Skip to main content

น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน

แต่เมื่อทำท่าอ้างหลักการโน่นนี่นั่นว่าสถาบันที่เคารพรักบ้างล่ะ ว่าไม่เข้าข่ายสิทธิเสรีภาพบ้างล่ะ มันมันแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของสถาบันรัฐสภา และแสดงการไม่เคารพอำนาจของประชาชนที่เลือกพวกคุณเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนของพวกเขา 
 
อย่าลืมว่าเขาไม่ได้เลือกพวกคุณมาเพื่อออกกฎหมายเท่านั้น และยิ่งกว่านั้นคือ ประชาชนไม่ได้เลือกพวกคุณมาปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในนามของการปกป้องความมั่นคงคงรัฐ แต่เขาเลือกพวกคุณมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาด้วย
 
เหตุผลที่รัฐสภาปฏิเสธข้อเรียกร้องของประชาชนราวสามหมื่นคนที่เข้าชื่อเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้น มีการแยกองค์ประกอบความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่ผ่อนคลายลง และอัตราโทษที่น้อยลง ย่อมจะต้องทำให้มีการละเมิด กล่าวหา ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตรมาดร้ายได้โดยง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐได้" นับเป็นการปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง 
 
อันที่จริง การวิจารณ์กษัตริย์เป็นคนละเรื่องกันกับการละเมิด ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย กษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ได้รับการคุ้มครองโดย ม. 112 เหตุผลในการบอกปัดข้อเสนอของประชาชนครั้งนี้จึงแสดงการบิดเบือนในหลายๆ ประการด้วยกัน 
 
1) หากพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เข้าใจไม่ได้เลยว่าการมีโทษสูงจะทำให้เกิดการละเมิดสถาบันน้อยได้อย่างไร ในเมื่อข้อเท็จจริงที่ประจักษ์แจ้งคือ การที่ผู้ต้องหาคดี ม 112 เพิ่มเป็นจำนวนมหาศาลในปี 2552-2553 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการลดโทษ ม. 112 ลงเลย 
 
2) ด้วยตรรกเดียวกันนี้ สภาผู้แทนราษฎรไทยจะตอบอย่างไรว่า ในบางประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ อย่างญี่ปุ่น กษัตริย์เขาทรงกระทำการอย่างไรหรือจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายแบบ ม. 112 มาปกป้องเป็นพิเศษ กษัตริย์เขาเข้มแข็งหรือมีพระบรมเดชานุภาพอย่างไรหรือจึงไม่ต้องการกฎหมายใดๆ มาคุ้มครองเป็นพิเศษเหมือนกษัตริย์ ราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย 
 
3) ข้อโต้แย้งของสภาผู้แทนราษฎรตอบโต้แต่เพียงกล่าวว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ" แต่ข้อเสนอของ ครก. 112 นั้น ครอบคลุมทั้งกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นี่เป็นความจงใจสร้างความสับสนให้ปราชนเข้าใจผิดคิดว่า ครก. 112 มุ่งแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น
 
4) ข้อเสนอของ ครก. 112 ประสงค์ให้แยกแยะการวิจารณ์โดยบริสุทธิ์ใจ ด้วยข้อเท็จจริง ออกจากการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย เพราะทุกวันนี้เพียงแค่มีการวิจารณ์ใครต่อใครในครอบครัวของกษัตริย์ ก็อาจถูกเหมารวมว่าเป็นการละเมิดได้แล้ว
 
5) คงไม่ต้องอธิบายกันมากมายว่า การคงอยู่ของ ม. 112 แบบในปัจจุบันเอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในร่างกาย มีการกักขังหน่วงเหนี่ยว การไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากถือว่าโทษรุนแรงถึงขนาดเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และยังละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น ไม่ให้พิสูจน์ความจริง 
 
6) ม. 112 เองคือกฎหมายที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ มีส่วนดึงให้สถาบันตกต่ำ เนื่องจากสถาบันถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองและกลั่นแกล้งส่วนบุคคล รวมทั้งการไม่สามารถวิจารณ์สถาบันได้ ทำให้สถาบันไม่ถูกตรวจสอบ การตรวจสอบกับการละเมิดเป็นคนละเรื่องกันแน่นอน พระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงงาน จึงต้องถูกวิจารณ์ได้
 
ประการสุดท้าย การปัดข้อเสนอของปราชนครั้งนี้โดยสภาผู้แทนราษฎรนับเป็นภัยต่อความมั่นคงของ "สถาบันประชาชน" เหตุผลของสภาผู้แทนราษฎรชวนให้เข้าใจว่า สภาผู้แทนราษฎรไทยไม่เห็นว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนคือความมั่นคงของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรไทยเลือกปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชน สภาผู้แทนราษฎรไทยยอมให้มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแลกกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ราวกับว่า ประเทศนี้ไม่ต้องมีก็ประชาชนได้ แต่ไม่มีกษัตริย์ไม่ได้
 
สภาผู้แทนราษฎรคงลืมไปแล้วว่า รัฐไทยในโลกปัจจุบันคือรัฐ-ชาติ และชาติคือประชาชน ไม่ใช่สถาบันอื่นใด ดังนั้น ถ้าสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองเหนือสถาบันอื่นใด ถ้าประชาชนถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ถ้าประเทศนี้ไม่มีสถาบันประชาชนที่เข้มแข็ง ถ้าไม่ปกป้องความมั่งคงของประชาชน จะมีรัฐประชาธิปไตยที่มั่นคงได้อย่างไร แล้วสภาผู้แทนราษฎรจะเกิดมาจากไหน จะมีอำนาจมาจากที่ใด จะเป็นสภาผู้แทนพระมหากษัตริย์หรืออย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์