของโบสถ์เบ็ทที่เป็นคติชนแบบอักขระ มีการจดบันทึก ผิดกับตำหรับอาหารไทย ที่ไม่ค่อยมีตำราแบบจดบันทึก มักเป็นตำรามุขปาฐะ 
เวลาเพื่อนฝรั่งถามแล้วบอกไม่ค่อยถูก เพราะทำด้วยความเคยชินกับกลิ่น รส เขียนเสร็จ ส่งแล้วอาจารย์ก็ชอบมาก ผมร่ำๆ ว่าจะแปลเป็นไทยสักทีก็ยังไม่ได้ทำ 

แต่พอทำๆ ไปบ่อยๆ เข้า ตำราฝรั่งที่มีสูตร มีต้องชั่งตวง พอทำจนชินก็เลิกเปิดตำรา แล้วลดทอนดัดแปลงสูตรบ้างตามความคะนอง 

ชีวิตตอนนี้ทำอาหารน้อยลง กินอาหารนอกบ้านแทบทุกวัน เสียดายอุปกรณ์เครื่องครัวที่ซื้อหอบกลับมาบ้าง ที่ซื้อมาไว้บ้าง และเสียดายตำราอาหารมากมายที่ยังไม่ได้ลองทำ เมื่อก่อนเวลาเบื่อๆ ผมมักเปิดตำราแล้วไปซื้อเครื่องปรุงต่างๆ มาลองทำดู บางทีเคี่ยวนาน รอจนตีหนึี่งตีสองกว่าจะได้ที่ สูตรไหนถูกปากก็เลือกๆ ไว้ทำกินอีกหรือทำให้เพื่อนกิน

อาหารเป็นกลไกทางสังคม เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยน และยังเป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ ผ่านความคุ้นเคยของผัสสะ ของรสสัมผัส

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้