Skip to main content

ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" เพื่อนยังบอกอีกว่า "มันเกิดขึ้นทุกวัน ตอนเช้ามักมีรายงานการฆ่าตัวตายบนทางรถไฟ ที่นั่น ที่นี่" 

เขาเล่าต่อว่า "บางคนเสนอว่าให้เอากระจกมาติดไว้ตรงใกล้ๆ รางรถไฟ เพราะเชื่อว่า หากคนเห็นหน้าตนเองแว่บนึง เขาอาจตัดสินใจใหม่"

นี่ทำให้นึกถึงหนังสือ Suicide ของ Emile Durkheim ที่หาเงื่อนไขทางสังคมให้แก่การฆ่าตัวตาย ซึ่งดูเผินๆ น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นส่วนตัว เป็นปัจเจกนิยมสุดๆ แต่เดอร์ไคม์พบว่า สังคมแคทอลิก ซึ่งมีความเชื่อมแน่นทางสังคมสูง จึงมีแนวโน้มของคนฆ่าตัวตายต่ำ ต่างจากสังคมโปรแตสแตนท์ ที่ให้ผลตรงกันข้าม ข้อสรุปนี้จะใช้ได้กับสังคมญี่ปุ่นหรือไม่ ผมไม่รู้ มีการศึกษาการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นหรือไม่ ผมไม่รู้ 

"รู้สึก" ได้แต่เพียงว่า การตัดสินใจชั่ววูบเพื่อฆ่าตัวตายบนทางรถไฟเกิดได้ง่ายจริงๆ และที่จริง แม้ไม่ตั้งใจตาย คนก็น่าจะตายด้วยรถไฟง่ายจริงๆ เพราะสถานีรถไฟญี่ปุ่นมีทั่วไปหมดในเมืองใหญ่ๆ และแต่ละสถานีก็แทบไม่มีคนดูแลเลย เวลารถเข้าหรือออกถี่มาก แต่ละสถานีจึงไม่มีคนมาคอยดูไม่ให้ใครยืนชิดจนอาจตกลงบนราง

จะมีก็แต่สถานีของ "ชินคันเซ็น" รถความเร็วสูง ซึ่งแยกต่างหากออกมาจากสถานีรถทั่วๆ ไปเท่านั้น ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล อย่างนั้นก็เถอะ แม้จะมีรั้วกั้นบ้าง แต่จริงๆ แล้วรางก็เปิด เอาเข้าจริงคนก็สามารถกระโดดลงไปให้ชินคันเซ็นชนได้เหมือนกัน

จึงทำให้นึกในทางกลับกันว่า แทนที่คนจะอยากตายมากขึ้น ผมกลับคิดว่าคนต้องระวังตัว ต้องรับผิดชอบตนเองและลูกเด็กเล็กแดงมากทีเดียว นึกถึงเวลาดึกดื่นค่ำคืน การตกลงไปบนรางรถไปเป็นเรื่องง่ายมาก แต่ก็ไม่เคยเห็นใครคิดจะทำสักที

ในเวลาเพียง 15 วันในญี่ปุ่น ซึ่งยาวนานที่สุดเท่าที่ผมเคยไปญี่ปุ่นมา หลายครั้งที่ผมเห็นเด็กอายุสัก 12-13 ปีเดินทางโดยลำพัง อาจมากับพี่น้องหรือกับเพื่อน เด็กพวกนี้และพ่อแม่ของพวกเขาจะต้องมีความเข้าใจต่อระบบต่างๆ เป็นอย่างดี และต้องรู้จักรับผิดชอบชีวิตตนเองเป็นอย่างดี 

คนที่นั่นยังต้องคิดรับผิดชอบต่อไปอีกว่า หากโดดลงไป ระบบรถไฟทั้งประเทศ หรือในถิ่นหนึ่งที่เส้นทางรถไฟผูกเกี่ยวกัน จะได้รับผลกระทบไปมากขนาดไหน คิดดูว่า เฉพาะโอซากา ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่น้องๆ โตเกียว มีชินคันเซ็นเข้าแทบจะทุก 5 นาที ถ้าเกิดใครกระโดดลงไป ระบบจะต้องจัดการอย่างไร

เพื่อนชาวญี่ปุ่นผู้รอบรู้ตอบว่า "เขามีระบบกำจัดศพอย่างรวดเร็ว ศพจะต้องถูกจัดการในทันทีในเวลาไม่กี่นาที เพื่อที่รถไฟจะได้เดินต่อ"

ผมไม่กล้าโดดลงไปให้รถไฟทับแน่ แต่นึกถึงว่ายังเคราะห์ดีที่ไม่ได้เห็นคนกระโดดลงไปบนทางรถไฟต่อหน้าต่อตา และนึกต่อไปว่า หากใช้ระบบนี้กับประเทศไทย คงต้องระวังการฆาตกรรมมากกว่าการอัตวินิบาตกรรมบนรางรถไฟ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน