Skip to main content

วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN

วิทยากรมีทั้งนักวิชาการ (ดุลยภาค ปรีชารัชช, อัครพงษ์ ค่ำคูณ, อนุสรณ์ อุณโณ, ธเนศ อาภรสุวรรณ) ประชาชนผู้อยู่ในขบวนการสันติภาพโดยตรง (ประจักษ์ กุนนะ จากสภากอบกู้รัฐฉาน) และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ (บาสรี มะเซ็ง นักวิชาการท้องถิ่นจากนราธิวาส) ผมดำเนินรายการ

 

ผมไม่มีความรู้ลึกซึ้งอะไรเกี่ยวกับกรณีรัฐฉานในพม่า ซาบาห์ในมาเลเซีย และรัฐปัตตานีในประเทศไทย เพียงแต่เมื่อฟังแล้วได้ข้อสรุปบางประการที่อยากแบ่งปันสั้นๆ ดังนี้

 

(1) มรดกความขัดแย้ง ความขัดแย้งนี้เป็นมรดกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่หนึ่งเป็นมรดกของสังคมที่มีความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ กลุ่มคน และอำนาจการปกครองที่ไม่เคยมีเอกภาพ ในอีกแง่หนึ่งเป็นมรดกของอาณานิคม ที่สร้างพรมแดนขึ้นมาซ้อนทับพาดผ่านพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีพรมแดนมาก่อน อีกแง่หนึ่งยังเป็นมรดกของความพยายามสร้างรัฐเดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

ประเด็นหลังนี้อาจารย์ธเนศสรุปไว้ชัดเจนทำนองที่ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูจะเป็นที่แห่งเดียวในโลกที่ให้ความสำคัญกับรัฐเดี่ยวมากเกินไป และเกินจริง แต่ทุกรัฐที่มีปัญหาขัดแย้งพรมแดนหรือขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐ มักคิดว่าตนเป็นรัฐเดี่ยวมาตั้งแต่โบราณ ทั้งๆ ที่มันไม่จริง

 

(2) สันติภาพของใคร กระบวนเจรจาสันติภาพไม่ว่าจะระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า ไทยกับคนมลายู หรือมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ จะไม่สามารถเข้าถึงสันติภาพได้ เนื่องจากคู่ขัดแย้งมักมองสันสิภาพแตกต่างกัน

 

สำหรับชาวไทใหญ่ สันติภาพหมายถึงการยอมให้พวกเขาปกครองตนเอง แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่สันติภาพของรัฐบาลพม่าที่ต้องการให้ไทใหญ่ยุติขบวนการกู้ชาติ สันติภาพของผู้ใช้กำลังในภาคใต้ไทยกับรัฐบาลไทยย่อมแตกต่างกัน 

 

ผมจึงคิดว่า การเจรจาที่แท้จริงน่าจะเป็นการเจรจาว่า จุดไหนกันที่คู่ขัดแย้งจะยอมรับได้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ คู่ขัดแย้งควรหาข้อยุติว่า อะไรคือสันติภาพที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ ไม่ใช่ยืนยันแต่สันติภาพในความหมายของตนเองเท่านั้น

 

(3) องค์กรสลายความขัดแย้ง เท่าที่เห็นคือ ความขัดแย้งที่เท่าเทียมกันคือความขัดแย้งระหว่างรัฐนั้น มักมีองค์กรมาไกล่เกลี่ย หรือเป็นตัวกลางในการเจรจา หรือแม้แต่ตัดสินหาข้อยุติ เช่น กรณีข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างรัฐ หลายครั้งยุติที่คำตัดสินของศาลโลก อาจารย์อัครพงษ์ชี้ว่าความขัดแย้งที่ซาบาห์มีลักษณะนั้น ไม่ต่างจากเขาพระวิหาร

 

แต่กรณีความขัดแย้งที่ไม่เท่าเทียมกัน คือระหว่างรัฐกับประชาชนในรัฐ เช่น รัฐบาลพม่ากับชาวไตในรัฐฉาน รัฐบาลไทยกับคนมลายูในรัฐปัตตานี เป็นความขัดแย้งที่ไม่มีกลไกระหว่างประเทศหรือกลไกที่อยู่เหนือรัฐ อยู่นอกขอบเขตของรัฐ เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเจรจาโดยตรง 

 

ในข้อนี้ อาจารย์อนุสรณ์ชี้ว่า การที่ BRN เรียกร้องว่ารัฐบาลมาเลเซียต้องไม่เป็นเพียงผู้จัดให้มีการเจรจา แต่จะต้องเป็น "ตัวกลาง" การเจรจาด้วย เข้าข่ายลักษณะที่ว่า BRN ต้องการให้มีองค์กรนอกเหนือรัฐไทยเข้ามาร่วมเจรจาด้วย ส่วนประจักษ์ก็ชี้ให้เห็นว่า กรณีรัฐฉานกับพม่าสามารถเข้าสู่กระบวนการเจรจาได้ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเพราะมีองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาเป็นตัวกลาง

 

การที่ประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งกำลังยกระดับสมาคมอาเซียนไปเป็นประชาคมอาเซียน แต่กลับไม่มีกลไกในการให้อาเซียนเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยเจรจากรณีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างรัฐกับประชาชนในรัฐนั้น นับเป็นข้ออ่อนของอาเซียน และเป็นการมองข้ามความเหลื่อมล้ำของคู่ขัดแย้งต่างๆ ในอาเซียน ข้อนี้แตกต่างจากสหภาพยุโรป ที่มีศาลอียู ซึ่งมีอำนาจตัดสินความกรณีรัฐละเมิดประชาชนของรัฐได้ แต่อาเซียนปัดความรับผิดชอบนี้

 

(4) ประชาชนอยู่ตรงไหนในกระบวนการสันติภาพนี้ ไม่ว่าการเจรจาจะเป็นอย่างไร เอาเข้าจริงๆ แล้วดูเหมือน "ประชาชน" ในพื้นที่จะไม่ได้มีส่วนร่วม หรือแม้แต่มีส่วนรู้เห็นกับกระบวนการสันติภาพนี้เลย พูดไม่ได้ว่ารัฐบาลหรือขบวนการต่อต้านรัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน 

 

หากประชาชนมีส่วนร่วม เขาคงบอกได้แต่แรกแล้วว่าไม่ต้องการความขัดแย้ง ไม่ต้องการความรุนแรง ทำอย่างไรก็ได้ที่จะให้ความรุนแรงจบไป หากแต่คู่ขัดแย้งต่างหากที่เรียกร้องจากแต่ละฝ่าย และใช้ประชาชนไม่ว่าจะฝ่ายใด สังเวยความรุนแรง สังเวยกระบวนการสันติภาพตามเป้าหมายของฝ่ายตน 

 

ในข้อนี้ ประชาชนจากพื้นที่ขัดแย้งที่แสดงความเห็นในที่ประชุมทุกคนยืนยันถึงสภาพที่พวกเขาตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ที่พวกเขาไม่ได้ก่อและไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาใดๆ ทั้งๆ ที่พวกเขาคือคนที่จะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อตกลงหรือไม่ตกลงที่คนอื่นยื่นให้

 

สุดท้าย ความท้าทายของกระบวนการสันติภาพในรัฐต่างๆ ที่มีความขัดแย้งในอุษาคเนย์คือ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันอาจจะต้องยอมรับที่จะค้นหารูปแบบรัฐใหม่ ที่ไม่ใช่รัฐเดี่ยว ไม่ใช่รัฐแบบที่จะต้องกดและแปลงให้ทุกคนกลายเป็นคนกลุ่มเดียวกันหมด 

 

กระบวนการสันติภาพจึงไม่ใช่เพียงการเจรจาหาข้อยุติให้กับความรุนแรง แต่ขบวนการสันติภาพในก้าวต่อไปจะต้องนำไปสู่การค้นหาวิธีการอยู่ร่วมกันรูปแบบใหม่ ที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยที่ไม่รวมศูนย์มากกว่าที่เป็นมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร